Affiliate Marketing Overview

Affiliate Marketing คือ รูปแบบของการทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยตัวแทนโฆษณาและได้รับผลตอบแทนรูปแบบค่าคอมมิสชั่นจากเจ้าของเว็บไซต์ หมายถึงการนำสินค้าหรือบริการของผู้ขาย มาขายและเมื่อขายได้แล้ว เราก็ได้ค่าคอมมิสชั่นนั่นเอง

ซึ่งเมื่อก่อนการขายสินค้าและบริการจะจำกัดอยู่ที่ การลงโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ หรือ ใบปลิว ต่าง ๆ เมื่อคนมีความต้องการขายสินค้าของตนเอง ก็จะทำการลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ พวกนี้ และในสมัยต่อมา เมื่อความนิยมของสื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้การโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทำได้โดยง่าย

โดยมีหลักการที่สำคัญคือการใช้ link หรือ Banner ให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีการที่ง่ายและไม่ซับซ้อน โดยการนำ link หรือ Banner ไปติดไว้บนเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เข้าชมเยอะ ๆ หรือ เว็บไซต์ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้านั้น ๆ หรือการไปซื้อโฆษณาจากเว็บไซต์ค้นหาต่าง ๆ เช่น Google Search, Yahoo Search, MSN Search เป็นต้น ซึ่งเมื่อคนเห็นโฆษณาแล้ว ก็ทำการคลิกเข้าไปซื้อสินค้า เจ้าของสินค้าก็ได้รับเงินค่าสินค้า

การทำงานของระบบ Affiliate Marketing

– เจ้าของสินค้า/บริการ สมัครเป็นสมาชิก Affiliate Advertiser

– เจ้าของสินค้า/บริการ แสดงสินค้าพร้อมค่าคอมมิสชั่น บน Website ของ Affiliate Provider

– ผู้ขาย สมัครเป็นสมาชิกของ Affiliate Partner และเข้าเป็นตัวแทนขายกับสินค้านั้น ๆ ที่เลือก

– ผู้ขาย นำ Link หรือ Banner ของสินค้า ไปติดที่เว็บไซต์ตัวเอง หรือ นำไปโปรโมท ตาม Search Engine

– ผู้ซื้อ คลิกผ่าน Link หรือ Banner ที่ผู้ขายนำไปติดไว้ แล้วไปซื้อสินค้า

– ผู้ซื้อ จ่ายเงินให้กับ Affiliate Merchant

– Affiliate Merchant จ่ายเงินให้กับร้านค้าที่เอาของมาขาย รวมถึงจ่ายเงินค่าคอมมิสชั่นให้กับ ผู้ขาย

 

ข้อดีของ Affiliate Marketing ที่ Publisher จะได้รับ

– ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าเป็นของตัวเอง

– ไม่จำเป็นต้องบริการหลังการขาย

– ไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ หากมีเว็บไซต์เป็นของตนเองจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

– สามารถควบคุมต้นทุนได้

– สามารถหยุดการขายได้ทันทีถ้าไม่มีกำไร โดยไม่จำเป็นต้อง Stock สินค้า

– สามารถทำงานได้จากทุกที่ เพียงเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

– สามารถมีรายได้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ดำเนินกิจการใด

– ระบบที่มีความปลอดภัยสูง

โดยปกติการลงโฆษณาของเจ้าของสินค้าจะเป็นรูปแบบ CPC (cost per click) คือเมื่อมีคนคลิกที่ลิ้งค์หรือแบนเนอร์ เจ้าของสินค้าก็จะจ่ายเงินค่าคอมมิสชั่นให้แก่เจ้าของเว็บไซต์ตามจำนวนคลิ๊กที่เกิดขึ้น จากข้างต้นการคลิกแล้วเสียค่าคอมมิชชั่นอาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับเจ้าของสินค้า เนื่องจากเมื่อเกิดการคลิกเจ้าของสินค้าจะต้องเสียค่าคอมมิชชั่น แต่สินค้าอาจจะยังไม่ถูกตัดสินใจซื้อจากคนคลิก

จึงมีการเกิดรูปแบบที่ดีกว่า CPC เรียกว่า CPA (Cost per action) คือ เมื่อมีการคลิกเกิดขึ้น เจ้าของสินค้าจะยังไม่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชั่น แต่ค่าคอมมิสชั่นจะถูกจ่ายให้แก่เจ้าของเว็บไซต์ เมื่อเกิดการตกลงทำการซื้อขายเสร็จสิ้น ผู้โฆษณา(เจ้าของเว็บไซต์)ก็จะได้ค่าคอมมิชชั่น กลับคืนไป ซึ่งวิธีการของ CPA นี้ เจ้าของสินค้าก็แฮปปี้เพราะจะจ่ายเงินให้ก็ต่อเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว ส่วนเจ้าของเว็บไซต์ก็แฮปปี้ เพราะจะได้เงินคอมมิสชั่นมากกว่าการได้รับจากค่าคลิ๊ก เมื่อมีผู้ผลิตสินค้า และผู้ทำโฆษณาเห็นโอกาสนี้ จึงเกิดเว็บไซต์ที่เรียกว่า Affiliate Provider ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขาย โดย Affiliate Provider นี้จะคอยดูแลร้านค้าต่าง ๆ ไม่ให้โกง คนขาย (Affiliate Marketer) และ คอยดูแล ผู้ขาย ไม่ให้โกง ร้านค้า ด้วย ซึ่งการมี Affiliate Provider นี้ ทำให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้จากการรายงานผลผ่านระบบ Data

 

มารู้จักกับ CPA และ CPC ว่าคืออะไร?

  • CPC (Cost Per Click) คือการที่เจ้าของสินค้า(Advertiser)จ่ายเงินให้กับผู้โฆษณา(Partner หรือ เจ้าของเว็บไซต์ที่นำแบนเนอร์หรือลิ้งค์ของเจ้าของสินค้าไปติด) เมื่อเกิดการคลิก เช่น การลงโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์โดยการนำแบนเนอร์หรือลิ้งค์ไปติดไว้ที่หน้าเว็บ เมื่อมีลูกค้าคลิกแบนเนอร์โฆษณาที่นำไปวางไว้ ผู้วางโฆษณาจะได้ค่าคลิกต่อหนึ่งคลิก ตามราคาที่ตกลงกับเจ้าของสินค้าไว้

ข้อดีของ CPC คือ ผู้วางโฆษณาจะได้รับเงินทุกครั้งที่เกิดการคลิก แต่ในมุมกลับกัน เจ้าของสินค้าหรือที่เรียกว่าเจ้าของ Banner โฆษณา จะต้องชำระเงินให้กับผู้โฆษณาทุกครั้งที่เกิดการคลิก แต่ไม่สามารถการรันตีได้ว่าผู้คลิกโฆษณาจะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นหรือไม่ เจ้าของสินค้าก็ต้องจ่ายค่าคลิกโดยสินค้าอาจจะไม่สามารถขายได้ จึงทำให้ผลตอบแทนค่าคลิกตํ่า เมื่อเทียบกับ CPA

  • CPA (Cost Per Action) คือ รูปแบบการจ่ายผลตอบแทน โดยจ่ายค่าคอมมิชชั่นเมื่อมีการกระทำตามที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายเมื่อมีการซื้อสินค้า จ่ายเมื่อมีการกรอกแบบฟอร์ม จ่ายเมื่อมีการใส่ข้อมูลอีเมล์ หรือจ่ายเมื่อมีการใส่รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน CPA เป็นรูปแบบการตลาดที่นิยมมากกว่า CPC  เพราะว่าผลตอบแทนที่ได้ต่อหนึ่งเอคชั่นมีผลตอบแทนที่สูง เช่น การขายสินค้าชิ้นหนึ่งราคา 2,500 บาท ผู้ขายให้คอมมิชชั่น 10% หมายความว่าผู้โฆษณาได้เงิน 250 บาทต่อการขายหนึ่งครั้ง ต่างจากการที่เจ้าของสินค้าเลือกรูปแบบโฆษณาแบบ CPC ก็คงจะตั้งค่าคลิกไว้เพียง คลิกละ 1-2 บาท ซึ่งเห็นว่าจะต้องมีผู้คลิกถึงประมาณ 125-250 คลิก เจ้าของเว็บไซต์จึงจะได้ค่าคอมมิชชั่น 250 บาท

ซึ่งในความเป็นจริงลูกค้าที่สนใจคลิกโฆษณาโดยเฉลี่ยประมาณ 50-70 ครั้ง ก็จะมีการซื้อสินค้าหนึ่งครั้ง นั้นหมายความว่าผู้โฆษณาหรือเจ้าของเว็บไซต์เสียโอกาสในการรับค่าคอมมิชชั่นแบบ CPA ไป ดังนั้นจะเห็นว่าถ้าผู้โฆษณาหรือเจ้าของเว็บไซต์เลือกทำโฆษณาแบบ CPA จะได้ผลตอบแทนถึง 1,000 บาท ซึ่งมากกว่ารายได้ที่เกิดจาก CPC ประมาณ 4 เท่า

จากตัวอย่างของการลงโฆษณาแบบ CPC และ CPA ข้างต้น จะเห็นว่า CPA ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า CPC โดยเฉพาะในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาที่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์หรือบล็อกที่เขียนเกี่ยวกับกับเงินกู้ เมื่อมีผู้ใช้ค้นหาคำว่าเงินกู้ และเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่สนใจในเงินกู้จริงๆ จึงมีเปอร์เซนต์ที่จะคลิ๊กผ่านโฆษณาของคุณไปทำการกู้เงินสูง ซึ่งคุณจะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการกู้เงินนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม CPC ก็มีข้อดีในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ซึ่งโดยปรกติผู้เยี่ยมชมเหล่านี้จะมาจากหลายๆกลุ่มซึ่งมีความสนใจในเรื่องที่ต่างกัน นั้นหมายความว่าโดยส่วนใหญ่ เนื้อหาของเว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากขนาดนี้จะเป็นเว็บไซต์ที่แสดงเนื้อหาไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีเนื้อหาทั้งในเรื่องก่อสร้าง ความสวยความงาม รถยนต์ ท่องเที่ยว ดังนั้นโฆษณาที่เลือกนำไปโฆษณาจึงเหมาะที่จะเลือกแบบ CPC เพราะจะมีคนคลิ๊กผ่านโฆษณาของคุณมากแต่คนเหล่านี้จะไปสู่การซื้อสินค้ายาก เนื่องจากการเข้ามาชมเว็บไซต์ไม่ได้เจาะจงว่าสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ

โดยปรกติแล้ว เจ้าของสินค้าจะทำการโฆษณาสินค้าอยู่สองแบบ คือ 1. เพื่อสร้างแบรด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักโดยไม่เน้นว่าจะต้องขายสินค้าได้ เจ้าของสินค้ากลุ่มนี้จะเลือกรูปแบบโฆษณา CPC และ 2. เจ้าของสินค้าเน้นโฆษณาเพื่อขายสินค้าของตนเอง ก็จะเน้นโฆษณาในรูปแบบ CPA ในทางกลับกัน เจ้าของเว็บไซต์ก็มีสองแบบเช่นเดียวกัน คือ 1. เจ้าของเว็บไซต์ที่เขียนเรื่องหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้เหมาะสมที่จะนำรูปแบบ CPC มาใช้ในการทำโฆษณา และ 2. สองเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เยี่ยมเว็บไซต์นี้ก็จะเป็นกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องนั้น และมีโอกาสที่จะซื้อสินค้าสูง ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จึงเหมาะที่จะนำรูปแบบโฆษณา CPA มาใช้

ดังนั้น Cost Per Action (CPA) คือช่องทางเลือกอีกประเภทที่สามารถทำเงินให้กับผู้ลงโฆษณาบนเว็บไซต์และเจ้าของสินค้า ได้ดีกว่า CPC เพราะเว็บไซต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง หรือแม้แต่ในเว็บไซต์ใหญ่ๆ ที่มีผู้ชมเยอะๆ ในหน้าแรกที่มีเรื่องราวหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่พอหน้าในๆ ก็จะเป็นเนื้อหาเฉพาะเจาะจงเช่นเดียวกันกับเว็บไซต์หรือบล็อกที่เขียนเรื่องนั้นๆเป็นการเฉพาะ

ดังนั้นการโฆษณาแบบ CPA จึงเหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท จึงกล่าวได้ว่า CPA  คือแหล่งทำเงินให้กับเจ้าของเว็บไซต์เลยก็ว่าได้