พ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ต่างกันอย่างไร?

ข้อแตกต่างระหว่างพ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

เมื่อไม่กี่วันก่อนได้มีการออกประกาศจากทางหน่วยงานรัฐว่าจะมีการออกพระราชกำหนดฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับ พ.ร.บ.ความมั่นคงหรือไม่ วันนี้จึงสรุปความแตกต่างของพ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉินให้ได้ทราบกัน โดยจะมีการจำแนกตามข้อกำหนดของพรบ.หรือพรก.นั้นว่าข้อใดทำได้ทำไม่ได้ มาเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ดังนี้


ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างพ.ร.บ.ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

ข้อกำหนดของพรบ.และพรก. พรบ.ความมั่นคง พรก.ฉุกเฉิน
เจ้าหน้าที่สามารถทำการปิดล้อม,ตรวจค้น,จับกุม ไม่ได้ ได้
มีการอนุญาตให้ชุมนุม ได้ ไม่ได้
ประชาชนสามารถทำการฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ ได้ ไม่ได้
เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมตัวโดยไม่มีหมายจับ ไม่ได้ ได้
เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบการสื่อสารทุกรูปแบบ ไม่ได้ ได้
การฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ ได้ ไม่ได้
การรายงานของรัฐสภา และเปิดให้รัฐสภาสอบถาม ต้องทำ ไม่ต้องทำ
เจ้าหน้าที่สามารถออกคำสั่งเรียกตัวบุคคล และยึดหรืออายัติอาวุธ, สินค้า รวมถึง สามารถตรวจค้น-รื้อถอน-ทำลายสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้ ได้


ซึ่งล่าสุดวันนี้ (25 มีนาคม 2563)ทางรัฐบาลได้มีการประกาศ จึงสรุปสาระสำคัญของพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่นายกฯเตรียมประกาศบังคับใช้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 นี้ (มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563)

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในกรณีเป็นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน มีรายละเอียดดังนี้

(1)ห้ามบุคคล ออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

(2)ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ

(3)ห้ามแพร่ข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด

(4)ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(5)ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ

(6)ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด