ธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร ปล่อยเงินกู้ช่วยน้ำท่วม
ออกมาตรการเงินกู้ฉุกเฉิน ช่วยน้ำท่วม สูงสุด 50,000 บาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% กว่า 6 เดือน จากทางธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ ยังมีให้กู้อีก 500,000 บาทเกี่ยวกับอุปกรณ์การเกษตร
ประกาศล่าสุดจากทางด้านธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร ได้ออกมาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้คนไทยได้รับผลกระทบซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในประเทศไทย ยังไม่มีการระบาดภายในประเทศเพิ่มเติม แต่ตอนนี้เศรษฐกิจในประเทศ ที่ได้รับพิษจากโควิด-19 แย่อยู่แล้ว เจอกับสถานการณ์น้ำท่วมเข้าไปอีกยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจในประเทศไทยของเราไม่ฟื้นตัวอีกด้วย ทางด้านสถานีข่าวกระทรวงการคลัง หรือ Ministry of Finance News Station ได้มีการออกมารายงานว่า ทางด้านธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณืการเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้มีการสั่งการให้พนักงาน ออกเยี่ยมเยียน พี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พร้อมกับจัดถุงยังชีพคอยช่วยเหลือในเบื้องต้น
แผนการฟื้นฟูหลังจากประสบภัยน้ำท่วมของ ธ.ก.ส. จะแบ่งเป็นเงินตามส่วนต่างตามรายการด้านล่าง
- เตรียมเงินสมทบสร้างบ้านหลังใหม่ ราบละไม่เกิน 20,000 บาท
- ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินที่จำเป็น รายละไม่เกิน 2,000 บาท
- ค่าซ่อมเครื่องจักรกลทางการเฏษตร รายละไม่เกิน 2,000 บาท
ทางด้านธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์กรการเกษตร ยังได้มีการจัดทำโครงการสินเชื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน สำหรับลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2563 และ ปี 2564 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ด้านล่าง
สินเชื่อในการดำรงชีพ หรือ เหตุฉุกเฉินจำเป็นในครัวเรือน
- วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท
- ดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี ในเวลา 6 เดือนแรก แต่เดือนที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR ร้อยละ 6.5 ต่อปี ข้อมูล ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2563
สินเชื่อฟื้นฟู และ พัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประภัยธรรมชาติ หรือ ภัยพิบัติ เพื่อเป็นค่าลงทุนสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือ โรงเรือนการเกษตร, ซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตร หรือ ใช้เพื่อฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหาย
- วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท
- อัรตราดอกเบี้ย MRR-2
สำหรับพี่น้องชาวเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และ มีความประสงค์ ต้องการขอรับสินเชื่อ สามารถติดต่อสอบถามขอข้อมูลกับทาง ธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร ได้ทุกสาขาในพื้นที่ประสบภัย