ศบศ เห็นชอบมาตรการเร่งด่วน กระตุ้นเศรษฐกิจ
มาตรการจากทางด้าน ศบศ. ที่เตรียมชง ครม. ให้เปิดรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม ซึ่งจะเปิดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการจ้างงาน เน้นไปที่เด็กจบใหม่ เพื่อเป็นการอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย และ ยังมีการเร่งทำรายละเอียดก่อนที่จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี
จากการรายงานของมติที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมี พล.อ. ประยุทย์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในที่ประชุม โดยในที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการ ศบศ. ที่มีอำนาจในการจัดการทำข้อเสนอ และ กรอบแนวทางสำหรับมาตรการเศรษฐกิจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน รายละเอียดดูเพิ่มเติมได้ด้านล่าง
- ระยะที่ 1 เป็นระยะเร่งด่วน เพื่อเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- ระยะที่ 2 ระยะปานกลาง และ ระยาว เพื่อเป็นการยกระดับ และ เป็นการวางรากฐานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต ของประเทศไทยเรา ภายหลังจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ้นสุดลง
ในที่ประชุมยังได้ลงมติเห็นชอบกรอกข้อเสนอ ของมาตรการเศรษฐกิจ ในระยะเร่งด่วน จะทำโดยการส่งเสริมการจ้างงาน ให้กับผู้ที่จบการศึกษาใหม่ ควบคู่ไปกับการรักษาการจ้างงานภายในประเทศไทย นอกจากนี้การสนับสนุนภาคเศรษฐกิจจริง ทั้งภาคการผลิต และ การบริหาร ให้สามารถกลับมาฟื้นตัวและสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และ ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย
4 มาตรการ ที่ถูกเสนอในระยะเร่งด่วน
- มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว เราเที่ยวไปด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ขยายสิทธิ์การจองพัก จาก 5 คืน เป็น 10 คืน หรือจะเป็นการเพิ่มค่าท่องเที่ยวจากเดิม 1,000 บาท เพิ่มเป็น 2,000 บาท นอกจากนี้ยังมีการวางแผนมาตรการนำร่องเพื่อเปิดรับท่องเที่ยวเฉพาะพื้นที่ อย่างภูเก็ตโมเดล อย่างรอบคอบ และ รัดกุม
- มาตรการสนับสนุนภาคธุรกิจ และ SMEs
- มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้ที่จบใหม่โดยภาครัฐบาล และ เอกชน ผ่านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ทั้งแรงงานในระบบ และ แรงงานนอกระบบ และ การอุดนหนุค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษา สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย
- มาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมระยะใหม่ และ มาตรการ ในการเปิดรับผู้ใช้สิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเติม