"CPTPP" คืออะไร ประเทศไทยได้ประโยชน์จริงหรือ?

“CPTPP” คืออะไร?

Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership หรือที่เรียกว่า CPTPP คือ ข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก มีผลบังคับใช้เมื่อง 30 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุน โดยจะมีการสร้างมาตรฐานและกฎร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม CPTPP ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ


ปัจจุบันประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ นิวซีแลนด์ออสเตรเลีย แคนาดา เปรูชิลี เม็กซิโก ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม โดยประเทศไทยมีการเตรียมเสนอเข้าวาระการประชุมครม.ในวันนี้ (28 เมษายน 2563) แต่อย่างไรก็ตาม ต้องทำการติดตามผลการประชุมต่อไป เนื่องจากการคัดค้านจากภาคประชาชนที่ออกมาเรียกร้องให้ถอนวาระนี้ออก


ทำไมถึงมีกระแสการคัดค้าน?

ทางกรมการค้าระหว่างประเทศมองว่า ถ้าประเทศไทยเข้ารวม CPTPP จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้น และเกิดการจ้างงานมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงมีโอกาสส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นด้วย แต่ในส่วนของภาคประชาชนที่ออกมาคัดค้านนั้นมีเหตุผลผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรและการบริการ ดังนี้

  • ผลกระทบภาคการเกษตร
    • เกษตรกรไทยต้องเผชิญกับต้นทุนการเกษตรที่สูงขึ้น จากอนุสัญญาการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV : International Union for the Protection of New Varieties of Plants) มีการเปิดโอกาสให้ต่างชาตินำเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองของไทยไปวิจัยพัฒนา

    • กรณีเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองนั้นเกิดการจดสิทธิบัตร อาจทำให้เกษตรกรไทยต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ในราคาที่สูงขึ้น

    • เกิดการผูกขาดเมล็ดพันธุ์พืชสายพันธุ์ต่างๆ เพราะจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น และอาจถูกฟ้องร้องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจากบรรดาบริษัทข้ามชาติ

    • เกษตรกรที่เลี้ยงสุกรจะได้รับผลกระทบไปด้วย อาจต้องเลิกเลี้ยง โดยอาชีพต่อเนื่องของเกษตรกรที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ก็จะได้รับผลกระทบด้วย

  • ผลกระทบภาคการบริการ
    • ปัญหาการเจรจาแบบ Negative-List หรือ การเจรจาแบบระบุรายการที่ไม่เปิดเสรี หมายความว่าประเทศสมาชิกสามารถระบุหมวดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องการเปิดเสรีได้ ส่วนอื่นที่ไม่ได้เลือกต้องเปิดเสรีต่อต่างชาติทั้งหมด ซึ่งอาจมีแรงกดดันให้ไทยต้องเปิดตลาดบริการมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงประเทศไทยไม่ได้เปิดเสรีในด้านนี้

    • เปิดโอกาสทางการแข่งขันให้นักลงทุนต่างชาติมากขึ้น ทำให้ไทยต้องเตรียมรับมือการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ ที่สามารถฟ้องไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *