เปิดราชชื่อ 28 จังหวัดเขตควบคุมสูงสุด ต้องใช้เอกสารในการเดินทาง

เปิดเอกสารสำหรับใช้เดินทางข้ามจังหวัดเขตควบคุมสูงสุด ต้องกรอกอะไรบ้าง

อีกหนึ่งคำถามที่ถูกถามกันเข้ามามากเนื่องจากมีประชาชนคนไทยหลายๆคนมีความจำเป็นจะต้องเดินทางข้ามจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หลายๆคนมีคำถามว่าจะต้องกรอกเอกสารอะไรบ้าง หรือต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง สำหรับการเดินทางข้ามจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด

พื้นที่ควบคุมสูงสุด ณ ปัจจุบันมีทั้งหมด 28 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ ตาก, นนทบุรี, ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, นครนายก, กาญจนบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, สุพรรณบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, สมุทรปราการ, จันทบุรี, ชลบุรี, ตราด, ระยอง, ชุมพร, ระนอง และ กรุงเทพมหานคร

กรณีที่มีการกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัดดังกล่าว ทางด้านนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกมายืนยันวา ไม่มีการล็อกดาวน์ในประเทศ แต่จะมีพื้นที่ที่ถูกควบคุมสูงสุดเป็นมาตรการของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัด จะมีการกำหนดข้อกำหนดและดูแลอย่างเข้มงวด ได้มีการประกาศออกมาโดยมีเนื้อหาสาระสำคัญให้ประชาชนงด หรือชะลอการเดินทางข้ามเขตจังหวัดซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น ซึ่งจะต้องแสดงเหตุผล และ หลักฐานต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน รวมไปถึงการเข้ารับการตรวจคัดกรอง และ ต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด ตอนนี้ได้มีการเผยแพร่เอกสารในการลงทะเบียนรับรองความจำเป็นในการเดินทางข้ามเขตจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุด จากจังหวัดนครปฐม โดยให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดไฟล์เพื่อกรอกเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่ได้เซ็นรับรอง

เอกสารในการลงทะเบียนรับรองความจำเป็นในการเดินทางข้ามเขต เนื้อหาภายในจะเป็นการกรอกข้อมูลส่วนตัวเช่น ชื่อ, นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์ติดต่อ, เหตุผลที่จำเป็นในการเดินทางข้ามขตจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุด, เดินทางจากพื้นที่ ไปยังสถานที่ไหน เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ขอลงทะเบียนรับรองความจำเป็นในการเดินทางข้ามเขตควบคุมสูงสุด จะต้องลงชื่อยืนยันว่า “ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความจริงทุกประการ หากมีข้อความอันเป็นเท็จยินยอมจะให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งในทางแพ่ง และ ทางอาญา และยินยิมจะปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดต่อตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ มาตรการตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอย่างเคร่งครัด”