SET กับมาตรการ ‘Circuit Breaker’
เมื่อไม่นานมานี้นักลงทุนหลายคนคงทราบกันดี เรื่องการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่รุนแรงในช่วงที่มีผลกระทบจากโรคระบาดอย่าง COVID-19 และเมื่อวานที่ SET Index 125.05 จุดหรือ 10% และมาอยู่ที่ 1124.81 จุด
จากนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET (Stock Exchange of Thailand) ได้มีการใช้มาตรการฉุกเฉินอย่าง Circuit Breaker Level 1 คือ การหยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราวเป็นเวลา 30 นาที ซึ่งเหตุการนี้เป็นเหตุการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ในไทยจึงเกิดขึ้นรวมครั้งนี้มีเพียง 4 ครั้งในประวัติศาตร์ตลาดหุ้นไทย โดยลำดับเหตุการณ์ ดังนี้
- ครั้งแรก วันที่ 19 ธันวาคม 2006 SET Index ลดลง 74.06 จุด หรือ 10.14% มีการใช้มาตรการ Circuit Breaker พักการซื้อขายหุ้น 30 นาที และในวันนั้นเองเกือบจะมีการใช้มาตรการนี้อีกเพราะ SET Index ตกลงไปถึง 19.52% (ถ้าถึง 20% จะต้องพักการซื้อขายอีก 1 ชั่วโมง) แต่ก็ไม่ได้ใช้ Circuit Breaker อีกรอบเพราะปิดตลาดไปที่ 622.14 จุดหรือประมาณ 14.84%
- ครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2008 SET Index ลดลง 50.08 จุดหรือ 10.02% พักการซื้อขายหุ้น 30 นาที ผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก หรือในไทยเรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) ที่มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาและการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์
- ครั้งที่ 3 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2008 SET Index ลดลง 43.29 จุด หรือ 10% พักการซื้อขายหุ้น 30 นาที ซึ่งมีผลกระทบเดียวกันจาก Circuit Breaker ครั้งที่ 2 ที่เรียกว่า วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) หรือ วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์
- ครั้งที่ 4 คือวันที่ 12 มีนาคม 2020 เมื่อวานที่ผ่านมา SET Index ลบ 125.05 จุดหรือ 10% อยู่ที่ระดับ 1124.84 จุด ได้มีมาตรการพักการซื้อขายหุ้น 30 นาที เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด COVID-19 ที่เป็นการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก
โดยมาตรการนี้ทำให้ตลาดหลักทรัพย์หยุดการซื้อขายอัตโนมัติ เป็นการชั่วคราว เพื่อให้นักลงทุนตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร แต่อย่างไรก็ตามจะมีการเปิดให้ซื้อขายปกติในรอบซื้อขายถัดไป