สรุปนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
- นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้งดจ่ายปันผลและการซื้อหุ้นคืน เพราะเชื่อว่าจะช่วยระบบธนาคารพาณิชย์ให้แข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว และช่วยให้เสาหลักของเศรษฐกิจฟื้นตัว หลังจากรายได้ชะลอลดลง
- ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนการบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะเวลา 1-3 ปีข้างหน้า โดยให้ความสำคัญกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจในอนาคต และศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และในระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ธปท. ให้มีมาตรการเพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารพาณิชน์จะรักษาระดับเงินกองทุนให้มั่นคงและรองรับกับสภาพธุรกิจได้ 2 ประเด็น ดังนี้
- ให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผล*ระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563
*การงดจ่ายเงินปันผลที่กล่าวมานั้นคือเงินปันผลเฉพาะกาล ไม่ใช่การจ่ายเงินปันผลรายปีที่สามารถพิจารณาจ่ายตามสมควร - ให้ธนาคารพาณิชย์งดการซื้อหุ้นคืน
- ให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผล*ระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563
- แน่นอนว่ากรณีการงดการจ่ายปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานปี 2563 และงดซื้อหุ้นคืน อาจทำให้มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนที่คาดหวังว่าจะได้เงินปันผลจากการถือหุ้นธนาคาร แต่หากมองในฝั่งราคาหุ้นอาจจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น และสามารถเสริมความเข้มแข็งให้กับสถาบันทางการเงินในระยะยาวได้
- แนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น ถือว่าสอดคล้องกับความเห็นและแนวทางที่เสนอโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอังกฤษ เป็นต้น เพื่อรองรับสถานการณ์เสี่ยงต่างๆ ทั้งภาวะวิกฤตระดับโลก โดยเบื้องต้นมีการกำหนดนโยบายให้ ตัวอย่างดังนี้
- IMF ออกแถลงการณ์สนับสนุนการงดจ่ายเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนในช่วงนี้
- ยุโรป แนะนำว่าไม่ให้จ่ายเงินปันผลและไม่ให้ซื้อหุ้นคืนจนถึงเดือนตุลาคม 2563
- อังกฤษ ห้ามจ่ายเงินปันผลและไม่ให้ซื้อหุ้นคืน
- ออสเตรเลีย ขอให้ดูผล stress test ก่อนสถาบันการเงินพิจารณาจ่ายเงินปันผล
- แคนาดา ห้ามเพิ่มจำนวนเงินที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้
- นิวซีแลนด์ งดซื้อหุ้นคืนและงดการจ่ายเงินปันผลในช่วงนี้
- การมองว่าธนาคารพาณิชย์ควรให้น้ำหนักกับการสะสมทุนให้เข้มแข็งนั้นก็เพื่อการรองรับเหตุการณ์ต่างและส่งผลดีต่อระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งในไทยและทั่วโลก ดังนี้
- เพื่อรองรับเหตุการณ์เสี่ยงในภาวะวิกฤตระดับโลก ตลอดจน
- เพื่อให้สามารถทำหน้าที่หลักในการให้สินเชื่อกับภาคธุรกิจและครัวเรือน
- รับมือกับภาระการตั้งสำรองสำหรับหนี้ด้อยคุณภาพที่จะเพิ่มขึ้น ด้วยการงดกิจกรรมอื่นๆที่กระทบต่อเงินกองทุน
- ส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ด้วยผลตอบแทนที่มีโอกาสเพิ่มขึ้น เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย
- ในปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีระดับเงินกองทุนที่เข้มแข็ง
- ณ สิ้นเดือนเมษายน 2563 ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,616,162 ล้านบาท (สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ 18.9% = มีความเข้มแข็งกว่าเกณฑ์เงินกองทุนที่ต้องดำรงขั้นต่ำของ ธปท. ที่ 11%
- ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังมีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง ซึ่งสามารถใช้เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจตามปกติ
- สามารถรองรับการชำระคืนเงินฝากแก่ประชาชน ตลอดจนหุ้นกู้ให้แก่นักลงทุน โดยระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีสินทรัพย์สภาพคล่องที่ใกล้เคียงเงินสด
- โดยสถานการณ์ปัจจุบันทั้งภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีเงินกองทุนของธนาคารที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยอาจขึ้นไปสูงถึง 10% จึงมีความจำเป็นที่ธนาคารจะต้องเตรียมกองทุนสำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง