แถลงการณ์จาก Facebook กรณีถูกรัฐบาลกดดันให้ปิดกันการเข้าถึงกลุ่ม

เฟซบุ๊กตัดสินใจ ปิดกันเนื้อหาที่รัฐบาลแจ้งว่าผิดกฎหมาย

ข่าวล่าสุดจากทาง Facebook ที่กำลังเป็นเรื่องร้อนแรงมากๆบนโลกโซเชียลในขณะนี้ เกี่ยวกับเนื้อหาที่รัฐบาลไทยอ้างว่า “ผิดกฎหมาย” ทางเฟซบุ๊กยอดรับว่าเป็นข้อเรียกร้องที่รุนแรง และ ล่าสุดได้มีการเตรียมโต้แย้งในข้อกฎหมายต่อการเรียกร้องดังกล่าวจากทางรัฐบาล

สำนักข่าวต่างประเทศได้มีการออกมารายงานเกี่ยวกับ Facebook ที่ให้มีการจำกัดการเข้าถึงกลุ่ม Facebook Group กลุ่มหนึ่ง สำหรับคนที่อยู่ในประเทศไทย หลังจากที่รัฐบาลไทยได้มีการข่มขู่ว่า จะใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการกับแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊ก เพราะไม่ยอมลบเนื้อหาที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำที่ผิดฏกหมาย จากการตรวจสอบในเวลาต่อมาทาง Facebook ได้ออกมาเผยคำแถลงการณ์ โดยมีใจความว่า “หลังจากที่ Facebook  ได้ทำการพิจารณาอย่างระมัดระวัง และ ได้ตัดสินใจจำกัดการเข้าถึงเนื้อหา ที่รัฐบาลไทย ได้มีการออกมาระบุว่าเป็นเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย” ข้อเรียกร้องดังกล่าว จากทางรัฐบาล ครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่รุนแรง เนื่องจากขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล และ ยังส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออก และ การดำเนินงานของเฟซบุ๊ก ที่มีเป้าหมายในการปกป้อง และ รักษาไว้ซึ่งสิทธิต่างๆ ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคน การแทรกแซงการทำงานที่เกิดขอบเขตของรัฐบาลครั้งนี้ ถือว่าเป็นการบั่นทอนความสามารถในการดำเนินงานของ Facebook  ในการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการดำเนินงานของสำนักงานในประเทศไทย การคุ้มครองดูแลพนักงานของบริษัท และ การช่วยเหลือสนับสนุนต่อธุรกิจต่างๆ ที่ต้องพึ่ง Facebook

 

  • ด้านเสรีภาพในการแสดงออก และ กฎระเบียบที่ว่าด้วยการแสดงออกถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายที่มันซับซ้อนมากที่สุด และ มีความสำคัญในฐานะองค์กร โดยเป็นหัวข้อที่อาศัยความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่างการช่วยให้ผู้คนสามารถแสดงออกถึงความคิดอย่างเสรีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมายท้องถิ่น และ บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม
  • เมื่อทาง Facebook ได้รับคำขอจากทางรัฐบาล หรือ หน่วยงานทางกฎหมาย ให้จำกัดการเข้าถึงของเนื้อหา ทางเราได้ทบทวนเนื้อหาว่าขัดต่อมาตรฐานชุมชนของ Facebook หรือ ไม่หากพบว่าเนื้อหานั้นละเมิดมาตรฐานชุมชนทาง เราจะทำการลบเนื้อหาทั้งหมดออกจากแพลตฟอร์ม
  • ในกรณีที่เนื้อหาไม่ได้ละเมิดมาตรการชุมชนทาง Facebook จะนำเข้าสู่ขั้นตอนในการตรวจสอบทางกฎหมาย โดยจะมีกระบวนการทั้ง 2 ขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจว่าคำขอนั้นถูกต้องตามกฎหมาย และ เนื้อนั้นมีการละเมิดกฎหมายท้องถิ่นจริงทาง Facebook อาจจำกัดการเข้าถึงเนื้อหานั้นๆ ในประเทศที่ระบุว่าขัดต่อกฎหมาย คำขอเหล่านั้นจะถูกดำเนินการในรูปแบบของคำสั่งศาลที่มีการยื่นคำร้องจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • ทาง Facebook ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ในการแจ้งถึงจำนวนเนื้อหาที่ได้จำกัดการเข้าถึง โดยอ้างอิงจากกฎหมายท้องถิ่นในประเทศ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่รายงานเเพื่อความโปร่งใส ซึ่งจะมีการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในทุกๆ 6 เดือน

สำนักข่าวต่างประเทศ ได้มีการรายงานออกมาอีกว่า Facebook กำลังวางแผนดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อต่อต้านข้อเรียกร้องของรัฐบาลไทยในการกดดันครั้งนี้ ที่บังคับให้บริษัทปิดกั้นกลุ่ม โดยการตัดสินใจปิดกั้นกลุ่มครั้งนี้ เป็นกลุ่มที่มีสมาชิก 1 ล้านคน

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *