สหรัฐอเมริกาบริจาควัคซีน Pfizer 1.5 ล้านโดส

วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส บริจาคจากสหรัฐอเมริกา เดินทางถึงประเทศไทยแล้ว

วันนี้ทางด้านเอกอัคราราชทูตประจำประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการโพสต์ภาพร้อมกับข้อความผ่านทาง U.S Embassy Bangkok โดยได้มีการออกมาระบุว่า สหรัฐฯได้ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 จากไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดสให้กับประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย โดยเป็นส่วนหนึ่งของคำสัญญาที่ประธานาธิบดีไบเดนได้ให้ไว้ว่าจะช่วยเหลือเพื่อน, หุ้นส่วน และ พันธมิตรของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่ในทั่วโลก

การบริจาควัคซีนครั้งนี้เพื่อช่วยให้ประเทศไทยได้เร่งฉีดวัคซีนในประเทศเพื่อปกป้องสุขภาพของคนไทยทุกคน พร้อมกับเริ่มกระบวนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ การส่งมอบวัคซีนนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ มิตรภาพอันแน่นแฟ้น เพื่อให้เราได้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้

เปิดรายละเอียดวัคซีนไฟเซอร์

คนไทยหลายคนอาจจะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนไฟเซอร์ วันนี้ทาง ACCESSTRADE ประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของวัคซีนไฟเซอร์มาให้คุณได้ทำความเข้าใจพร้อมๆกัน

วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนประเภทไหน?

วัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนที่มีชื่อทางกรว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนโควิดที่คุณหมอในประเทศไทยต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลนำเข้า เป็นวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันโรคโควิด 19 ด้วยชนิดสารพันธุกรรม mRNA Vaccine ที่ถูกคิดค้นโดยบริษัท Pfizer เป็นบริษัทร่วมสัญชาติเยอรมันชื่อไบออนเทค สำหรับวัคซีน Pfizer เป็นวัคซีนที่ผลิตจากการใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส  SARS-CoV-2 เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว mRNA จะเข้าไปกำกับการสร้างโปรตีนส่วนหนาม หรือ Spike Protein ของไวรัสชนิดนี้ แล้วทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตัวนี้ออกมา สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer นั้นในปัจจุบันอยู่ที่ 95% ที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

การฉีดวัคซีน Pfizer

การฉีดวัคซีนไฟเซอร์นั้นจะต้องฉีด ทั้งหมด 2 เข็มด้วยกันโดยจะต้องฉีดเข้มแรกและเว้นระยะห่าง 3 สัปดาห์แล้วค่อยฉีดเข้ม 2 สำหรับคนที่ฉีดเข้มแรกไปแล้วเกิดอาการแพ้รุนแรง แพทย์จะไม่แนะนำให้ฉีดเข็ม 2

ใครสามารถเข้ารับการฉีดวีคซีน Pfizer ได้บ้าง

  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากมีผลการศึกษาออกมาว่า ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • สตรีมีครรภ์ หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์ที่จะได้รับมากกว่ามีความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์มีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด
  • สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างให้นมบุตร และถ้าหากเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุข ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงหากติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ยกตัวอย่างเช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคปอด, โรคหอบหืด, โรคตับ, โรคไต และโรคติดเชื้อเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ควรที่จะได้รับวัคซีนหลังจากปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลแล้วเท่านั้น
  • ผู้ที่ติดเชื้อ HIV เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูง แต่ควรปรึกษาแพทก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่เคยติดโควิด 19 มาแล้ว อาจจะรับวัคซีนไฟเซอร์หลังจากติดโควิดอย่างน้อย 6 เดือน

ผู้ที่ไม่ควรรับวัคซีนไฟเซอร์ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อน

  • ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือ มีโรคภูมิแพ้ฉับพลัน หรือแพ้ส่วนผสมของ mRNA ในวัคซีนโควิด-19

เกณฑ์จัดสรรวัคซีน Pfizer 1.5 ล้านโดส

  • กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่บุคลากรแพทย์ด่านหน้า กระตุ้นเข็ม 3 จำนวน 700,000 โดส จำนวน 700,000 คน พื้นที่ให้บริการ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย
  • ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงสูงที่มีสัญชาติไทย ได้แก่ผู้สูงอายุ, ผู้มีอาการ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง, อายุ 12 ปีขึ้นไป, หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวน 645,000 โดส คิดเป็นจำนวนฉีดทั้งสิ้น 322,500 คน ฉีดให้กับ 13 จังหวัดสีแดงเข้มที่มีการควบคุมสูงสุด
  • ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศ”ทย เน้นกลุ่มเสี่ยงสูง และผู้จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ จำนวน 150,000 โดส ฉีดให้กับคน 75,000 คน จุดฉีดจะอยู่ที่ส่วนกลาง และ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม
  • ทำการศึกษาวิจัยจำนวน 5,000 โดส ทางกรมควบคุมโรคเป็นผู้พิจารณา
  • สำรองส่วนกลาง สำหรับตอบโต้การระบาดของสายพันธุ์เบต้า จำนวน 40,000 โดสสามารถฉีดได้จำนวน 20,000 คน สำหรับพื้นที่ระบาดใหม่