SCB เปิดตัว "Robinhood" ฟู้ดเดลิเวอรี่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมร้านอาหาร

‘Robinhood’ รุกตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่

  • New Normal ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้คนที่ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติม: 5 พฤติกรรมออนไลน์แบบใหม่หลังช่วง COVID-19) อย่างเช่น พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงล็อกดาวน์ที่ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงบริการอื่นๆที่ไม่สามารถให้บริการแบบหน้าร้านได้ปกติ ทำให้หลายร้านค้าหรือบริการ ปรับตัวเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มสั่งสินค้าหรือบริการออนไลน์มากเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร เริ่มมาอยู่ใน Food Delivery แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Grab, GET, Line Man, และ FoodPanda แน่นอนว่าต้องตามมาด้วยต้นทุนของธุรกิจ เพราะร้านอาหารจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้แพลตฟอร์ม ยิ่งขายได้มาก ค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ไม่รวมกับค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับการโฆษณา โปรโมทร้านค้า จึงทำให้หลายร้านอาหารต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นนั่นคือปัญหาหลัก

  • จุดเริ่มต้นที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม ‘Robinhood’ ด้วยงบลงทุนราว 100 ล้านบาท เพราะเล็งเห็นปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาที่ร้านอาหารหรือธุรกิจอาหารได้แบกรับ เพื่อให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี โดยยึดเอาประโยชน์ของธุรกิจร้านอาหาร และสังคมเป็นหลัก เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาแพลตฟอร์ม Robinhood ได้แก่
    • ไม่เก็บค่าธรรมเนียมจากร้านอาหาร
    • ร้านอาหารร้านค้า สามารถสมัครเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มได้ฟรี
    • ร้านอาหารได้รับเงินเร็วภายใน 1 ชั่วโมงนับตั้งแต่เกิดการทำธุรกรรม
    • ในอนาคตร้านอาหารขนาดเล็ก มีโอกาสที่จะเข้าถึงสินเชื่อ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น

การเตรียมความพร้อมของ SCB

  • SCB มีความพร้อมและความสามารถในด้านเทคโนโลยีที่เป็นจุดแข็ง รวมกับการมีลูกค้าธุรกิจของ SCB ในกลุ่มร้านอาหารเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีความพร้อมในการให้บริการสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์ม โดยมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน คนส่ง และร้านอาหารได้ และคาดว่าน่าจะ
  • คาดว่า Robinhood จะพร้อมเริ่มให้บริการเป็นทางการในช่วงเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป โดยเริ่มต้นในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • SCB ตั้งเป้าหมายร้านอาหารบนแพลตฟอร์ม ดังนี้
    • เป้าหมายในช่วงเปิดตัวที่ 20,000 ร้าน
    • เป้าหมายในช่วงสิ้นปีอยู่ที่ 40,000-50,000 ร้าน
    • จำนวนเป้าหมายผู้ใช้งาน Robinhood ยังไม่มีการเปิดเผย
    • ตั้งเป้าการทำเงินในระยะยาวด้วยการให้บริการสินเชื่อแก่ร้านอาหารได้ในอนาคต

ทีมงานของ SCB ในการพัฒนา Robinhood

  • ทีมงานของ Robinhood คือหน่วยงานของบริษัทใหม่ Purple Ventures โดย SCB10X เป็นผู้ถือหุ้น
  • สำหรับในส่วนระบบของพนักงานส่งอาหาร SCB จะใช้นั้นทำงานร่วมกับ Partner Start-Up ของไทยอย่าง Skootar
  • ความร่วมมือ GET อีกหนึ่งผู้ให้บริการ Food Delivery ในฐานะการเป็นพาร์ทเนอร์ ยังคงอยู่ในช่วงดำเนินการต่อไป
  • โดยแนวทางการให้บริการของ Robinhood คือการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการและร้านอาหาร มากกว่าการแข่งขันกับผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าอื่น