อัพเดทมาตรการช่วยเหลือ จาก ธปท.

เปิดมาตรการพักชำระหนี้ ระยะที่ 2 จาก ธปท.

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันทำให้หลายๆองค์กร และ บริษัทในประเทศไทยถึงกับต้องปิดตัวลง และ ยังมีอีกหลายบริษัทที่ให้พนักงานลาออก ทำให้เป็นคนตกงาน เนื่องจากพิษของโควิด-19 สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ สถาบันการเงินต่างๆ ได้มีมาตรการออกมาช่วยเหลือลูกหนี้

ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะดีขึ้นตามลำดับ จนหลายๆกิจการ และ หลายๆกิจกรรม เราสามารถทำได้เกือบจะเป็นปกติแล้ว แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้มีรายได้ไม่พอ ที่จะนำไปชำระหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ ทางรัฐบาลไทยเลยมีมาตรการออกมาช่วยเหลือประชาชน แต่มาตรการเหล่านี้ ได้สิ้นสุดไปแล้วในเดือน มิถุนายน 2563 เพราะเหตุนี้ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีมาตรการออกมาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ในระยะที่ 2 ให้สถาบันการเงินต่างๆ ทำการผ่อนปรนนโยบาย ตามขั้นต่ำที่กำหนดเอาไว้ เพื่อที่จะช่วยบรรเทาความเดือนร้อนให้กับลูกหนี้ต่ออีกระยะด้วย มาตรการพักชำระหนี้ ระยะที่ 2 ซึ่งจะมีผลระยะยาวไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

อัพเดท มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 2 จากสถานการณ์ COVID-19

ลูกหนี้ สามารถเลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไปจนถึง 31 ธันวาคม 2563 

  • บัตรเครดิต: เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือ ให้ขยายเวลาชำระหนี้ ดอกเบี้ยไม่เกิน 12% (ให้พิจารณาใช้วงเงินที่เหลือ ตามความสามารถในการชำระหนี้)
  • สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีวงเงินหมุนเวียน เช่น บัตรกดเงินสด: ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้ หรือ เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือ ให้ขยายเวลาชำระหนี้ ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% (ให้พิจารณาใช้วงเงินที่เหลือ ตามความสามารถในการชำระหนี้)
  • สินเชื่อส่วนบุคคล และ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ: ให้ทำการลดค่างวดอย่างน้อย 30% และ ให้คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน 22%
  • สินเชื่อเช่าซื้อ: ไม่จำกัดวงเงิน จากเดิมมอเตอร์ไซค์ ไม่เกิน 35,000 บาท และ รถยนต์ทุกประเภท ไม่เกิน 250,000 บาท ให้เลื่อนชำระค่างวด ทั้งเงินต้น และ ดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ ลดค่างวดโดยให้ขยายเวลาการชำหนี้
  • สินเชื่อบ้าน: ไม่จำกัดวงเงิน จากเดิม ไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้ทำการเลื่อนชำระค่างวด ทั้งเงินต้น และ ดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และ ให้พิจาณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ ลดค่างวดและให้ขยายเวลาชำระหนี้

*ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามสัญญา หรือ ตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือ มาตรการอื่นๆ ให้ผู้บริหารทางการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้

**ในส่วนของผู้บริหารทางการเงิน จะต้องทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ในลักษณะเดียวกับคลินิกแก้หนี้สำหรับลูกหนี้ที่เป็น NPL

ปรับลดเพดานดอกเบี้ย มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2563

  • ปรับลดอัตราดอกเบี้ย บัตรเครดิต จากปกติ 18% ลดเหลือ 16%
  • ปรับลดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีวงเงินหมุนเวียน จากปกติ 28% ลดเหลือ 25%
  • ปรับลดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ผ่านชำระเป็นงวด จากปกติ 28% ลดเหลือ 25%
  • ปรับลดสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ จากปกติ 28% ลดเหลือ 24%

ขยายวงเงินให้กับผู้ให้บริการทางเงิน เพื่อทำการพิจารณาขยายวงเงินให้กับลูกหนี้ที่ชำระหนี้ดีต่อเนื่อง และ มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติมเป็น 2 เท่า จากเดิม 1.5 เท่า ของรายได้ สำหรับลูกหนี้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ต่อเดือนเป็นการชั่วคราว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2563

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *