เช็คเงินประกันรายได้เกษตรกร ใครที่ยังไม่ได้เงิน ธ.ก.ส. มีคำตอบ
ตามติดข่าวสารล่าสุด “การจ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกร” ตามนโยบายรัฐบาล กรณีโครงการประกันรายได้เกษตรกร หรือ เงินประกันรายได้เกษตรกร
จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่าเกษตรกรบางรายยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ หรือ เงินประกันรายได้เกษตรกร และได้มีการสอบถามไปยังเพจเฟซบุ๊คของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้คำตอบว่า เกษตรกร สามารถทำการตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐบาลโดยเช็คดูก่อนได้ว่าทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้โอนเงินให้แล้วหรือยัง สำหรับวิธีการตรวจสอบทำได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักผ่านเว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com/ หรือสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เกษตรอำเภอ หรือจะเช็คผ่านทางแอปพลิเคชั่น A-Mobile หรือติดต่อสอบถามผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน
โครงการประกันรายได้เกษตรกร ถือว่าเป็นโครงการที่จำเป็น เนื่องจากปัจจุบันชาวนาใช้รถเกี่ยวข้าวทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมไปถึงปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำกว่ามาตรฐาน เนื่องจากชาวนาต้องเร่งขายข้าวที่ยังมีความชื้นสูงเพื่อนำเงินมาจ่ายค่าระเกี่ยวข้าว ในส่วนของโครงการชดเชยเงินส่วนต่างของชาวนาตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เกิดความล่าช้า ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในจำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับ รัฐควรหาแนวทางและมาตรการชดเชยที่ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตอนนี้ทาง กมธ. ได้อยู่ระหว่างการพิจาณาเรื่องราคาข้าวรวมไปถึงระบบของการซื้อขายข้าว ว่าได้รับการดูแลที่ถูกต้องหรือไม่ เช่น ความชื้นของข้าวที่พ่อค้าเป็นผู้พิจารณาจำเป็นจะต้องมีหน่วนงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยดูแลในส่วนนี้ เช่นระบบการซื้อขายอ้อยที่มีสมาคมชาวไร่อ้อยเข้าไปดูแลเรื่องความหวานของอ้อยเป็นต้น ทั้งนี้ทาง กมธ. มีแผนลงพื้นที่เข้าไปศึกษาปัญหาราคาข้าวในช่วงกลางเดือนมกราคม 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอก 2 ทำให้ต้องหารือกันในที่ประชุมอีกครั้ง เพื่อสรุปแนวทางในการลงพื้นที่ต่อไป
ตอนนี้ทางด้านศูนย์วิจัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการคาดการณ์ออกมาเกี่ยวกับราคาสินค้าเกษตรกรในเดือนมกราคม 2564 ได้ชี้การระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะส่งผลให้ราคาเสินค้าเกษตรกรในเดือนมกราคม 2564 เช่น ข้าวเปลือกเจ้า, ข้าวเปลือกหอมมะลิ, ข้าวเปลือกเหนียว และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้น ในส่วนของน้ำตาลทรายดิบ, ยางพาราดิบ, มันสำปะหลัง, ปาล์มน้ำมัน, กุ้งขาวแวนนาไม ราคามีแนวโน้มลดลง
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,683 – 11,726 บาทต่อตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2564 ร้อยละ 5.38-5.76 เนื่องจากภาครัฐมีโครงการสินเชื่อชะลอการขยาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/64 เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉาง เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยวงเงินสินเชื่อต่อตันของข้าวเปลือกหอมมะลิใกล้เคียงกับราคาตลาด และเกษตรกรได้ผลประโยชน์หากเก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางจะได้รับค่าฝากเก็บ และ รักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่มีความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.91-7.99 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.50-1.50 บาท เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่สิ้นสุดช่วงเก็บเกี่ยวข้าวโพดฤดูฝนในเดือนมกราคม 2564 ผลผลิตจำออกสู่ตลาดน้อย ในขณะที่มีความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์มีแนวโน้มที่สูงขึ้น ตรงกับการเติบโตของการส่งออกเนื้อสัตว์
- ข้าวเปลือกเหยียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 10,325 – 10,651 บาทต่อตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.03 – 3.19 บาทเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
- สินค้าเกษตรกรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง สำหรับสินค้าที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 13.79 ถึง 14.22 เซนต์ต่อปอนด์ (9.19-9.48 บาทต่อกิโบกรัม) ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.50 – 4.50 เนื่องจากการคาดการณ์ว่าผลผลิตน้ำตาลของประเทศบราซิลจะเพิ่มขึ้นจากปริมาณฝนที่ตกเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับความแห้งแล้ง ประกอบกับรัฐบาลอินเดียประกาศนโยบายอุดหนุนผู้ผลิตน้ำตาลของประเทศอินเดียเพื่อส่งออกมากถึง 6 ล้านตัน ซึ่งทำให้สต็อกน้ำตาลของโลกปรับตัวเพิ่มมากขึ้น
- มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 2.00 บาทถึง 2.06 บาทต่อกิโลกรัม ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.48-3.38 เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุด มีการคาดการณ์ว่าปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมกราคม 2564 ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 จะมีประมาณ 18.47 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งปีการผลิต
- ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 6.80 – 6.95 บาทต่อกิโลกรัม ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.57-2.72 บาท เนื่องจากความต้องการปาล์มน้ำมัน