Online Influencer มีอิทธิพลต่อการทำการตลาดหรือไม่?
ตามที่บทความที่แล้วได้พูดถึง Influencer Marketing ให้หลายๆคนได้อ่านกันว่า ‘Influencer’ คืออะไรกันแน่แล้วสำคัญอย่างไรต่อการตลาดนั้น วันนี้จึงอยากมาขยายความทั้งในแง่ของการเลือกประเภทของ Influencer ให้ได้รู้กัน
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีความนิยมในการนำเสนอความสนใจเฉพาะด้านของตัวผู้สร้างคอนเทนต์หรือบล็อกเกอร์ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งทางเว็บไซต์และผ่าน Social Media เช่น Facebook และ YouTube อาจจะมีทั้งกระแสในแง่ลบในแง่บวกที่คนเหล่านั้นสร้างคอนเทนต์ขึ้นมา ส่วนใหญ่คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมจะเป็นประเภทวิดีโอใน YouTube และรูปแบบเสียงอย่าง Podcast ที่มีให้เลือกฟังหลากหลาย
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ สามารถนำไปสู่การทำการตลาดออนไลน์ของแบรนด์สินค้าผ่านการทำคอนเทนต์ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่บริษัทหรือแบรนด์สินค้าควรให้ความสำคัญกับการเลือก Online Influencer เพื่อทำการโฆษณา ซึ่งสามารถจำแนก Influencer ตามประเภทได้ดังนี้
1. Micro Influencer เป็นประเภทของผู้ใช้งาน social media เช่น twitter account ที่มีผู้ติดตามหลักร้อยถึงหลักพัน แต่บางช่วงสามารถนำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกระแสหรือเทรนด์ในช่วงนั้น หรือในบางประเด็นที่จูงใจคนให้เห็นด้วยได้จำนวนมาก ช่วงที่คนสนใจข้อความหรือคอนเทนต์นั้นอาจจะเกินขึ้นในบางครั้งเท่านั้น เหมาะแก่การทำการตลาดในลักษณะการทำให้เกิดเทรนด์ขึ้นมาด้วยการให้ Micro Influencer เหล่านั้นพูดถึงในช่วงเวลานั้นเพื่อดันกระแสให้มีคนทำตามเรื่อยๆ
2. Influencer มักเป็นรูปแบบของเพจบน Facebook หรือช่องบน YouTube ที่เริ่มต้นจากการติดตามของคนจำนวนหลักร้อยแล้วเติบโตขึ้นเป็นหลักแสนหรือล้านภายในเวลาไม่นาน ซึ่งเติบโตในส่วนของคนที่สนใจเฉพาะกลุ่ม เช่น เพจ ชีวิตติดรีวิว จะมีการรีวิวอาหาร ร้านค้าจนไปถึงสินค้าหรือบริการต่างๆ จนมีคนติดตามจำนวนหลักล้าน เป็นต้น โดยมักจะเริ่มด้วยความสนใจเฉพาะอย่างกลายมาเป็นเริ่มมีการโฆษณาผ่านคอนเทนต์นั้น ซึ่งในปัจจุบันการเลือก Influencer ประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยม
3. Opinion Leader เป็นลักษณะตัวบุคคลที่มีความชัดเจนในความคิดของตัวเองจนสามารถชักจูงให้คนคล้อยตามได้และมีผู้ติดตามจำนวนมาก อาจจะอยู่บน Facebook เช่น เพจหมอแล็บแพนด้า และ เพจอีเจี๊ยบเลียบด่วน เป็นต้น แต่คนที่สามารถเป็น Opinion Leader ได้อาจจะเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากสิ่งที่เพจนำเสนอแล้วคอมเมนต์แย้งใต้โพสต์นั้นและมีคนกดไลค์จำนวนมากก็ได้ ซึ่งลักษณะของการสร้างคอนเทนต์ของบุคคลเหล่านี้ อาจจะนำเสนอข่าวสารหรือกระแสทั่วไป แต่มักจะมีการควบคุมให้ออกมาเป็นตัวตนมากที่สุด เพื่อแสดงถึงความชัดเจนของตน
4. Key Opinion Leader (KOL) คือ กลุ่มหรือบุคคลที่มีความชัดเจนในจุดยืนของตน แต่นำเสนอหรือจงใจนำเสนอเฉพาะประเด็นในจุดใดจุดหนึ่ง เช่น YouTuber หรือ Vlogger ที่นำท่องเที่ยวเฉพาะประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์โดยรัฐบาลเกาหลีมีส่วนร่วมด้วยเพื่อโปรโมทการท่องเที่ยว หรือกลุ่มศิลปินหญิงอย่าง BNK48 ที่นำเสนอถึงความพยายามของกลุ่ม Girl Group ผ่านการตลาด คือ การจูงใจให้ซื้อสินค้าหรือจ่ายเพื่อโหวตสนับสนุนให้ตัวศิลปินที่ชื่นชอบโดยยอดซื้อหรือยอดโหวตช่วยให้ติดอันดับ เป็นต้น
โดย KOL อาจจะเป็นบุคคลที่นำเสนอเฉพาะประเด็นที่แตกต่างโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการตลาดแต่เพื่อความสนใจส่วนตัวจนทำให้คนติดตามจำนวนมาก เช่นบิ๊ก ภูมิชาย บุญสินสุข หรือนามปากกา ‘บิ๊กบุญ’ ที่เป็นนักเขียนแล้วมาทำ Podcast สอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ชื่อว่า ‘คำนี้ดี’ หรือปอนด์ ยาคอปเซ่น ที่เป็นพิธีกร ได้เป็นนักจัดรายการ RU OK Podcast ที่นำเสนอถึงประเด็นเรื่องจิตวิทยาความคิดความรู้สึกการจัดการความเครียด เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในประเด็นด้านการตลาด สิ่งสำคัญของแบรนด์หรือบริษัทควรมีการสื่อสารกับ KOL ให้ชัดเจนด้วย เพราะความชัดเจนจะช่วยให้เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์ได้ชัดขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อเลือก Influencer เพื่อการทำการตลาดแล้ว สิ่งที่ควรให้ความสำคัญต่อไป คือ Engagement Rate ซึ่งเป็นสิ่งที่วัดผลการน าเสนอ content ได้ดีที่สุด นั่นคือปริมาณของการมีส่วนร่วมจากผู้รับชมการำเสนอคอนเทนต์ เช่น Like, View, Rating, Comment, Share เป็นต้น ซึ่งสัดส่วน engagement : reach ที่ดีอยู่ที่ 20% ขึ้นไป
แต่บางครั้งการวัดผลการ engage อย่างเดียวก็ไม่ใช่ทุกอย่าง เพราะจุดมุ่งหมายของการโฆษณาผ่าน content คือ การสร้างการรับรู้ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและชักจูงใจให้คนมาซื้อสินค้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้บริษัทจึงจำเป็นต้องให้ความสสำคัญกับการเลือก Influencer เพราะบางครั้งกระแสอาจจะได้มาหรือพลิกกลับ เช่น กระแสแฮชแท็กใน twitter หรือคนอาจเริ่มติดตามเพราะชอบในไลฟ์สไตล์ของตัวบุคคล จนเริ่มซื้อสินค้าตาม แต่เมื่อพอมีประเด็นทางการเมืองที่อาจมีความเห็นต่างกันจนทำให้เลิกติดตามก็เป็นได้ และสิ่งที่ต้องคำนึงคือ การที่ Influencer ทำคอนเทนต์แบบเดิมเรื่อยๆ ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนติดตามตลอด จึงควรมีความชัดเจนในรูปแบบคอนเทนต์ของตนเองแต่ต้องนำเสนอสิ่งที่ใหม่และดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วยเช่นกัน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ดังนี้
SEO คืออะไร? ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ของคุณจริงหรือ?
บทสรุปสำคัญของ Digital Trends 2020 ของไทยกับการปรับตัวของนักการตลาดออนไลน์
Blog คืออะไร? ทำไมจึงสำคัญต่อการทำการตลาดออนไลน์