รายละเอียดการเรียกเก็บภาษีคริปโต จากกรมสรรพากร

แจงรายละเอียดการเก็บภาษีคริปโต จ่ายเฉพาะส่วนกำไร แม้ผลรวมทั้งปีจะขาดทุน

กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ทันที ภายหลังมีการแจ้งว่าประเทศไทยจะมีการเก็บภาษีคริปโตเกิดขึ้น ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับนักลงทุนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากกับข่าวการเก็บภาษีการเทรดคริปโตดังกล่าว โดยเฉพาะนักลงทุนรุ่นใหม่ที่นิยมเข้าเทรดเหรียญคริปโตในกระดานเทรนด ทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ กลายเป็นกระแสที่ร้อนแรงมากๆในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา จากการประกาศล่าสุด ว่าจะมีการเก็บภาษีคริปโต ทางกรมสรรพากรได้ออกมาประกาศเรียกเก็บภาษีคริปโตตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งจากการประกาศออกมา ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เป็นจำนวนมากบนโลกโซฌชียบมีเดียหลายแพลตฟอร์มกับมาตรการ ภาษีคริปโต 15%

ลาสุดที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี และโฆษกกรมสรรพากร ได้ออกมาเปิดเผยถึงมาตรการภาษีคริปโตผ่านรายการ อธิบายเกี่ยวกับแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ได้จาการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต รวมถึง NFT อื่นๆ โดยมีการระบุว่า การคำนวณและจัดเก็บภาษี เป็นการคิดจากฐานของภาษีเงินได้ ในการนำไปซื้อขาย หรือ ทำธุรกรรมคริปโตในทุกรายการ หรือ Transactions ที่มีกำไรเป็นเงินสด ยกตัวอย่างเช่น

ผู้เสียภาษีทำการแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน 10 นรายการในปีนั้น โดยขายเหรียญเป็นกำไรเงินสดเป็นเงินบาท 5 รายการ รวมเป็นเงิน 2 แสนบาท แต่อีก 5 รายการ ขายเหรียญแล้วขาดทุน 5 แสน บาทรวมทั้งปี ผู้เสียภาษีขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนรวม 3 แสนบาท ภาษี 15% นั้นจะต้องระบุเงินได้เพื่อเสียภาษีจากกำไร 2 แสนบาทอยู่ดี ถึงแม้ยอดรวมทั้งปี จะขาดทุน หรือแม้ว่ายังไม่ได้ถอนเงินบาทออกมาจากกระดานเทรดบนแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลก็ตาม เนื่องจากทางกรมสรรพากร ถือว่าการซื้อขายและกำไรเกิดขึ้นแล้ว แม้ว่านักลงทันเจ้าของบัญชีเทรดนั้น ยังไม่ได้ถอนเงินออกมาก็ตาม

ในอีกมุมนึงทางกรมสรรพากร ยังแจ้งว่าจะมีการนำ Big Data และ Data Analytic มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเส้นทางการเงินและการลงทุนของนักลงทุน โดยหากผู้เสียภาษีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียภาษีไม่ถูกต้อง ผู้เสียภาษีจะต้องทำการยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าการยื่นแบบเสียภาษีถูกต้องตามความเป็นจริง หรือแสดงเงินได้น้อยกว่าความเป็นจริงหรือไม่ หากจำนวนรายได้กำไรที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า หรือ เกิดขึ้นต่ำกว่าก็ต้องชำระส่วนต่าง ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้อาจจะต้องเสียดอกเบี้ยอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนในส่วนที่ยื่นขาด ตอนนี้ทางกรมสรรพากรกำลังประสานงานร่วมกับกระดานเทรดต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการซื้อขาย รายได้และกำไรของนักลงทุนเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำส่งข้อมูลภาษีของผู้ซื้อและผู้ขายให้กับกรมสรรพากร

กรมสรรพากรเดินหน้าเรียกเก็บภาษี Capital Gain จากคริปโตเคอร์เรนซี ในกรณีซื้อขายแลกเปลี่ยน รวมถึงการชำระค่าสินค้า หรือ บริการ โดยกำหนดให้มีการเสียภาษีโดยหัก ณ ที่ จ่าย 15% ขณะเดียวกันมีผู้ที่ได้รับรางวัลจากการชิงโชคก็จะต้องเสียภาษีในส่วนนี้ด้วยจำนวน 5% สำหรับนักลงทุนที่มีการฝากเหรียญเพื่อกินดอกเบี้ย ก็จะต้องมีการจ่ายภาษีจำนวน 15% ด้วยเช่นเดียวกัน หากมีการรับมรดกยกเว้นภาษีด้านนิติบุคคลธรรมดา ที่เกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตาม 7 ข้อด้านล่าง

  1. กำไรจากการซื้อขายคริปโต หรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี ถือว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 ผู้ขายมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ขณะที่ผู้ซื้อมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่ จ่าย 15%
  2. การนำคริปโตเคอร์เรนซี ไปชำระค่าสินค้าหรือบริการ โดยมูลค่ามากกว่าตอนที่ได้มา ถือว่าเป็นเงินได้ตม มาตรา 40 ผู้ที่ชำระค่าสินค้า หรือ บริการด้วยคริปโตเคอร์เรนซี มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ขณะที่ผู้รับชำระค่าสินค้า หรือ บริการด้วยคริปโตเคอร์เรนซี จะต้องหักภาษี ณ ที่ จ่าย 15%
  3. กรณีได้รับจากการให้โดยไม่มีค่าตอบแทน ถือว่าเป็นเงินได้ตาม 40 (8) โดยแบ่งเป็น กรณีทั่วไป ผู้ได้รับต้อนยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ แบบ ภ.ง.ด. 94 สำหรับกรณีผู้ให้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ขณะที่บางกรณีเป็นเงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่ จ่ายไว้แล้ว หรือ Final Withholding Tax กรณีได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ต้องยื่นแบบ แต่ตอนขายต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ขณะที่ผู้จ่ายเงินรางวัลชิงโชค เป็นคริปโตเคอร์เรนซี 1,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่ จ่าย 5%
  4. ได้รับทางมรดก ถือว่าเป็นเงินได้ตาม 40 (8) ตอนได้รับมรดก และ ตอนขายได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี
  5. กรณีได้รับจากการทำงาน ถือว่าเป็นเงินได้ทุกประเภท ผู้ได้รับมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ถ้ามีเงินได้ตามาตรา 40 (5)-(8) ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 กรณีนี้อาจจะต้องหักภาษี ณ ที่ จ่าย
  6. กรณีขุดเหรียญ หรือ Mining ถือว่าเป็นเงินได้ตาม 40 (8) ผู้ขุดชนะ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ อบบ ภ.ง.ด. 94
  7. กรณีการฝากเหรียญเพื่อเอาดอกเบี้ย หรือ ที่เรียกกันว่า Staking ถือว่าเป็นเงินได้ตาม 40 (4) (ช) ผู้ฝากมีหน้าที่ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ตัวกลางรับแลกเปลี่ยน หรือ Exchange มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่ จ่าย 15%

ในส่วนของการตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้ ที่มาจากกำไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซี รวมไปถึงสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นไปตามหลักปฎิบัติปกติของกรมสรรพากร ซึ่งผู้เสียภาษีมีหน้าที่ประเมินตัวเอง และ ต้องแจ้งข้อมูลรายได้ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่ามีเงินได้จากทางไหนบ้างให้ครบถ้วน

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *