เงินเยียวยาโควิด เราชนะ รับเงิน 7,000 บาท

เตรียมตัวให้พร้อมลงทะเบียน เราชนะ รับเงิน 7,000 บาท รีบดูก่อนวันลงทะเบียน

กลายเป็นกระแสที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากกรณีมาตรการเยียวยาล่าสุดที่รัฐบาลมีมติเห็นชอบออกมา เป็นมาตรการที่ถภูกปล่อยออกมาเพื่อเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาระลอก 2 หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า เงินเยียวยาโควิด นั่นเองจากข่าวล่าสุดที่คณะรัฐมนตรี ได้ลงมติเห็นชอบอนุมัติที่จะแจกเงินเยียวยาคนละ 3,500 บาทเป็นระยะเวลา 2 เดือน รวมเป็นเงินเยียวยาโควิดทั้งสิ้น 7,000 บาท

ทางกระทรวงการคลัง ได้มีการออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการเงินเยียวยาโควิดซึ่งโครงการนี้เรียกว่าโครงการ “เราชนะ” เป็นการพิจารณาให้เงินเยียวยากับกลุ่มอาชีพอิสระ, กลุ่มเกษตรกร และ กลุ่มลูกจ้างรายวัน เงินเยียวยาโควิดรอบนี้กับโครงการ เราชนะ จะเปิดให้ประชาชนที่สนได้ลงทะเบียนเร็วที่สุดภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น เราชนะ ในส่วนของพี่น้องเกษตรกรจะต้องทำการลงทะเบียนใหม่เพราะว่าฐานข้อมูล ไม่ได้อยู่ในแอปพลิเคชั่น จากการตรวจสอบสำหรับคนที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เราชนะ จะได้รับเงินเร็วที่สุดในปลายเดือนมกราคม 2564 หรือถ้าช้าสุด จะได้รับช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นการจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ จ่ายบนแอพพลิเคชั่น เป๋าตัง

สำหรับผู้ที่ได้รับการเยียวยารอบที่แล้วที่มีสิทธิทั้งหมด ประมาณ 40 ล้านคน ทางกระทรวงการคลังพยายามเคลียร์ให้มากที่สุด ซึ่งแนวทางเบื้องต้นจะตัดผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม, ข้าราชการ และลูกจ้าง รวมไปถึงผู้ที่มีฐานะ เพื่อให้เหลือคนที่ได้รับสิทธิที่เดือดร้อนจากกรณีโควิดอย่างแท้จริง รายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการลงทะเบียน เราชนะ ทางกระทรวงการคลังจะเสนอเข้า คณะรัฐมนตรี วันที่ 19 มกราคม 2564 นี้ ประชาชนที่สนใจต้องการจะ ลงทะเบียนเงินเยียวยาเราชนะ สำหรับ 3 กลุ่มแรก

  • กลุ่มอาชีพอิสระ
  • กลุ่มลูกจ้างรายวัน
  • กลุ่มเกษตรกร

บางรายเป็นคนเก่าที่เคยได้รับสิทธิในรอบที่แล้ว ก็ต้องทำการตรวจสอบรักษาสิทธิ์อีกครั้ง สำหรับบางราย ซึ่งไม่เคยลงทะเบียนเข้าร่วม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกใหม่นี้ อาจจะต้องรอความชัดเจนว่า คณะรัฐมนตรีที่จะมีการประชุมในวันที่ 19 มกราคม 2564 นี้จะมีการอนุมัติรายละเอียดอะไรออกมาบ้าง และหลักเกณฑ์สำหรับการลงทะเบียนจะเป็นยังไง แนะนำให้ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง สำหรับคนที่อยู่ในระบบประกันสังคม, ข้าราชการ และ ลูกจ้าง รวมไปถึงผู้ที่มีฐานะอาจจะมีมาตรการอื่นดูแลแทน