CPTPP ถูกยกเลิกไปแล้ว?
- เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการนำไทยเข้าสู่ CPTPP ซึ่งเกิดกระแสสังคมที่ต่อต้านการนำไทยเข้าร่วมภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก CPTPP ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ทำการถอนมตินี้ออกจากที่ประชุม ครม. เมื่อช่วงปลายเมษายนที่ผ่านมาแล้ว
- อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CPTPP >> “CPTPP” คืออะไร ประเทศไทยได้ประโยชน์จริงหรือ?
- แต่เมื่อวานนี้ (2 มิถุนายน 2563) แฮชแท็ก #NoCPTPP ได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งในทวิตเตอร์ หลังจากที่มีข่าวว่าทางสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) มีข้อเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจา CPTPP เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพทางการลงทุน
วันนี้เราจึงมีโอกาสได้มาสรุปข้อมูลเกี่ยวกับ CPTPP ให้ได้อ่านกันอีกครั้ง
เข้าร่วม CPTPP ดีอย่างไร?
แน่นอนว่าการเข้าร่วมภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจนั้นมีข้อดีหรือผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับอยู่เช่นกัน เพราะจุดประสงค์คือการส่งเสริมภาคธุรกิจและการลงทุนระหว่างประเทศ แต่การเกิดกระแสต่อต้านขึ้นมานั้นมองว่าการสนับสนุน CPTPP เอื้อผลประโยชน์ให้นายทุนมากกว่าที่จะให้ประโยชน์กับเกษตรกรไทยและประชาชน จึงมาสรุปข้อดีให้ได้อ่านกันก่อนว่าการเข้าร่วมมีผลในทางที่ดีต่อไทยอย่างไร
- การเกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น
- GDP ไทยจะเพิ่มสูงขึ้น 0.12%
- การลงทุนขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น 5.14%
ไทยจะเจออะไรเมื่อเข้าร่วม CPTPP
- เกษตรกรไทยต้องเสียเงินซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาที่แพงขึ้น
- ผลกระทบหลักที่เกษตรกรต้องเจอคือเกิดการผูกขาดในภาคเกษตรของไทยแบบครบวงจร
- เกษตรกรไทยมีโอกาสในการถูกปรับและยึดเมล็ดพันธุ์ กรณีตรวจพบเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกแบบผิดกฎหมาย พูดอย่างๆง่ายๆคือ ถ้าไม่ได้ซื้อหรือได้รับอนุญาตตามข้อตกลง CPTPP จะถูกจับและโดนปรับได้
- การเข้าถึงยารักษาโรคที่ยากมากขึ้น จะเห็นได้ว่าก่อนหน้านี้องค์การเภสัชกรรมไทยได้ออกแถลงการณ์ต่อต้านการเข้าร่วม CPTPP เช่นกัน เนื่องจากการเข้าร่วมนี้จะทำให้ยามีราคาแพงขึ้น ตามข้อตกลงของ CPTPP ที่ต้องมีการผูกขาดเรื่องระบบสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา
- CPTPP จะลดอำนาจรัฐบาล และทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลออกจากประเทศ 1 ใน 3 ส่วนด้วย รัฐบาลไม่มีอำนาจในการต่อรองเนื่องจากข้อตกลงที่เข้มงวด
ไทยไม่เข้าร่วมก็อยู่ต่อได้ เพราะอะไร?
- จำนวน 11 ประเทศใน CPTPP เป็นประเทศที่ค้าขายลงทุนกับไทยอยู่แล้ว
- 4 ประเทศในกลุ่ม CPTPP คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม และบรูไน เป็นกลุ่มประเทศในอาเซียน ที่ไทยมีข้อตกลงร่วมกันอยู่แล้วเช่นกัน
- การเข้าร่วมกับ CPTPP แน่นอนว่าได้ผลประโยชน์จาก เม็กซิโก แคนาดา เปรู และชิลี แต่การไม่เข้าร่วม ก็สามารถทำการเจรจาตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศได้