โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดทดสอบวัคซีนโควิด ChulaCov19 คิดค้นโดยคนไทย
สภากาชาดไทย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ และ ศูนย์วิจัยวัคซีน ได้มีการทดสอบการฉีดวีคซีนโควิด 19 โดยวัคซีนตัวใหม่ล่าสุดที่ถูกคิดค้นโดยคนไทยโดยใช้ชื่อวัคซ๊นตัวใหม่ล่าสุดนี้ว่า ChulaCov19 ฉีดให้กับอาสาสมัครเป็นครั้งแรก โดยวัคซ๊นตัวนี้ เป็นการคิดค้นและถูกพัฒนาโดยคนไทย จากการร่วมมือและสนับสนุนโดยแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลก Prof. Drew Weissman มหาวิยาลัยเพนซิลวาเนีย ผลิตจากการสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋ของสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อ
หลังจากที่ร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมนี้เข้าร่างกายไป ร่างกายของเราจะเริ่มสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Spike Protein เพื่อทำการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ และเมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสามารถสร้างโปรตีนได้เรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วันเท่านั้น mRNA ตัวนี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมอยู่ในร่างกายของคนเราแต่อย่างใด จากการทดลองที่ผ่านมาของ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการทดลองกับลิง และ หนู ซึ่งประสบความสำเร็จ เนื่องจากพบว่าสามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือด อีกทั้งยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง
เปิดทดสอบระยะที่ 1 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอายุ จำนวน 72 คน
- กลุ่มแรกอาสาสมัครที่มีอายุ 18-55 ปี เปิดทดสอบจำนวน 36 คน
- กลุ่มสองอาสาสมัครที่มีอายุ 65-75 ปี เปิดทดสอบจำนวน 36 คน
กลุ่มอาสาสมัครดังกล่าว จะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยที่มีการฉีดวีคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัม และ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุดในปริมาณที่เท่าไหร่ รวมไปถึงต้องทำการศึกษาว่าคนไทยเหมาะกับการฉีดวัคซีนที่กี่ไมโครกรัม จะได้รู้ถึงขนาดที่ปลอดภัย และ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ หลังจากนั้นจะเป็นการเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกในระยะที่ 1 ซึ่งการทดสอบระยะที่ 2 จะเป็นการทดสอบจำนวน 150 – 300 คน คาดว่าจะเริ่มฉีดประมาณเดือนสิงหาคม 2564
วัคซีน ChulaCov 19
รายละเอียดของวัซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีนที่สามารถอยู่ได้ในอุณภูมิตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียส เก็บได้นานในอุณหภูมิดังกล่าวถึง 3 เดือน และ เก็บได้ในอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียสได้นานถึง 2 สัปดาห์ การจัดเก็บรักษาวัคซีน ChulaCov19 นั้นสามารถเก็บรักษาได้ง่ายกว่าวัคซีนโควิดชนิด mRNA แบรนด์อื่นๆ ทางด้านศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการเตรียมควมพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่ 2 กับสัตว์ทดลอง คู่ขนาดไปกับการทดลองวัคซ๊นรุ่นแรก เพื่อรองรับในกรณีที่เชื้อมีการดื้อยา หรือ เกิดการกลายพันธุ์ที่ทั่วโลกกำลังวิตกกังวลอยู่ในขณะนี้ ยกตัวอย่างเช่น สายพันธุ์อินเดีย, สายพันธุ์แอฟริกาใต้, สายพันธุ์บราซิล วัคซีน ChulaCov 19 คิดค้นและพัฒนาโดยคนไทย ถ้าทุกอย่างไปตามความคาดหมาย คาดการณ์เอาไว้ว่าจะสามารถผลิตวัคซีนที่สามารใช้ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ที่ดื้อวัคซีนได้ เพื่อทดสอบกับอาสาสมัครในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021