ค่าลดหย่อนปีภาษี 2563 ที่ทุกคนควรรู้ ก่อนยื่นเสียภาษีมีอะไรบ้าง?

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

จากนั้น

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

คำนวณภาษีเงินได้แบบขั้นบันได
ตารางอัตราภาษีตามขั้นบันได : ข้อมูลจาก กรมสรรพากร

รายการค่าลดหย่อนปกติ

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส คนละ 60,000 บาท
  3. ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000-60,000 บาท
  4. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
  5. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการ/ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
  6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท/ครรภ์
  7. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  8. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่าย แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  9. กบข. / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินเดือน และรวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
  10. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ (ที่ต้องเสียภาษี) และเมื่อรวมกับรายการลดหย่อนข้อ 9. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับรายการลดหย่อนข้อ 9. และ 10. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  12. ประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
  13. กองทุนการออมแห่งชาติ ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 9. ข้อ 10. และข้อ 11. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  14. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  15. เงินบริจาคพรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  16. โครงการบ้านหลังแรกปี 2559 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 120,000 บาท
  17. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา-กีฬา-พัฒนาสังคม-และโรงพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
  18. เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

*Update* รายการค่าลดหย่อนใหม่!

  1. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  2. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับข้อ 9. ข้อ 10. และข้อ 11. ของรายการลดหย่อนปกติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  3. กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท *ต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 เท่านั้น
  4. ช้อปดีมีคืน ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับยอดใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563