ครม. ไฟเขียวจัดเก็บภาษีหุ้น ปีแรก

ครม. ไฟเขียวเก็บภาษีขายหุ้น 0.1% หลังเว้นใช้กฎหมายกว่า 30 ปี

ไฟเขียวแล้ว สำหรับการเก็บภาษีขายหุ้น 0.1% หลังเว้นใช้กฎหมายมานานกว่า 30 ปี โดยจะมีผล 90 วันหลุงจากประกาศใช้ หรือ ประมาณไตรมาส 2 ของปี 2566 โดยปีแรกเก็บ 0.055% เมื่อรวมภาษีท้องถิ่น คาดว่าจะมีการจัดเก็บรายได้เพิ่มไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท

หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในการจัดเก็บภาษีขายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศแล้ว โดยการจัดเก็บภาษีจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ของเดือนที่ 4 นับจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ มีระยะเวลาให้ผู้ขายหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์ หรือ Broker มีเวลาปรับตัว  3 เดือน ปีแรกหลักกฎหมายได้ถูกบังคับใช้ ให้เก็บในอัตราเพียง 0.05% จะมีผลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 หลังจากนั้นจะเก็บในอัตราปกติ 0.1% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เพราะเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยให้ Broker เป็นผู้จัดเก็บให้เพราะต้องเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว

ภาษีซื้อขายหุ้นคืออะไร

สำหรับภาษีขายหุ้น หรือ Transaction Tax เป็นภาษีธรุกิจเฉพาะ หรือ Specific Business Tax โดยจะคิดคำนวณจากรายรับ ก่อนที่จะหักกับรายจ่ายใดๆ ทั้งหมด เดิมประเทศไทยของเราเคยมีการเก็บภาษีขายหุ้นในอัตรา 0.1% มาตั้งแต่ปี 2521 โดยตอนนั้นเราการเก็บภาษีแบบนี้ว่า ภาษีการค้าสำหรับรายรับ จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ และได้มีการยกเว้นไปตั้งแต่ปี 2525 ก่อนจะกลับมาเก็บอีกครั้งในปี 2534 ภายใต้ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 30 พ.ศ. 2534 สำหรับบทบัญญัติ ในการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีธุกิจเฉพาะ โดยคิดจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของการขายหลักทรัพย์และได้มีการยกเว้นอีกครั้งในปี 2535 หลังจากที่ ครม. ลงมติเห็นชอบให้กลับมาจัดเก็บภาษีซื้อขายหุ้น ทำให้หลายฝ่ายได้รับผลกระทบ เพราะว่ารายการที่เกิดขึ้น จะทำให้นักลงทุนได้กำไร หรือ ขาดทุนก็จำเป็นจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นทั้งหมด

การขายหุ้นใครต้องจ่ายภาษี?

ในพรบ. สำหรับการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 30 พ.ศ. 2534 มีบทบัญญัติสำหรับผู้ที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือผู้ขาย แต่สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ หรือ Broker มีหน้าที่หักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขาย และ ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระเงินแทนผู้ขายในนามตนเอง โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีก และถือว่าให้ Broker เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีด้วย

กิจการใดได้รับการยกเว้นภาษีขายหุ้น

ธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ในตลาดหลักทรัพย์บางกรณีเช่น Market Maker กองทุนบำนาญ และกองทุนรวมที่ขายหน่วยลงทุนกับกองทุนบำนาญ ตามรายการด้านล่าง

  1. ผู้ดูแลสภาพคล่องที่ได้ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะกิจการหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่บุคคลนั้นได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องของหลักทรัพย์ทั้งนั้น
  2. สำนักงานประกันสังคม
  3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  4. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  5. กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
  6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  7. กองทุนการออมแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
  8. กองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขายห่วยลงทุนในกองทุนรวมกับสำนักงานประกันสังคม หรือ กองทุนตาม 3-7 เท่านั้น

สำหรับการจัดเก็บภาษีขายหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้รายได้ภาษีธุรกิจเฉพาะของรัฐบาล เพิ่มขึ้นในปีแรกของการขัดเก็บ 8,000 ล้านบาท และในปีต่อไปของการจัดเก็บปีละ 16,000 ล้านบาท

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *