“Banner Ads” สำคัญอย่างไรต่อการทำการตลาดบนเว็บไซต์
- หลายคนอาจจะสงสัยว่า แบนเนอร์ คืออะไร? หากอธิบายอย่างง่ายๆ คือ การทำรูปภาพขนาดต่างๆ (มีหลากหลายขนาด แต่ไม่ค่อยนิยมใช้ขนาดใหญ่มาก) แล้วทำการเชื่อมลิงก์ไว้กับรูปภาพแบนเนอร์นั้น เมื่อมีคนเข้ามาคลิกแบนเนอร์ก็จะลิงก์ไปยังหน้าขายสินค้าหรือบริการ
- ซึ่งแบรนด์ร้านค้าหรือบริการบนออนไลน์ส่วนใหญ่มีแบนเนอร์บนเว็บไซต์กันเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าส่วนหนึ่งคือการดึงดูดให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาในเว็บไซต์ของคุณเกิดความสนใจและตัดสินใจคลิก โดยปกติแบนเนอร์มักจะใช้ในการขายสินค้าบนออนไลน์นั่นเอง
5 เทคนิคการทำแบนเนอร์ให้เหมาะสมกับเว็บไซต์
- เลือกคำในการโฆษณา หรือประโยคที่ใช้ในรูปแบนเนอร์ ให้เหมาะสมและน่าสนใจ
- อาจจะมีการใช้ตัวเลขบนแบนเนอร์ ตัวอย่างเช่น (ภาพแบนเนอร์จากแคมเปญ JMONEY สินเชื่อส่วนบุคคล ในระบบ ACCESSTRADE)
- การใช้คำที่กระชับเข้าใจง่าย และเมื่อมีโปรโมชั่นพิเศษให้ใช้คำที่กระชับ น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น (ภาพแบนเนอร์จากแคมเปญ Konvy ในระบบ ACCESSTRADE)
- การสรุปประเด็นสำคัญครบถ้วน ดึงดูดให้สนใจ ตัวอย่างเช่น (ภาพแบนเนอร์จากแคมเปญ ASIA DIRECT BROKER (ADB) ในระบบ ACCESSTRADE)
- มีการใช้คำประเภท “Call to Action” ตัวอย่างคำว่า “คลิกซื้อที่นี่” , “สมัครเลย!”, “ช้อปเลย”, “จองเลย”เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคลิก และซื้อสินค้าในที่สุด ตัวอย่างเช่น (ภาพแบนเนอร์จากแคมเปญ GoWabi ในระบบ ACCESSTRADE)
- การใช้เลือกขนาด/สี/รูปแบบฟอนต์/รูปภาพของแบนเนอร์ให้ดึงดูด น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น
- ตำแหน่งการวางแบนเนอร์บนเว็บไซต์ สัมพันธ์กับการกำหนดขนาดของภาพ ควรมีการพิจารณาตำแหน่งที่ว่างบนเว็บไซต์ของคุณว่ามีส่วนที่สามารถนำแบนเนอร์ไปแปะได้ หรือไม่อาจจะนำมาแปะไว้ด้านขวาขอหน้าเว็บ หรือด้านบน (header) เพื่อดึงดูดความสนใจก็ได้ซึ่งต้องดูขนาดของภาพที่เหมาะสมด้วย แต่สำหรับนัก Affiliate ของ ACCESSTRADE สามารถถ copy code banner มาใช้ได้เลย เพราะมีการกำหนดขนาดและออกแบบไว้ในระบบแล้ว (เมื่อคุณกำลังอ่านบทความในหน้านี้สามารถดูตัวอย่างแบนเนอร์ด้านบนของเว็บไซต์ของเราได้)
- ลิงก์ที่ใช้ในการเชื่อมไปไม่ว่าจะไปยังหน้าขาย (Sale page) หน้าสมัคร หรือหน้า Landing Page ใดๆ อาจทำการย่อลิงก์ก่อน หรือใส่ utm_source เพื่อติดตาม (tracking) ว่ามีกี่คนที่คลิกแบนเนอร์แล้วทำการซื้อสินค้า เพื่อวัดผลว่าแบนเนอร์มีประสิทธิภาพหรือไม่ และสามารถนำไปปรับปรุงในการทำแบนเนอร์ในครั้งต่อๆไปได้อีกด้วย ซึ่งในระบบ ACCESSTRADE สามารถใส่ sub_id เพื่อทำการติดตามได้เช่นกัน