'อีโบล่า' โรคระบาดที่ไม่ควรมองข้าม หลังโควิด-19

ไวรัสอีโบล่าครั้งใหม่แพร่ระบาดในคองโก

  •  Eteni Longondo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of the Congo) มีการรายงานว่ากำลังต่อสู้กับ Covid-19 และโรคหัดอยู่แล้วนั้น ยังตามมาด้วยการระบาดของอีโบล่าทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของคองโก ที่เมือง Mbandaka และยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 4 คนที่ถูกวิเคราะห์มาตั้งแต่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า เสียชีวิตเนื่องจากไวรัสอีโบลา

  • แน่นอนว่าทางผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกแถลงการณ์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter มีใจความสำคัญว่า
    “การระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งนี้เป็นสิ่งเตือนใจว่าโควิด-19 ไม่ได้เป็นเพียงภัยคุกคามเดียวที่สุขภาพคนกำลังเผชิญ เพราะเกิดการระบาดของอีโบล่าครั้งใหม่ในคองโก ซึ่งกำลังมีการส่งวัคซีนและยารักษาโรคไปให้อย่างเร็วที่สุด”


ไวรัสอีโบล่า มีอาการอย่างไร?

ในอดีตที่ผ่านมา เชื้อไวรัสอีโบลา ทำให้เกิดการระบาดในแถบประเทศแอฟริกามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1976 และในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตกนั้นมีการระบาดรุนแรง ซึ่งประเทศไทยมีการประกาศให้ โรคอีโบลาเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 โดยล่าสุด เบื้องต้นจากการพบการแพร่ระบาดในคองโก ถือว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้มีความรุนแรง แต่โดยทั่วไปจะมีอาการเบื้องต้น ดังนี้

  • มีอาการเหมือนการติดเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งไม่เจาะจงอาการ แต่จะมีไข้ ปวดศีรษะ
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องร่วงอย่างรุนแรง

การแพร่กระจายของไวรัสนี้ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อ แม้จะมีการแพร่เชื้อยากกว่าไวรัสโควิด-19 แต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงถึง 70% โดยเริ่มต้นผู้ติดเชื้อจะมีอาการตั้งแต่ 2-21 วันตั้งแต่มีการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด หรือ มีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

การป้องกันการติดเชื้อเบื้องต้นคือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสและไม่ควรเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาแพร่ระบาดอยู่ และปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัย โดยล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เป็นประจำต่อไป