เปิดปัญหาของแรงค่าแรงเท่าเดิม

ปัญหาของประเทศไทยตอนนี้ ราคาสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้น

เปิดปัญหาที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้เกี่ยวกับปัญหาราคาสินค้าในประเทศไทยที่ปรับตัวสูงขึ้น เลยมีคนไทยหลายคนออกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งในปัจจุบันไไม่พอต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างแน่นอน ปัจจุบันรัฐบาลได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับสาเหตุที่ไม่สามารถปรับค่าแรงขึ้นได้ เป็นเพราะมีปัจจัยทางโครงการของเศรษฐกิจไทย เลยมีคำถามออกมาจากหลายๆฝ่ายเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยนั้นมีผลกระทบเยอะมากน้อยแค่ไหน

เริ่มต้นปี 2565 ประเทศไทยก็มาพร้อมกับข่าวที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนักอย่างข่าวของการปรับขึ้นราคาสินค้าหลายประเภท โดยเฉพาะที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้อย่างการปรับราคาขึ้นของเนื้อหนู ที่ปรับสูงมากขึ้นตั้งแต่ 2564 ประมาณ 20 บาท ถึง 25 บาท ส่งผลให้อาหารสำเร็จรูปหลายชนิด และ ราคาอาหารตามสั่ง ต้องปรับตัวขึ้นตามไปด้วย แต่มีคำถามออกมาว่า ค่าครองชีพของคนไทย หรือจะเรียกว่ารายรับ ยังคงเท่าเดิม จากการตรวจสอบเบื้อต้น ประเด็นดังกล่าว กลายมาเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ โดยมีการให้ความคิดเกี่ยวกับค่าแรงขึ้นต่ำของประเทศไทยที่ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ไม่ทันกับการเพิ่มตัวของค่าครองชีพ

โครสร้างเศรษฐกิจไทยที่มีการพึ่งพาอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า SMEs รวมไปถึงวิสาหกิจรายย่อย ทำให้การขึ้นค่าแรงค่าต่ำไม่ต่างอะไรจากการเพิ่มต้นทุนการผลิต ถุงแม้ว่าในปีนี้ ประเทศไทยจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนกับช่วงก่อนวิกฤตโควิด 19 ปัจจุบันเศรษฐกิจยังถือว่าอยู่ในภาวะหดตัว เนื่องจากมูลค่าต่ำกว่าช่วงปี 2562 หรือก่อนเกิดวิกฤต การปรับค่าแรงขั้นต่ำ ถือว่าเป็นการซ้ำเติมให้การดำเนินธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบนี้ยากลำบากหนักกว่าเดิมโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีสัดส่วนการจ้างงานที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำในสัดส่วนที่สูงรวมไปถึงธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ถึงแม้ว่าจะมีการปรับเพียงค่าแรงขั้นต่ำแต่ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจะมีผลให้ค่าแรงของแรงงานทั้งหมดเพิ่มขึ้นไปด้วย

ในส่วนของภาคธุรกิจส่งออกของประเทศไทย ที่มีสัดส่วนการส่งออกในปี 2562 เพียง 12.42% ของมูลค่าทั้งหมด ประการที่สำคัญของธรุกิจ SMEs คือการเป็นภาคส่วนที่ครองตำแหน่งการจ้างงานสูงสุด คิดเป็นสัดส่วน 69.48% ของการจ้างงานทั้งหมด จากตัวเลขผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ธุรกิจมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากตัวเลขผลกระทบของการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำครั้งล่าสุดปี 2561 การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ระดับ 1% อาจจะทำให้เกิดผลค่าแรงเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.31% และยังไปกระทบกับต้นทุนของภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วยขนาด 0.27% นอกจากนี้ยังมีส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นด้วยตัวเลข 0.18% ถึงแม้ว่าการเพิ่มค่าแรงจะมีส่วนช่วยให้อำนาจการซื้อของแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งการบริดโภาคภายใน และ การที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น แต่ปัจจัยทางโครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบัน ไม่อาจปฎิเสธได้ว่าการคงค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้ จะช่วยให้เครื่องยนต์หลักมีศักยภาพที่ดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และพาให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวกลับมาได้

 

 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *