เปิดแนวทางการดูแลป้องกันการติดเชื้อโควิด 19
กรมการแพทย์ได้ออกมาเปิดเผยถึงการปรับปรุงแนวทางในการรักษาดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 หลังจากที่มีการปรับปรุงมาแล้วหลายรอบ ซึ่งแต่ละรอบจะเป็นแนวทางการรักษาโควิด 19 ด้วยเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและการป้องกันเบื้องต้น เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ของแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งมีหลายส่วนที่ประชาชนควรจะต้องรับทราบ ซึ่งทาง ACCESSTRADE ประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวมาให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้น
อาการที่จะได้รับการตรวจหาเชื้อเพื่อเข้ารับการรักษา
- มีไข้ หรือ วัดอุณภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
- มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่สามารถรับรสได้ รวมไปถึงอาการหายใจเหนื่อย
- หายใจลำบาก มีอาการตาแดง ผื่นขึ้น และถ่ายเหลว
มีประวัติเสี่ยงในช่วงเวลา 14 วันก่อนจะเริ่มมีอาการป่วย
- สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด 19
- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่แพทย์สงสัยว่าเป็นโควิด
- เดินทางไปหรือมาจากที่อยู่อาศัยในประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 1 เดือนย้อนหลังนับจากวันที่ออกจากพื้นที่นั้น
- เดินทางไปยังสถานที่ชุมนุมหรือสถานที่เสี่ยง
- ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ
- พบผู้ที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป
4 กลุ่มอาการ ตามระดับความรุนแรง
ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่นๆ หรือ สบายดี (ผู้ป่วย สีเขียว)
- ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน
- ให้ยาฟ้าทะลายโจร ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง (ผู้ป่วยสีเหลือง)
- ให้พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์เร็วที่สุด
- หากตรวจพบเชื้อเกิน 7 วัน แต่มีอาการน้อยไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส
- ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือสถานที่รัฐจัดให้ 14 วัน
- หากเข้าเกณฑ์รักษาแบบ Home Isolation หรือ Community Isolation
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการปอดบวมเล็กน้อย และมีปัจจัยเสี่ยง ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี และ 7 กลุ่มเริ้อรัง (ผู้ป่วยสีส้ม)
- ให้รักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 14 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
- ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุดนาน 5 วันหรือมากกว่า
- ให้ corticosteroid ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง
ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมมี Hypoxia (resting O2 saturation น้อยกว่าหรือเท่ากับ 96%) มีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3% หรือภาพรังสีทรวงอก progression
- ให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นระยะเวลา 5 ถึง 10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก
- ให้พิจารณาให้ lopinavir/ritonavir 5-10 วันร่วมด้วยตามดุลยพินิจของแพทย์
สำหรัหญิงที่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 ถ้าแพทย์พิจารณาให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง โดยเป็นกรตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วย และ ญาติแต่ถ้ามีอาการปอดอักเสบ อาจจะพิจารณาให้ใช้ remdesivir ในกรณีที่ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกแบบ Vertical Transmission พบประมาณร้อยละ 2-5 และ ส่วนใหญ่ของทารกไม่เกิดอาการรุนแรง การรักษาจึงเน้นการรักษาแม่เป็นหลัก