แจกเงิน 3,000 บาท 15 ล้านสิทธิ์

เตรียมแจกเงิน 3 พันบาท อัดงบกระตุ้นเศรษฐกิจ

เตรียมตัวรับเงิน 3,000 บาท รวม 15 ล้านคนเพื่อจับจ่ายใช้จ่าย ลดค่าครองชีพ  เตรียมสรุปผลภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมกับมาตรการจ้างบัณฑิตจบใหม่ 2.6 แสนตำแหน่ง

เปิดเผยข้อมูลจากทางด้านรองเลขาธการคณะกรรมการสภาพัฒนทหารเศรษฐกิจ และ สัมคมแห่งชาติ หรือ สศช. เกี่ยวกับการประชุมของศูนย์บริหารเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ลงมติเห็นชอบในการกระตุ้นเศรษฐกิจเน้นไปที่ การจับจ่่ายไปที่ผู้ค้าขนาดเล็ก หาบเร่แผงลอย ผ่านมาตรการต่างๆ ตามรายละเอียดด้านล่าง

1. มาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศวงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท

นำมาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง มอบให้ทั้งหมด 15 ล้านสิทธิ์ รับคนละ 3,000 บาท จ่ายผ่านแอปเป๋าตัง เน้นไปที่การจับจ่ายใช้สอยไปที่ผู้ค้าขนาดเล็ก รัฐออกเงินให้ 50% โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการลดค่าครองชีพของประชาชน และ ส่งเสริมการบริโภค รวมไปถึงการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการหาบเร่แผนลอยด้วย โดยทางรัฐบาล จะมีการช่วยค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ในวงเงินไม่เกิน 3,000 บาท ต่อคน สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะเข้าโครงการจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และ ต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ เปิดให้ผู้ที่สนใจลงทะเบียนเป็นยอดรวมทั้งหมด 15 ล้านคน มาตรการนี้ จะเน้นไปที่ร้านค้ารายย่อย ประมาณ 80,000 ร้านค้า ผ่านกลไกการดำเนินงานบน “แอป กระเป๋าตัง” ที่ประชุมมีมติให้ทางกระทรวงการคลังจัดทำรายละเอียดโครงการ เพื่อนำมาเสนอต่อ ศบศ. ภายใน 2 สัปดาห์


2. มาตรการจ้างงาน สำหรับเด็กจบใหม่ โดยรัฐบาลสมทบจ่ายกับนายจ้าง

ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ไปจนถึงเดือนตุลาคม 2564 สำหรับวัตถุประสงคร์หลักเพื่อเป็นการสนับสนุนการจ้างงาน ให้กับผู้จบการศึกษาใหม่ซึ่งมีทั้งหมด 3 กลุ่มด้วยกัน รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2.3 หมื่นล้านบาท ได้แก่

  • ระดับปริญญาตรี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือ ปวส.
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช.

มาตรการนี้จะมีอัตราค่าจ้ายตามวุฒิการศึกษา ปริญญาตรีเดือนละ 15,000 บาท, ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือ ปวส. เดือนละ 11,500 บาท และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. เดือนละ 9,4000 บาท ทางรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเงินค่าจ้างร้อยละ 50 ของเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท ต่อคนต่อเดือน มาตรการดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญของนายจ้าง หรือ สถานประกอบการซึ่งจะต้องอยู่ในระบบประกันสังคม และ มีการยืนยันตัวตนผ่านกระทรวงแรงงาน และ จะต้องมีเงื่อนไขเลิกจ้างลูกจ้างเดิมไม่เกินกว่าร้อยละ 15 ภายในระยะเวลา 1 ปี ในกรณีที่ลูกจ้างลาออในระหว่างโครงการ ทางนายจ้าง หรือ เจ้าของสถานประกอบการสามารถหาลูกจ้างใหม่มาทดแทนได้ สำหรับลูกจ้างที่เข้าร่วมโครงการจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
  • อายุไม่เกิน 25 ปี หรือ อายุเกินกว่า 25 ปี ซึ่งสำเร็จการศึกษาในปี 2562 หรือ จบการศึกษาในปี 2563

3. ปรับปรุงมาตรการ เราเที่ยวด้วยกันเพิ่มเติม

โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ได้เสนอให้บุคคลากรภาครัฐ เช่นข้าราชการ และ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถลาพักผ่อนในวันธรรมดาเพิ่มได้อีก 2 วัน โดยไม่ถือว่าเป็นวันลา เพื่อเข้าร่วมโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน