อัพเดต มาตรการคุมสื่อสินเชื่อจากแบงค์ชาติ พร้อมหลักเกณฑ์ และแนวทางการปฏิบัติ
เรียกได้ว่าเป็น มาตรการใหม่จากแบงค์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการประกาศใช้ ดีเดย์บังคับใช้ 1 ม.ค. 2567 กับ มาตรการการคุมสื่อสำหรับสินเชื่อ เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างหนี้เกินตัว และลดหนี้ครัวเรือน ได้มีการออกกำหนด และแนวทางการปฏิบัติให้กับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้มีความรับผิดชอบและเป็นธรรรม
มาตรการคุมสื่อสินเชื่อ คือ อะไร?
มาตรการคุมสื่อสินเชื่อ เป็นมาตรการที่แบงค์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกประกาศเพื่อเป็นการกำหนดแนวทาง และหลักเกณฑ์ให้กับสถาบันการเงิน ทางที่เป็นธนาคาร และไม่ได้เป็นธนาคาร นำไปปรับปรุงการดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ให้เกิดการรับผิดชอบและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากขึ้นนั้นเอง โดยมาตรการในครั้งนี้มีผลบังคับใช้ 1 มีนาคม 2567 นี้
ข้อจำกัดของมาตรการคุมสื่อสินเชื่อ มีอะไรบ้าง?
1. ห้ามให้สถาบันการเงินนำดอกเบี้ย ค่าบริการ เบี้ยปรับและค่าใช้จ่ายทวงหนี้ มาคำนวณรวมกับหนี้ที่ค้างชำระ เพื่อคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยทุกประเภท
2.ห้ามผู้ให้บริการสินเชื่อบังคับให้ผู้ใช้บริการต้องเบิกสินเชื่อทันทีที่อนุมัติ พร้อมกับเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเบิกสินเชื่อทันที หรือสามารถเลือกช่วงเวลาเบิกใช้สินเชื่อได้ตามความต้องการ
3.ห้ามผู้ให้บริการบัตรเครดิตใช้ข้อความโฆษณากระตุ้นการใช้จ่ายเกินควร รวมทั้งห้ามให้ของขวัญ ของรางวัล หากใช้จ่ายตามยอดที่กำหนด เป็นต้น หลังพบว่าการโฆษณาดังกล่าวกระตุ้นพฤติกรรมการใช้จ่ายเกินควร โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้อายุน้อยที่จะมีผลกระทบต่อเครดิตการเงินในอนาคต
หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติ ของมาตรการคุมสื่อสินเชื่อ
1. หลักเกณฑ์โฆษณา
ข้อมูลขั้นต่ำที่ต้องมีในโฆษณา
1. เงื่อนไขสำคัญเพื่อได้รับดอกเบี้ยพิเศษ เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาระ / อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม ซึ่งมีลักษณะจูงใจ
2.คำเตือน คำเตือน “กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว”
3.ช่วงอัตราดอกเบี้ย Min-Max อัตราดอกเบี้ย effective rate ตามการให้สินเชื่อจริงหรือ product program จริง ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
4.ข้อมูลยอดผ่อนต่องวด : ต้องแสดงสมมติฐานการคำนวณข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วน โดยอย่างน้อยต้องแสดงเงินต้น อัตราดอกเบี้ย จำนวนดอกเบี้ยทั้งสัญญา ค่างวดต่อ เดือน และระยะเวลาที่ชำระคืนหนี้ทั้งหมด
บัตรเครดิต : ให้แสดงคำเตือน รวมกับดอกเบี้ย effective rate ในขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
สินเชื่อส่วนบุคคล : กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสีย ดอกเบี้ย…(แสดงช่วง Min-Max)
2. หลักเกณฑ์ย่อย
หลักเกณฑ์ย่อยที่ต้องมีในโฆษณา
1.เงื่อนไขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับภาระ / อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม ซึ่งมีลักษณะจูงใจ
– อัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี นาน 50 วัน สำหรับยอดการใช้จ่ายแรกเท่านั้น
– อัตราดอกเบี้ย 0% เมื่อลูกค้าชำระเต็มจำนวนายในวันครบกำหนดชำระ
– กำหนดว่าฟรีค่าธรรมเนียมรายปีเฉพาะปีแรกเท่านั้น
2.สำหรับโฆษณาที่มีรูปภาพขนาดเล็ก : ให้แสดงข้อมูลขั้นต่ำ
3.ขอบเขตหลักเกณฑ์ : หลักเกณฑ์บังคับใช้กับลูกค้าทุกกลุ่ม แม้เป็นกลุ่มรายได้สูง เนื่องจากพบว่าเป็นกลุ่มที่มี ปัญหาการใช้หนี้เกินตัวเช่นกัน
4.กรณีมีอัตราดอกเบี้ยเดียว : ถ้ามีอัตราดอกเบี้ยเดียว สามารถแสดงเพียงตัวเดียวได้
5.อัตราดอกเบี้ย step-up : หลักเกณฑ์ที่กำหนดให้แสดงสมมติฐานการคำนวณสำหรับอัตราดอกเบี้ย step-up เปิดให้ ผู้ให้บริการสามารถอ้างอิงรายละเอียดสมมติฐานจากแหล่งอื่นได้อยู่แล้ว เช่น website
6.โปรโมชั่นดอกเบี้ย : ต้องระบุเงื่อนไขสำคัญให้ชัดเจน เช่น 9.99% ภายในระยะเวลา วันที่ … เฉพาะการเบิกใช้ครั้งแรก
7.อัตราดอกเบี้ยลอยตัว :
ตัวอย่างโฆษณา : อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 6% – 10%
หมายเหตุ *อัตราดอกเบี้ย MLR ณ วันที่ 5 ต.ค. 66 = 7% ทั้งนี้ “อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้”
8.ข้อมูลยอดผ่อนต่องวด :
ตัวอย่างโฆษณา : “ผ่อนหมื่นละ 10 บาทต่อวัน*”
*กู้สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งสัญญา 7,200 บาท ค่างวด 300 บาทต่อเดือน ผ่อนนาน 5 ปี
9.ภาพโฆษณา
-จำนวนเงินที่แสดงในภาพต้องสอดคล้องกับสินเชื่อ
-ภาพต้องไม่สนับสนุนให้กู้เพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแบรนด์เนม
-ภาพต้องไม่แสดงว่าเรื่องกู้เป็นเรื่องง่าย เช่น นอนบนกองเงิน เงินปลิวเป็นจำนวนมาก
10.ของขวัญหรือรางวัล
-ห้ามทำกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ให้รางวัลหรือของขวัญทันทีที่สมัคร
-ห้ามกำหนดเงื่อนไขเพื่อกระตุ้นหรือเร่งรัดให้ลูกค้าใช้สินเชื่อทันที
-ห้ามจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยจัดรายการ ชิงโชค จับสลาก หรือดำเนินการในลักษณะที่เข้าข่ายเป็นการพนัน ซึ่งเข้าข่ายเป็นการเร่งให้เกิดการ ก่อหนี้เกินควร
11.ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงสื่อโฆษณา
ต้องปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับ หลักเกณฑ์อย่างน้อย 50% ของโฆษณาทั้งหมดภายใน 31 มี.ค. 67 โดยให้เริ่มแก้ไข โฆษณาในบริเวณสาขาที่มียอดขายสูงสุดหรือในจังหวัดที่มีประชากรสูง เช่น กรุงเทพฯ 11 หลักเกณฑ์ ความเห็นผู้ให้บริการ ข้อสรุป ธปท. นครราชสีมาอุบลราชธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น เป็นต้น และปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ทั้งหมดใน 30 มิ.ย. 67
12.ภาพโฆษณาที่ลงไปแล้ว
ไม่จำเป็นต้องลบโฆษณาใน social media ก่อนหลักเกณฑ์มีผลบังคับใช้ แต่ห้าม repost
โดยมาตรการคุมสื่อสินเชื่อข้างต้น ธนาคาร หรือผู้ให้บริการสินเชื่อต่างๆ ต้องปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์อย่างน้อย 50% ของโฆษณาทั้งหมดภายใน 31 มี.ค. 67 โดยให้เริ่มแก้ไข โฆษณาในบริเวณสาขาที่มียอดขายสูงสุดหรือในจังหวัดที่มีประชากรสูง เช่น กรุงเทพฯ 11 หลักเกณฑ์ ความเห็นผู้ให้บริการ ข้อสรุป ธปท. นครราชสีมาอุบลราชธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น เป็นต้น และปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ทั้งหมดใน 30 มิ.ย. 67
คำที่ห้ามใช้ในการทำสื่อโฆษณาสินเชื่อ
• “กู้เงินเรื่องง่าย ๆ” “กู้ง่าย” “อนุมัติ ง่าย”
“อนุมัติง่ายกว่าขอเงินเมีย” แสดง ให้เห็นว่าการกู้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพิจารณา อย่างรอบคอบ
• “ใคร ๆ ก็กู้ได้” แสดงให้เห็นว่าทุกคนจะ ได้เงินกู้ โดยอาจไม่ผ่านการพิจารณา affordability
• “ไม่ดูเครดิต กู้ได้” “ไม่เช็ค”“ไม่เช็คบูโร” “ไม่เช็คเครดิตบูโร” แสดงให้เห็นว่าไม่ได้
พิจารณา affordability อย่างถี่ถ้วน และ ไม่เป็นการส่งเสริมวินัยทางการเงินที่ดี
• “มี/เปิดวงเงินไว้พร้อมใช้ช้อปปิ้งหลาย brand” แสดงให้เห็นว่าเป็นการเปิด วงเงินเผื่อไว้ซื้อของฟุ่มเฟือยหรือกระตุ้น การก่อหนี้เกินควร และไม่เป็นการส่งเสริม วินัยทางการเงินที่ดี
คำที่ใช้ได้โดยต้องมีข้อมูลครบถ้วน
• “เครดิตไม่ดี ซ่อมได้”“อาชีพไหนก็กู้ได้” “อาชีพไหนก็สมัครได้” “มีเครดิต” “จัดที่ไหนไม่ได้ มากู้ที่นี่” สามารถแสดงได้ แต่ต้องไม่มีเนื้อหาในลักษณะไม่ผ่านการ พิจารณา affordability หรือไม่ส่งเสริม วินัยทางการเงินที่ดี
• “กู้ปีนี้ผ่อนปีหน้า” โดยต้องแสดง เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับภาระ / อัตรา ดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม ให้ชัดเจน เช่น ต้องกู้ใน Q4 เท่ำนั้น ถึงจะปลอดการ ชำระหนี้ 6 เดือน และต้องระบุให้ชัดว่ำมี กำรคิดดอกเบี้ยในช่วงกำรปลอดชำระหนี้ หรือไม่ อย่ำงไร
• “มีวงเงินไว้ อุ่นใจเมื่อจ าเป็น/ฉุกเฉิน” แสดงให้เห็นว่าเป็นวงเงินที่ไว้ใช้เมื่อลูกค้า มีความจำเป็น
• “สินเชื่อเงินด่วน” “เงินด่วนสบายใจ” “เงินด่วน สะดวกใช้” “รับเงินได้รวดเร็ว ทันใจ” “บ้านใหม่ทันใจ” “กู้ไว” “อนุมัติไว รับเงินทันที” “สมัครง่าย” “คุยง่าย” “เอกสารไม่ยุ่งยาก” “เอกสารน้อย” แสดงให้เห็นกระบวนการ อนุมัติสะดวกหรือรวดเร็ว ซึ่งลูกค้าต้อง ได้รับเงินได้อย่างรวดเร็วจริงนับจากจุดที่ ลูกค้ายื่นเอกสารครบถ้วน หากใช้ระยะ เวลานาน จะเป็นการโฆษณาที่มีข้อมูลไม่ ถูกต้อง
• “ได้วงเงินก้อนใหญ่” “มีเงินก้อน” “วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ” สามารถแสดงได้ แต่ต้องไม่มีเนื้อหาในลักษณะได้วงเงิน ก้อนใหญ่ โดยไม่ได้ผ่านการพิจารณา affordability
• “ไม่ต้องใช้สลิป” “ไม่ค้ำ” “150% ของ ราคารถยนต์” “วงเงินสินเชื่อสูงสุด 100% ของหลักประกัน” สามารถแสดง ได้ตามเงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อของ ธนาคาร
• “จ่ายเงินขั้นต่ำเพียง2.5% ของยอดคงค้าง” สามารถแสดงได้ กรณีเป็นเงื่อนไขของ ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าได้จริง
สำหรับ ACCESSTRADE Publisher และ Influencer
สำหรับ Publisher หรือ นักโปรโมทสินค้าออนไลน์ ก็ต้องคำนึงถึงมาตรการนี้เช่นกัน เนื่องด้วยมาตรการนี้ไม่ได้คุมแค่ธนาคารอย่างเดียว ยังรวมไปถึงสื่อโฆษณาออนไลน์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อกับสินเชื่ออีกด้วย Publisher ท่านใดโปรโมทแคมเปญที่เกี่ยวข้องกับการเงิน สินเชื่อต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน วันนี้เราจึงมีหลักการ และตัวอย่างในการโปรโมทมาให้ เพื่อให้ทุกท่านได้พิจารณาก่อนลงสื่อโฆษณาค่ะ
3 หลักการโฆษณาตามช่องทางสื่อออนไลน์
1. สื่อต้องมีความถูกต้องและชัดเจน ต้องแสดงถึงเงื่อนไข คำเตือน หรือข้อแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในการโฆษณาที่ชัดเจน เช่น อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ ระยะเวลานานเท่าไหร่ คำเตือนต่างๆ ต้องชัดเจนเช่นกัน
2. สื่อต้องมีข้อมูลครบถ้วนและเปรียบเทียบได้ โดยหลักเกณฑ์ คือ ต้องมีการแสดงยอดต่ำสุด-สูงสุด ของอัตราดอกเบี้ยแท้จริงต่อปี ขนาดตัวอักษรเท่าถ้อยคำพูดเชิญชวน
3. สื่อต้องไม่กระตุ้นให้เกิดการก่อหนี้เกินควร หรือหนี้ที่ไม่จำเป็น หลักเกณฑ์ คือ ห้ามกระตุ้นให้ก่อหนี้เกินควร และส่งเสริมวินัยการเงิน เช่น ห้ามทำกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ให้รางวัลหรือของขวัญ ทันทีที่สมัครเป็นต้น