พฤติกรรม การใช้จ่ายของคนไทย เปลี่ยนไป
ภาพรวมของการเงินในปี 2019 รวมไปถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าของการเงินในประเทศไทยในปี 2020 จากที่เราสามารถสั่งเกตได้ชัดเจนด้วยตัวเองเลย ของปีที่ผ่านมาในปี 2019 นั้นเราจะเห็นสาขาเล็กๆของธนาคารชั้นนำ ถูกปิดตัวลง รวมไปถึงการควบรวมของธนาคาที่จัดอยู่ในระดับกลางเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ของพฤติกรรมการสั่งของออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางของดิจิตอลแบงกิ้ง (Digital Banking) มากขึ้น คนไทยเริ่มมีการใช้ธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น คนไทยไปแบงค์น้อยลง เป็นสิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนเลยในปี 2019 ที่ผ่านมา ในปี 2020 ซึ่งก็คือปีนี้ ธุรกิจไหนที่ไม่ลองรับการเปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการขายของจาก offline มาเป็น online ต้องรีบปรับตัวได้แล้ว บวกกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น
อย่างที่เรารู้กันว่าตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเกิดความผันผวน อย่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ที่ทำให้เศรษฐกิจหลายๆประเภทต้องหยุดชะงัก หลายๆธุรกิจซบเซา ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งมันก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรฐกิจในภาพรวม และ ยังเป็นผลกระทบต่อการใช้เงินของคนไทยอีกด้วย “คนเริ่มกลัว การใช้จ่าย” คิดอยู่ในหัวว่า “ตอนนี้เราสามารถใช้เงินได้ไหม?” หรือว่าควรจะต้องรัดเข็มขัด ควรจะต้องจัดการการเงินของตัวเองยังไง เนื่องจากความไม่แน่นอน และ ความไม่แน่ใจว่าอะไรที่มันจะเกิดขึ้น และ นี่เป็นเหตุผลที่มันกระทบไปถึงวงการอื่นๆ เช่น พนักงานออฟฟิศ หรือ มนุษย์เงินเดือน ที่หลายๆบริษัทเริ่มมีการปลดออก รวมไปถึงการลดเงินเดือน
วางแผนการเงินในสถานการณ์โควิด-19
สิ่งที่ต้องทำในช่วง วิกฤตโควิด-19 ระบาด ก็คือการเริ่มกลับมาทบทวนตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ, พนักงานออฟฟิศ, หรือเป็นใครก็ตามที่มีรายได้ ให้คุณเช็คก่อนเลยว่าใน 1 วัน คุณมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำอยู่ที่เท่าไหร่ ในแต่ละเดือนมี fixed cost เท่าไหร่ fixed cost ในที่นี้ก็จะเป็นพวก ค่าน้ำค่าไฟ, ค่าผ่อนรถ, ค่าผ่อนบ้าน, ค่าเช่าบ้าน, ค่าโทรศัพท์มือถือ, ค่าอินเทอร์เน็ต ฯลฯ อะไรก็แล้วแต่ที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่ต้องทำก็คือ “การคุมการใช้จ่ายของเรา” แต่ไม่ได้บอกว่าให้เลิกใช้จ่ายไปเลยนะ แค่ให้ใช้มันแบบพอดี “ตัดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไป” สิ่งต่างๆเหล่านี้ เราจะได้คำตอบก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูลของตัวเองซะก่อน เช่น ข้อมูลรายรับ รายจ่าย ถ้าเรามีข้อมูลตัวนี้ เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า เรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่มันฟุ่มเฟือยเกินไป ซึ่งอาจจะต้องตัดออก ในส่วนของเจ้าของธุรกิจ สามารถตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง เพื่อเป็นการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน และ รักษากระแสเงินสด เพื่อที่จะดูสถานการณ์ว่าในอนาคตมันจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือ ว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มันหนักกว่าเดิม
ในส่วนของเรื่องรายได้ ก็อาจจะต้องหา “ช่องทางสร้างรายได้ อื่นๆ เพิ่มเติม” ไม่ใช่แค่ว่าทำแค่งานประจำ อาจจะต้องมี “งานเสริม” เช่น งานออนไลน์ต่างๆ ซึ่งงานเสริมอาจจะไม่พอ อาจจะต้องมีงานเสริม 2-3 งาน ทุกอย่างที่ทำได้ อาจจะต้องทำไปก่อน และ ก็รอเวลา เหมือนกับหุ้น เมื่อหุ้นมันตก เดี๋ยวสักวันมันก็คือ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำได้คือประคับประองไปให้เราสามารถอยู่ได้นานที่สุด และ เมื่อวันที่มันกลับมา เราก็ได้พร้อม และ มีทักษะ หรือ มีอาชีพเสริมที่ติดตัวเพิ่มขึ้นไปด้วย
การเก็บเงิน เป็นสิ่งที่พูดได้ง่ายมาก แต่ทำได้ยากมาก สิ่งที่อยากให้มองในวันนี้ก็คือ “เราใช้จ่ายเงินเกินตัวไปรึเปล่า” ให้คุณเริ่มต้นจากการใช้จ่ายก่อน เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ยุคนี้เป็นยุคที่คนเห็นอะไรก็ซื้อง่าย ขายคล่องไปหมด ยิ่งเป็นการซื้อขายในโลกออนไลน์ด้วยแล้ว ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ เราสามารถซื้อของได้ง่ายขึ้น โดยที่มีเทคโนโลยี เข้ามาอำนวยความสะดวกให้เราสามารถซื้อของได้ง่ายขึ้นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่ามีอะไรในเรื่องเงินเกิดขึ้นมาก็ตาม เราควรจะคุมตัวเองด้วยการพูดกับตัวเองก่อนที่จะทำการจ่ายเงิน หรือ โอนเงินออกไปว่า “เราใช้จ่าย มากเกินไป หรือเปล่า?” พอเราใช้จ่ายมากไป มันก็จะมีสัญญาญมาบอกเราว่า มากไป ของบางอย่างที่เราซื้อมา เราไม่ได้ใช้อย่างที่เราคิด อยากจะแนะนำให้คุณ กลับไปทบทวนตรงนี้ก่อน พอทวนตรงนี้เสร็จแล้ว คุณก็จะมองเห็นได้ว่า “รายได้ที่เราได้ มันเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้เงินของเรารึเปล่า?” สมมุติว่ารายได้เราเยอะ เมื่อใช้จ่ายเงินแล้ว ไม่กระทบกับรายได้ของเรา อันนี้เราไม่ต้องเป็นห่วง แต่ถ้าคนที่มองแล้วว่า การใช้เงินของเรา เป็นแบบเดือนชนเดือน หรือ บางทีใช้เงินมากกว่าด้วย อันนี้ถือว่ามีปัญหาแล้ว ทางแก้ก็คือ เหมือนกับคนทั่วๆไปเลย ก็คือ “การลดรายจ่าย” หรือ “เพิ่มรายได้” ในระยะยาว ยังไงคุณก็ต้อมเพิ่มรายได้ของตัวเอง แต่ในวันนี้บวกกับสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่คุณทำได้ ก็คือ การจำกัดรายจ่ายสำคัญก่อน แล้วค่อยๆเริ่มเก็บเงิน
การเก็บเงิน ทำไมมันยากจัง?
หลายๆคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า การเก็บเงินทำไมมันเก็บยากจัง ถ้าเรามานั่งดูสถานการณ์ ตอนนี้ คนที่มีเงินสำรองในวันนี้ ถือไพ่เหนือว่าคนไม่มีเงินสำรองนะ ยกตัวอย่างเช่น คนที่มีเงินสำรองของตัวเอง เขาจะรู้ได้เลยว่า เขาจะใช้ชีวิตได้อีกกี่เดือน และ สามารถใช้ชีวิตได้แบบไหนบ้าง ในขณะที่คนที่ใช้ชีวิต แบบเดือนชนเดือน จะมีความเครียดสูงมากเนื่องจาก เศรษฐกิจไม่ดี มีการเลิกจ้างมากขึ้น หรือ อะไรก็ตามจะเริ่มมีปัญหา ถ้าคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากเก็บเงินได้ ให้คุณมองก่อนว่าถ้าเก็บเงินไม่ได้ มันจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง บางทีการที่เราเอาความกลัวตรงนั้นมาคุยกับตัวเองก่อนมันอาจจะทำให้เรามีแรงใจมากขึ้น
การใช้จ่ายออนไลน์ โอกาสหมดตัวสูง
ในปัจจุบันพฤติกรรมของคนเรา มันค่อยๆเปลี่ยน ถ้าเราซื้อของออนไลน์ แต่ละแพลตฟอร์มจะมีวอลเลตเป็นของตัวเอง ซึ่งในตัวของวอลเลตนั้นมันอาจจะมีโปรโมชั่น พวกคูปองส่วนลดต่างๆนาๆ มาดึงดูดใจให้ผู้ซื้ออย่างเรา โอนเงินเข้าไปใช้ ซึ่งตรงนี้ข้อดีของมันก็อยู่ที่ เราอาจจะได้ของในราคาที่ถูกลง ในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะมีการแข่งขันกันสูงมากยิ่งขึ้นเพราะว่าแพลตฟอร์มที่ขายออนไลน์ ในประเทศไทยนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เจ้าเดียว มันจะมีคู่แข่ง ที่ทยอยกันออกมาจัดโปรโมชั่น และ โปรโมชั่นที่ถูกจัดออกมาก็จะแข่งขันกัน ดุเดือดมากขึ้นไปเรื่อยๆ การจ่ายเงินเมื่อซื้อของออนไลน์ ก็จะสะดวกมากขึ้นไปเรื่อยๆ อยากให้สังเกตตัวเอง เวลาที่เราออกไปนอกบ้าน ลองใช้ชีวิตแบบไม่พกเงินสดดู และ ใช้แค่มือถือ คุณสามารถใช้จ่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของ การซื้ออาหารต่างๆ ได้ถึง 80% เลยทีเดียว เพราะว่าในปัจจุบัน ร้านค้าก็เริ่มรับเงินออนไลน์ บางร้านเริ่มรับเงินวอลเลต ถ้าเป็นในส่วนของร้านสะดวกซื้อ ก็จะมีวอลเลตเป็นของตัวเอง และ เมื่อเราใช้เราก็สามารถเก็บคะแนนสะสมเพื่อนำมาเป็นส่วนลดได้อีก สิ่งเหล่านี้ค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยไป ดังนั้นในอนาคต อาจจะเปลี่ยนไปเร็วมากกว่านี้ก็เป็นไปได้ เหมือนกับประเทศจีน ที่ในปัจจุบัน คนไม่ถือเงินสดกันแล้ว บวกกับนโยบายของรัฐบาล ที่ออกมากระตุ้นให้คนใช้จ่ายผ่านออนไลน์ เนื่องจากมันสามารถติดตามร่องรอยการใช้เงินได้ มันเห็นถึงข้อมูลภาษี เห็นการใช้จ่ายได้ สุดท้ายมันก็จะเป็นการเปลี่ยนมาเป็นการทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น แต่ในประเทศไทย จะช้า หรือ เร็ว มันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย ว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนเมื่อไหร่
ข้อมูล VS การใช้จ่ายผ่านออนไลน์
ทุกอย่างที่เราใช้จ่ายผ่านทางออนไลน์ บนเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ต่างๆ ที่มีแพลตฟอร์มเป็นของตัวเอง มันจะมีการเข้าถึงข้อมูลอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เราจะไปสั่งซื้อสินค้าชิ้นนึง เว็บไซต์ออนไลน์เจ้านึง เวลาที่เราจะกดสั่งซื้อ เว็บไซต์ออนไลน์นั้นๆ จะให้เราทำการสมัครเป็นสมาชิกบัญชีก่อนที่จะทำการสั่งซื้อนั่นเอง ทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลเราของ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า เราเคยอ่านรึเปล่า ก่อนที่เราจะสมัครเป็นสมาชิก ทุกๆอย่างในแพลตฟอร์มเวลาที่เราไปสมัครเป็นสมาชิก มันจะขอข้อมูลของเราหมดเลย เช่น Facebook มันสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้หมด และ ที่สำคัญเลย เรายินดีที่จะให้ข้อมูลเหล่านั้น โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากเราสะดวกที่จะใช้งานมันนั่นเอง ในทางกลับกัน เราเคยถามตัวเองไหมว่า ข้อมูลที่เราให้ไปนั้น มันจะถูกเอาไปทำอะไรบ้าง เราก็ต้องดูเงื่อนไขที่เขากำหนดเอาไว้ก่อนที่จะสมัครว่าเอาไว้ทำอะไร อย่างธนาคาร ตอนที่เราเปิดใช้ Mobile Banking จะมีปุ่มให้เรากดยอมรับเงื่อนไข เพื่อการเข้าถึงข้อมูลของเรา แต่ประเด็นมันอยู่ที่ “เราอ่านเงื่อนไข” นั้นๆรึเปล่า หรือ กดยอมรับไปง่ายๆ?