ผู้ป่วยเบาหวาน ควรระมัดระวัง และ หลีกเลี่ยงไปสถานที่เสี่ยงในช่วง โควิด-19 ระบาด
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยนั้น อัตราการติดเชื้อของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ผลกระทบของการติดเชื้อไวรัส corona-virus ก็คือการทำให้ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ อาจจะไม่มีอาการอะไรแสดงออกมาเลย หรือ บางรายอาจจะมีอาการหนัก ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 บางราย ปอดอาจจะติดเชื้อ หรือ ทำให้เกิดภาวะไตล้มเหลวได้ ส่วนการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถติดต่อได้จาก เสมหะ, สารคัดหลั่ง, ไอ, จาม หรือ พูดคุย ทางด้านองค์การอนามัยโลก นั้นได้ออกมาประกาศเกี่ยวกับการแพร่ระขาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่าเป็นการระบาดในแบบ Pandemic ซึ่งเป็นการระบาดไปทั่วโลก ในปัจจุบันยังไม่มี วัคซีนที่สามารถใช้รักษา หรือ ป้องกันโควิด-19 ได้แบบ 100% สำหรับคนที่ติดเชื้อโควิด จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เช่น ไอ, จาม, มีไข้, หายใจไม่สะดวก, หายใจแล้วเหนื่อย, อ่อนเพลีย และ ปวดเมื่อยตามตัว
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อาจจะมีอาการ หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสไป ประมาณ 3-7 วัน แต่บางรายโดยเฉพาะคนที่แข็งแรง อาจจะใช้เวลาฟักเชื้อถึง 14 วัน ถึงจะมีการแสดงอาการ แต่ในช่วงเวลาฟักเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ สามารถแพร่ะกระจายเชื้อให้กับผู้อื่นได้ สำหรับคนทั่วไปที่สามารถติดเชื้อนี้ได้นั้น มีเปอร์เซ็นในการติดเชื้อถึง 80% อาการของเชื้อไวรัส COVID-19 อาจจะมีอาการไม่รุนแรงเหมือนกับอาการไข้หวัดทั่วไป ทำให้หลายๆคนไม่คิดว่าตัวเองติดเชื้อไวรัส แต่พอมาทราบอีกทีว่าตัวเองติดเชื้อ บางทีเชื้อก็อาจจะรามเข้าปอดไปแล้ว ทำให้เป็นการยากที่จะรักษา
คนที่มีความเสี่ยงแล้วมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าคนอื่น เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็คือ คนที่มีโรคประจำตัว ยกตัวอย่างเช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคหอบหืด ผู้ป่วยประเภทนี้ เมื่อติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการที่รุนแรงกว่าผู้ป่วยอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เมื่อมีการติดเชื้อโควิด ปัญหาหลักก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาล จะทำได้ยาก น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยประเภทนี้ จะผันผวน และ ควบคุมได้ยาก ทำให้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้
- ภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- เชื้อโควิด สามารถเติมโตได้ดี ในภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง
การติดต่อของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นสามารถติดต่อได้จากการพูดคุย การไอ หรือ จาม ไวรัสสามารถอยู่ได้ในอากาศทั่วๆไป เป็นชั่วโมง หรือ เป็นวัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ยิ่งมีอากาศที่เย็นมากๆ เชื้อไวรัสสามารถอยู่ได้นาน นอกจากนี้ เชื้อไวรัสยังสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสัมผัสของวัสดุ ดังนั้นเราควรที่จะ ป้องกันด้วยการล้างมือบ่อยๆ และ ไม่ควรเอามือไปขยี้ตา
ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ในช่วงโควิด-19 ระบาด
- หลีกเลี่ยงในการใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า และ ควรล้างมือให้สะอาด ก่อนที่จะนำไปสัมผัสใบหน้า
- ควรทำความสะอาดสิ่งของ หรือ บริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ
- ล้างมือบ่อยๆ
- เวลาไอ หรือ จาม ควรนำต้นแขน หรือข้อพับแขนมาปิดบริเวณปาก และ จมูก
- ไม่ควรใช้มือปิดเนื่องจากอาจจะมีเชื้อไวรัสติดอยู่ จากที่คุณไปสัมผัสวัตถุหรือ สิ่งของ ยกตัวอย่างเช่น มือถือ เป็นต้น
- ถ้ารู้สึกว่าตัวเอง มีอาการ หรือ สงสัยว่าจะป่วย แนะนำให้นอนพักอยู๋บ้าน และ โทรศัพท์เพื่อขอคำแนะนำได้ที่ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 1422 หรือ สถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่หมายเลข 1669