IMF กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

IMF คืออะไร?

IMF หรือ International Monetary Fund หรือสามารถเรียกเป็นภาษาไทยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คือ องค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย ซึ่งมีแนวคิดการก่อตั้งมาจากการประชุม United Nations Monetary and Financial Conference หรือที่เรียกกันว่าการประชุม Bretton Woods Conference ที่เมืองเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) รัฐนิวแฮมเชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


IMF เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ในปี พ.ศ. 2490 มีศูนย์บัญชาการอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 189 ประเทศทั่วโลก โดยสิทธิสมาชิกเมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุน IMF ประเทศสมาชิกจะได้รับจัดสรรจำนวนโควตาการกู้เงินในสกุลสิทธิพิเศษถอนเงิน 1/(SDR) ตามขนาดของเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกนั้นเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลก


ซึ่ง IMF เชื่อว่าในช่วงปี 2562-2563 นี้ การคาดการณ์ 90% ของเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว การค้าระหว่างประเทศแทบเกิดการชะงักในระบบ Supply Chain ของโลก เกิดผลกระทบต่อเนื่องไปยังธุรกิจและผู้บริโภค รวมถึงการกระทบทั้งภาคการส่งออกและภาคการผลิต การบริการ ของแต่ละประเทศ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งในด้านการลงทุนของบริษัทธุรกิจต่างๆ อีกด้วย


IMF เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทยอย่างไร?

แน่นอนว่าความเกี่ยวข้องของกองทุน IMF นั้นมีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมากในด้านเศรษฐกิจ (อ่านเพิ่มเติม: ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอย’ คืออะไร? ส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยในปี 2020) ซึ่งรัฐบาลไทยมีการดำเนินการตามพันธสัญญาในฐานะสมาชิก โดยประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR* รวม 5 ครั้งด้วยกัน ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 คือมีการกู้เงินจาก IMF ครั้งแรก เมื่อเดือนกรกฎาคม 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR

  • ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน 2524* จำนวน 814.5 ล้าน SDR (แต่เบิกถอนจริงจำนวน 345 ล้าน SDR)

  • ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2525* จำนวน 271.5 ล้าน SDR

  • ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมิถุนายน 2528* จำนวน 400 ล้าน SDR (แต่เบิกถอนจริงจำนวน 260 ล้าน SDR)

  • ครั้งที่ 5 เป็นครั้งล่าสุด เมื่อเดือนสิงหาคม 2540 ที่เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ได้กู้จำนวน 2,900 ล้าน SDR (แต่เบิกถอนจริงจำนวน 2,500 ล้าน SDR) เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้น* การกู้เงินครั้งที่ 2-4 เป็นช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529

ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ชำระคืนเงินกู้จากกองทุนการเงินฯ เสร็จสิ้นแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 ซึ่งเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดเดิมถึง 2 ปี ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีภาระคงค้างกับ IMF และยังได้ร่วมเป็นภาคีความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินฯ ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow – NAB) โดยอาจให้กู้ยืมเงินไม่เกิน 340 ล้าน SDR ในกรณีที่กองทุนการเงินฯ ขาดสภาพคล่อง


*SDR คือ สิทธิพิเศษถอนเงิน (special drawing rights, ย่อ: XDR หรือ SDR) เป็นสินทรัพย์ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)


ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย และ imf.org