เปิดสาเหตุที่ตรวจพบเชื้อโควิด 19 หลังจากกักตัวแล้ว 14 วัน
เปิดเผยจากหมอยง เกี่ยวกับความเป็นไปได้ 4 ปัจจัยในกรณีที่ตรวจแล้วพบเชื้อไวรัสโคโรน่า หลังจากกักตัว 14 วันแล้ว ซึ่งได้รับการยืนยันออกมาแล้วว่า คนที่มีชื้อโควิด-19 หลังจากกักตัวแล้ว 14 วันคือ ซากเชื้อ ไม่ได้มาจากการติดเชื้อในประเทศแน่นอน
หลังจากที่มีข่าวออกมาว่า มีคนติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกเกี่ยวกับข้าวนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยไม่มีคนติดเชื้อในประเทศติดต่อกัน 86 วันแล้ว ทางด้าน ศบค. ได้ออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวที่มีหญิงไทย 2 รายที่เข้าข่าย รายแรกเป็นการพบซากเชื้อ ไม่สามารถทำให้เชื้อติดต่อได้ ส่วนอีกรายยังคงต้องรอผลจากแล็บก่อนว่าเป็นเหมือนกับรายแรกหรือไม่
ทางด้านหมอยง ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ได้เปิดเผยข้อมูลผ่านทาง Facebook ส่วนตัวให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ 4 ปัจจัย ที่ทำให้หญิงไทยคนดังกล่าว มีซากเชื้อ
4 ปัจจัยที่ทำให้มีซากเชื้อหลังกักตัว 14 วัน
- การตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 หลังจากกักตัวครบ 14 วัน มีความเป็นไปได้ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อในขณะที่อยู่ในสถานกักกัน ทำให้การอยู่ในสถานกักกันต้องมีความเคร่งครัด ไม่ให้มีการพบปะกันระหว่างคนที่กักตัว หรือ บุคคลภายนอก
- คนอาจจะติดเชื้อมาจากต่างประเทศ แต่พอมาถึงประเทศไทยแล้วมีเชื้อน้อยมาก จนทำให้ตรวจไม่พบ แต่พอมาตรวจทีหลังกลับพบเชื้อ
- ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะอยู่ที่ 2 ถึง 7 วัน บางรายอาจพบได้ถึง 14 วัน และในบางรายที่มีภูมิคุ้มกันสูงอาจจะมีโอกาสพบได้ถึง 21 วัน เพราะฉะนั้นคนที่ถูกกักตัวอยู่ใน State Quarantine แล้ว 14 วันมีการแนะนำให้ไปกักตัวต่อที่บ้านเพิ่มอีก 14 วัน
- โอกาสที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อในประเทศไทย มีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะในประเทศไทย ไม่มีผู้ติดเชื้อติดต่อกันมามากกว่า 86 วันแล้ว
การระบาดในประเทศไทยรอบแรกทางหมอยง ยังได้ออกมาบอกอีด้วยว่า ทางเราได้ทำการศึกษาร่วมกับสำนักการแพทย์ และ สำนักอนามัย ในกรุงเทพฯ ได้พบว่าก่อนจะกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อแล้ว หลังจากนั้นได้มีการติดตาม และได้ตรวจพบเชื้อในเวลาต่อมา แต่เชื้อมีปริมาณที่น้อยมาก ในการติดตามระยะยาวที่ได้ทำการศึกษานั้น จำนวน 212 ราย พบว่าในช่วง 4 ถึง 12 สัปดาห์หลังจากที่มีอาการ และ ผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว สามารถตรวจพบเชื้อได้ ประมาณร้อยละ 6.6 ของผู้ป่วย หากตรวจพบเชื้อหลังจากมีอากาศ 36 ถึง 105 วัน จะพบเชื้อในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นการพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมไปถึงการตรวจปริมาณของไวรัส มีจำนวนน้อย และ โอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยตามไปด้วย ดังนั้นข้อมูลในการระบาดรอบแรก ที่ได้ทำการศึกษา ถึงแม้จะตรวจพบเชื้อ ก็ไม่พบว่ากระจายไปสู่ผู้อื่นเลย