SEO คืออะไร?
การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization คือ การใช้พื้นที่บน search engine ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด เกิดการเปลี่ยนรูปแบบกลายเป็นการจัดการหน้าเว็บของเราเองให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เพื่อให้ขึ้นหน้าแรกของการค้นหาบน Google Search Engine ที่กลายคนทราบกันดี เนื่องจาก ในช่วงปี 2014-2015 คนนิยมไปรวมกันอยู่บน Social media จึงมีการปรับเพื่อดึงดูดคนให้เข้าสู่เว็บไซต์ เพราะการทำ SEO เป็นช่องทางในการจับการขายได้สูง กล่าวคือ มีแรงกระตุ้นสูงกว่าช่องทางอื่น เช่น บน Facebook คนจะไม่ได้สนใจสินค้าตั้งแต่แรก จากนั้นมีการลงโฆษณาบนไทม์ไลน์ของกลุ่มเป้าหมายจึงเห็น และรับรู้ถึงการมีอยู่ของสินค้า อาจไม่ได้ทำให้เกิดการซื้อเพราะคนอาจเลื่อนผ่านไป ต่างจาก Google ที่คนมีความต้องการอยู่ก่อนแล้ว จึงค้นหาก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีผลต่อการขายได้สูงมาก
หากหน้าเว็บมีการจัดการ SEO ที่ดีการมาของ Google มีจุดมุ่งหมายคือการเป็น Search Engine อันดับ 1 ของโลก แม้ว่า Google จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นการเติบโตขึ้นในอัตราที่ลดลง ทำให้ Google พยายามที่จะพัฒนา การทำงานใหม่ๆขึ้นมาอยู่ตลอด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Google สำหรับค้นหาประมาณ 90% ของประชากรผู้ใช้ search engine ทั้งหมด
แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของผู้ใช้งานและความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนไม่เหมือนกัน Google จึงพยายามหาข้อมูลหรือสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการให้ตรงความต้องการมากที่สุด จึงเป็นที่มาของ Google Chrome เบราว์เซอร์ที่มีมาไว้เพื่อ support การทำงานของ Google ให้ข้อมูลของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาระบบ Android ที่เริ่มจากการเข้ามาของ Mobile Device ที่มีบทบาทต่อการค้นหาในยุคปัจจุบัน ซึ่งช่วยเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานและความสนใจของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการจัดการระบบการค้นหาของ Google นั้นอาศัย Google Search Algorithm ที่ทำหน้าที่ในการจัดอันดับในหน้าแสดงผลการค้นหา ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามหน้าที่ของอัลกอริทึมนั้นๆ
ซึ่งรูปแบบของอัลกอริทึมต่างๆ สามารถนำมาปรับใช้กับการทำ SEO เพื่อทำการตลาดออนไลน์ แต่บางครั้งพบว่าหลายคนเมื่อรู้ว่าต้องใส่ Keyword จำนวนมากๆนั้นจะดี เพื่อจะได้ติดอันดับบนหน้าผลการค้นหา จนกลายเป็น Keyword Suffering ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด เพราะ Google จะทำการตรวจเว็บไซต์ประเภท Over Use Word ทำให้ไม่สามารถขึ้นหน้าผลการค้นหาได้
สิ่งที่นักการตลาดต้องคำนึงถึงเพื่อการทำการตลาดออนไลน์ คือ อย่าโฟกัสที่ส่วนของช่องทางออนไลน์อันใดอันหนึ่ง ควรทำให้ balance ในทุกส่วนและทำอย่างเหมาะสม เช่น วิธีการที่ผิดในการ Boost Post บน Facebook อย่างเดียว ซึ่งทำให้คนเห็นเพียง 1-7 วินาทีเท่านั้น จึงจำเป็นที่จำปรับในส่วนของเว็บไซต์เพื่อการหาข้อมูลของลูกค้าหรือผู้ที่สนใจด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างยอดขาย
เนื่องจากข้อมูลที่คนค้นหาบน Google มีเพียง 20% เท่านั้นที่ถูก Analyze แล้ว แต่ Google ยังมองทุกอย่างบนเว็บไซต์เป็นแบบ Coding แล้วใช้ Robot ในการวิเคราะห์ จึงมีความจำเป็นที่เราต้องจัดการในส่วนเว็บไซต์ให้ดีในส่วน Index-able Data บนหน้าเว็บ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ Keyword, Heading, Context เป็นต้น ซึ่งในการทำ SEO นั้นมักจะเกี่ยวข้องกับทุกๆส่วนภายในเว็บไซต์เรา รวมถึงการเชื่อมโยงกับภายนอกเว็บไซต์ โดยประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่ทำให้เกิดผลของการค้นหา ได้แก่
- On Page คือ ทุกสิ่งอย่างที่อยู่บนเว็บไซต์ของเรา ได้แก่ Content ที่มีองค์ประกอบเช่น Keyword, Coding กับการจัดการ UX (User Experience), Performance ความเร็วของเว็บไซต์และ Structure ของเว็บไซต์
- Off Page คือ ส่วนของการเชื่อมโยงจากภายนอกเว็บไซต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น การ Review จาก pantip หรือช่องทางอื่นๆที่อาจจะมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ เป็นต้น
โดยส่วนสำคัญที่ควรจัดการก่อนการทำ SEO มีดังนี้
1. Objective วัตถุประสงค์ของการทำ SEO คืออะไร? ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทกำหนด เช่น เพื่อการขายสินค้า (sale) หรือ เพื่อการทำให้มี Subscriber เพิ่มขึ้น หรือ เพื่อโปรโมทสินค้าใหม่ รวมถึงเพื่อการทำ Branding หรือในกรณีอื่นๆ เช่น การทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์หรือตัวสินค้าถูกพูดถึงในด้านดีเพิ่มมากขึ้น ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
2. Landing Page หน้าเว็บไซต์ที่คนเข้ามาถึงเป็นหน้าแรกคือหน้าใด? โดยจะเป็นหน้าที่ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์อะไรบางอย่าง แค่เพียงอย่างในอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อการขายสินค้า (sale) ดังนั้นหน้า Landing page ควรเป็นหน้าสินค้าที่ถูกค้นหา โดยหน้านั้นควรออกแบบให้ลูกค้ารับรู้ข้อมูลของสินค้าอย่างละเอียด รวมถึงสามารถกดสั่งซื้อได้เลย หรือ กรณีเพื่อการขายสินค้าโปรโมชั่น Landing page ก็ควรเป็นหน้ารวมสินค้าโปรโมชั่น เป็นต้น ซึ่งวิธีที่ผิดในการทำ SEO คือการวางหน้าแรกของเว็บไซต์เป็น Landing page เพราะหน้าแรกของบางเว็บไซต์ไม่ได้สัมพันธ์กับการค้นหาของลูกค้า อาจไม่ทำให้เกิดมูลค่าใดๆต่อธุรกิจ
3. Timeline ช่วงเวลาของการท า SEO นั้นควรมาช่วงเวลาใดและระยะเวลายาวนานเพียงใด? จะสามารถกำหนดเป็นระยะสั้น (short term) ระยะยาว (long term) หรือไม่กำหนดช่วงเวลา (No deadline) เช่นเพื่อการขายสินค้าโปรโมชั่น อาจใช้ช่วงระยะเวลาระยะสั้น หรือ เพื่อขายสินค้าทั่วไปหรือการทำใหคนรู้จักแบรนด์ของคุณ อาจต้องทำในระยะยาว หรือ ไม่มีการกำหนดระยะเวลา เป็นต้น
4. Resource ของเว็บไซต์มีความพร้อมมากเพียงพอต่อการทำ SEO หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อม ควรมีการจัดการให้ดี เช่น Keyword, Content, Design, Coding และ Server เป็นต้น
อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งในการทำ SEO คือการจัดการโครงสร้าง infrastructure ของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น
- Host/Server Location ที่มักจะมีผลกับเว็บไซต์ที่เกิดใหม่ และในส่วน Server Speed ความเร็วของเว็บไซต์ นั้นมีผลมากขึ้นต่อการทำ SEO เพราะ Google อาจจัดอันดับตามระดับความเร็ว คือ ต้องคำนึงว่าเซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากน้อยเพียงใด
- Error-time/up-time และ Performance ของเว็บไซต์ซึ่งสามารถวัดประสิทธิภาพด้วย Page Speed Insights ที่พัฒนาโดย Google Developers โดยระดับที่ยอมรับได้คือ 95 ขึ้นไป ช่วง 90-100 จะอยู่ในระดับเร็วมากนั่นเอง
- การจัดการ Domain Name ชื่อของโดเมนที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
- การจัดการ Site Structure เช่นการใส่ Site Map และการจัดการเมนู หรือ Navigation ที่มีผลต่อการค้นหาแต่ Google เริ่มมีแนวโน้มการให้ความสำคัญน้อยลง เช่น การทำ URL structure ของแต่ละเพจไม่ควรมีการจัด Directory ที่ยาวจนเกินไปแต่ต้องดูความเหมาะสมกับรูปแบบของเว็บไซต์ด้วย เช่น
- เว็บประเภท community แบบ Pantip อาจทำ URL เป็น https://www.pantip.com/ชื่อtopic/เลขid ของหัวข้อนั้นๆที่มีการลำดับจำนวนตัวเลขแตกต่างกันไป เนื่องจาก content มีจำนวนมากทำให้ยากต่อการตั้งชื่อ URL นั่นเอง
- กรณีเป็นเว็บประเภทขายสินค้าหรือ shopping online ควรจะมีการจัดทำ URL ในลักษณะ Site Silo คือจัดเป็นหมวดหมู่ ตัวอย่างเช่น https://www.lazada.com/womens-fasion/bag ซึ่งข้อดีของการจัดแบบนี้คือเวลาทำ SEO จะช่วยให้ Google โฟกัสเป็นกลุ่มๆได้ง่ายขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษา User Journey เพื่อการปรับปรุงการทำงานของ SEO และการเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นต่อการค้นหาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ก่อนการทำ Online Marketing ทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อเว็บไซต์ของคุณเอง