คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรียกเก็บค่าไฟเพิ่มอีกช่วง กันยายน ถึง ธันวาคม 2565
จากการตรวจสอบเบื้องต้น สำหรับค่าไฟฟ้าในปัจจุบันที่มีประชาชนคนไทยหลายๆคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ค่าไฟแพงในช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่งแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ เอฟที สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ในรอบเดือนกันยายน 2565 ไปจนถึงเดือน ธันวาคม 2565 จะมีการประกาศในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2565 จากการตรวจสอบเบื้องต้น ต้นทุนได้ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้มีการคาดการณ์ออกมาว่า ค่าไฟรอบใหม่หรือรอบปลายปี จะปรับขึ้นอีก 40 สตางค์ต่อหน่วย
เบื้องต้นมีการคาดการว่าค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เราเรียกว่าค่าเอฟที ในงวดสุดท้ายจะปรับขึ้นไม่ถึง 5 บาท ต่อหน่วย และการปรับขึ้นในรอบนี้ ยังไม่รวมกับภาระที่การไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟฝ. แบกรับเอาไป ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 80,000 ล้านบาท แล้วหากรวมในส่วนนี้ จะส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่แท้จริงปรับขึ้นอีกกว่า 1 บาท ต่อหน่วย
สำหรับมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากภาวะค่าไฟฟ้าสูง จะต้องร่วมกันพิจารณาภาคนโยบายต่อไป ในส่วนของ กกพ. ไม่มีงบประมาณในการเข้ามาดูแลในส่วนนี้ แต่จะพยายามบริหารต้นทุนการผลิตไฟฟ้าให้มีราคาสูง และ สมเหุตสมผลมากที่สุด โดยที่ไฟฟ้าไม่ดับ
การบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า ในปัจจุบัน ยังเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนราคาปรับลดลง เมื่อเทียบกับต้นทุนที่แท้จริงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ควรจะต้องมีการบริหารจัดการในระยะยาว เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านโครงสร้าง และการจัดการพลังงานระยะยาว ของประเทศได้แก่ โครงการจัดการพลังงานในอนาคต หรือ LNG/Domestic Gas และ แผนจัดหาเก็บและใช้ก๊าซระยะยาวอย่างเป็นธรรม
ค่า Ft ปรับสูงขึ้นชาวโซเชียลถามใครเป็นคนกำหนด?
กลายเป็นประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์ เนื่องจากมาดราม่าเกี่ยวกับ ตัวเลขค่าไฟฟ้า และ ค่า Ft ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งตัวเลขที่ปรับนั้น ค่อนข้างสูงจากเดิม จากปกติ 1.39 สตางค์ต่อเหน่วย กลายมาเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย จนเกิด Hashtag #ค่าไฟแพง ทำให้ผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ ต่างออกมาตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับค่า Ft ที่มันปรับตัวสูงขึ้นจนน่าตกใจ ว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร และ พร้อมใจกกันติดแฮชแท็กเป็นวงกว้างเลยทีเดียว
ทาง ACCESSTRADE ประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าไฟที่เราใช้กันว่าทุกวันนี้ค่า Ft ขึ้นได้ยังไง และค่าไฟฟ้าในบ้านเรามีโครงสร้างแบบไหน และความเป็นจริงแล้ว ใครที่มีอำนวจหน้ที่ในการปรับขึ้น หรือ ลดค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจะต้องจ่ายแน่ๆ?
ข้อมูลจากทาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับ โครงสร้างค่าไฟฟ้า ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ค่าไฟฟ้าฐาน
- ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า Ft
ค่าไฟฟ้าฐาน คืออะไร?
ค่าไฟฟ้าฐาน เป็นค่าไฟฟ้าที่สะท้อนรายจ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ., การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. เป็นการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าในอนาคตของประเทศ ตามแบบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ในช่วง 15 ปี ข้างหน้า โดยจัดทำโดยคณะอนุกรรมการกาพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ประกอบด้วยรายจ่ายของการไฟฟ้า 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่
- ส่วนที่ 1: ต้นทุนทางการเงินที่การไฟฟ้าใช้ในการก่อนสร้างขยายระบบผลิต และ ระบบส่งรวมไปถึง ระบบจำหน่ายในอนาคต
- ส่วนที่ 2: ต้นทุนในการดำเนินงาน ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน และ บำรุงรักษาระบบผลิต ระบบส่งและระบบจำหน่ายค่าบริหารจัดการ ไปจนถึงผลตอบแทนการลงทุน
- ส่วนที่ 3 ต้นทุนค่าเชื้อเพลิง และ ค่าซื้อไฟฟ้า
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft คืออะไร?
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft ก็คือ ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง หรือ Fuel ที่แปรไปตามเวลา หมายถึงค่าไฟฟ้า ที่สะท้อนถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเชื้อเพลิง และ ค่าซื้อไฟฟ้า ที่เปลี่ยนแปลงไป จะเพิ่มหรือลดจากค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ซึ่งขั้นตอนจะเริ่มตั้งแต่ คณะอนุกรรมการกำกับการดูแลอัตราพลังงาน และ ค่าบริการพิจารณากลั่นกรองความถูกต้อง ของการนำค่าใช้จ่ายส่วนที่เปลี่ยนแปลง นั้นมาคำนวณในสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เพื่อหาค่า Ft หลังจากนั้น จะนำเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ประมาณ 5 วัน จากนั้น กกพ. ถึงจะประกาศค่า Ft ดังกล่าวเพื่อให้การไฟฟ้าใช้เรียกเก็ฐจาก ประชาชน 4 เดือน ครั้ง เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม ได้รับความสะดวกสบาย ในการคิดต้นทุนสินค้า
สาเหตุทำไมถึงขึ้นค่า Ft เป็น 24.77 สตางค์ ต่อหน่วย
หลังจากประกาศประชุม เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ที่ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า Ft สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ในเดือนพฤษภาคม 2565 ไปจนถึงสิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย สาเหตุหลักๆ สามารถดูรายละเอียดได้ด้านล่าง
- ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พฤษภาคม 2565 ไปจนถึงเดือน สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 68,731 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากการประมาณการงวดก่อนหน้าในเดือน มกราคม ไปจนถึงเดือน เมษายน 2565 โดยคาดว่า จะมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 65,325 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 5.21%
- สำหรับสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พฤษภาคม 2565 ไปจนถึงเดือน สิงหาคม 2565 ยังต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็ฯเชื้อเพลิงหลัก 55.11% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว และ ประเทศมาเลเซีย รวมทั้งหมด 19.46%
- ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ย ที่ใช้ในการคำนวณ ค่า Ft ในเดือน พฤษภาคม 2565 ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2565 มีการเปลี่ยนแปลง จากการประมาณการในเดือน มกราคม 2565 ไปจนถึงเดือน เมษายน 2565 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และ ราคาถ่านหินนำเข้า เฉลี่ยปรับตัวสูงมากขึ้น จากการประมาณในรอบเดือนมกราคม 2565 ไปจนถึงเดือน เมษายน 2565
- อัตราแรกเปลี่ยน เฉลี่ยที่ใช้ประมาณการ ตั้งแต่ 1 จนถึง 31 มกราคม 2565 เท่ากับ 33.20 บาท ต่อเหรียญสหรัฐอ่อนค่าเล็กน้อย จากการประมาณการในงวดเดือน มกราคม ไปจนถึง เมษายน 2565 ประมาณการเอาไว้ที่ 33 บาท ต่อ USD
จริงรึเปล่าค่า Ft ทำให้ค่าไฟฟ้าในบ้านเราแพงขึ้น
จากกระแสดังกล่าวทำให้มีคนถามเข้ามามากเกี่ยวกับค่า Ft ที่มีทั้งเพิ่มขึ้น และ ลดลง ขึ้นอยู่กับราคา และ สัดส่วนการใช้พลังงานในแต่ละช่วง ว่ามีราคาแพงขึ้น หรือ ไม่นั้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้า 50% เกิดจากค่าเชื้อเพลิง และ ค่าซื้อไฟฟ้า ทำให้สัดส่วนเชนิดเชื้อเพลิงที่ใชในการผลิตไฟฟ้า เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อราคาค่าไฟฟ้าที่ทำให้ราคามันแพงขึ้น เนื่องจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีราคาแตกต่างกัน