อาการโควิดลงปอดเป็นอย่างไร

อาการโควิดลงปอด ใช้เวลากี่วันเชื้อถึงลงปอด ดูรายละเอียดได้ที่นี่

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยยังคงวิกฤต จากโควิดสายพันธ์อังกฤษที่สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้คนไทยหลายๆคนมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโควิด หลักๆเลยอาการโควิดลงปอดเป็นอย่างไร กี่วันเชื้อถึงลงปอดแล้วเป็นกันทุกคนไหม แล้วจะต้องรับการรักษาอย่างไร สำหรับอาการปอดอักเสบจากโควิดอันตรายหรือไม่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้านล่าง

อาการโควิดที่พบกันส่วนใหญ่ก็คือ มีไข้, เจ็บคอ และ ไอ จะมีอาการไอในช่วง 1-5 วันแรก และจะมีอาการไอถี่ขึ้นบวกกับหายใจเหนื่อยในช่วง 6-15 วันให้หลัง ซึ่งถ้าหากภูมิคุ้มกันร่างการแข็งแรงพอก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัส และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นอยากจะแนะนำให้ทำให้ร่างกายของคุณเองนั้นแข็งแรงอยู่เสมอ สำหรับความน่ากลัวของเชื้อไวรัสโควิด อยู่ตรงที่เชื้อไวรัสนั่นเอง ทำให้มีโอกาสเชื้อลงปอดได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในประเทศในขณะนี้ นอกจากจะเป็นสายพันธุ์ที่ติดเชื้อกันได้ง่ายๆแล้ว ยังตรวจพบว่า คนหนุ่มสาวมีอาการปอดอักเสบมากขึ้นอีกด้วย แถมบางรายยังไ่มีอาการป่วยแสดง หรือ ที่เรียกกันว่า ไม่แสดงอาการ เราจะรู้ได้ยังไงว่าโควิดลงปอดแล้ว หรือถ้าหากใครกำลังป่วยอยู่อยากจะแนะนำวิธีสังเกตตัวเองเพื่อเข้ารับการรักษา

โควิดลงปอดคืออะไร?

จากการค้นหาข้อมูลโดยปกติแล้ว การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหวัด, ไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด 19 จะแบ่งตำแหน่งติดเชื้อเป็นการติดเชื้อผ่านทางเดินหายใจส่วนบน และ การติดเชื้อผ่านทางเดินหายใจส่วนล่าง

  • การติดเชื้อผ่านทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ การติดเชื้อตั้งแต่หลอดลม, ลงไปถึงปอด จะเรียกว่าอาการโควิดลงปอด เป็นอาการที่มีความรุนแรงกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เนื้อเซลล์ปอดและถุงลมบางส่วนได้รับความเสียหาย ทำให้หายใจลำบาก ถ้าหากมีการ เอ็กซ์เรย์ (X-RAY) ปอดหรือการทำ CT Scan จะพบความเปลี่ยนแปลงในปอด และถ้าหากมีอาการรุนแรงมากจะถึงขึ้นเสียชีวิตได้
  • การติดเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือการติดเชื้อบริเวณปาก, คอ และ จมูก จะมีอาการไม่รุนแรงมาก ยกตัวอย่างเช่น มีน้ำมูก, เจ็บคอ และ ไอ

หากติดโควิดแล้วมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เชื้อไวรัสโควิดจะลงปอด

อาการโควิดลงปอดจากการเช็คข้อมูลในปี 2563 พบว่าผู้ป่วยโควิดเกือบ 80% ที่มีอาการไม่หนัก หรือ ไม่มีการแสดงอาการ บางคนอาจจะมีไข้ ไอ จามทั่วๆไป แต่เชื้อกลับไม่ลงปอด ในบางรายมีปอดอักเสบ แต่ไม่รุนแรง ในขณะที่ผู้ป่วย 20% มีเชื้อลงปอดและมีอาการที่รุนแรงขึ้น อยากไรก็ตาม สายพันธุ์โควิดที่กำลังระบาดในประเทศไทยอยู่ในตอนนี้ เชื้อมีความรุนแรงมากขึ้น สามารถอยู่ในร่างกายของเราได้นานขึ้น อีกทั้งยังสามารถจับผิลเซลล์มนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธ์ที่เคยระบาดใหญ่ในไทย ทำให้ผู้ป่วยมีปริมาณเชื้อในโพรงจมูกเยอะมากขึ้น และเมื่อหายใจเข้าไป โอกาสที่เชื้อลงปอดก็จะง่ายกว่าเดิม ทำให้ปัจจุบันตรวจพบผู้ติดเชื้อที่มีอาการปอดอักเสบเร็วขึ้นและมากขึ้น แม้แต่วัยรุนที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่แสดงอาการป่วย แต่เมื่อทำการ เอ็กซเรย์ปอดกลับตรวจเจฝ้าที่แสดงถึงภาวะปอดอักเสบ

การระบาดรอบใหม่ ของเชื้อไวรัสโควิด สายพันธุ์อังกฤษ จะพบว่าคนที่ติดเชื้อจะมีโรคปอดอักเสบร่วมกับไข้ไอ รวมไปถึงหอบเหนื่อยเพิ่มขึ้นประมาณ 30% ถึง 50% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาพบพทย์หลังได้รับเชื้อหรือเริ่มมีอาการ

อาการโควิดลงปอด มีลักษณะเป็นอย่างไร มีสัญญาญอะไรบ้าง

หลายๆคนมีข้อสงสัย เกี่ยวกับอาการโควิดลงปอด ซึ่งหายติดเชื้อแล้วจะมีระยะเวลาที่ลงปอดภายในกี่วันจากข้อมูลตรวจพบว่า เชื้อที่ลงปอดและมีอาการปอดอักเสบระยะต้น ในช่วง 5 วันหลังจากได้รับเชื้อมา หรือ เริ่มมีอาการ และ ปอดอักเสบในระยะที่ 2 จะอยู่ในช่วง 10-15 วัน ซึ่งจะแสดงอาการที่เป็นสัญญาณว่าเชื้อไวรัสอาจจะเข้าสู่ปอดแล้วก็คือ

  • มีอาการไอแห้ง และ มีอาการไอมากกว่าเดิม
  • หายใจแล้วเหนื่อยง่ายขึ้น สามารถสังเกตอาการได้จากตอนทำกิจกรรม หรือ อะไรก็ตามที่เคยทำได้ปกติ แต่ตอนที่เชื้อลงปอดเวลาทำแล้วจะรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าเดิม
  • หอบเหนื่อย และ มีอาการแน่นหน้าอก
  • หายใจติดขัด หายใจลำบาก เนื่องจากเชื้อที่ลงปอดจะทำให้เกิดการกัดระหว่างถุงลมปอด ทำให้สงผลต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน
  • เวลาพูดจะมีอาการติดขัด
  • ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง เพราะว่เชื้ออุดกั้นถุงลมปอด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไม่ดี ทำให้สงผลต่อออกซิเจนในเลือดลดน้อยลงกว่าปกติ

ถ้าหากมีอาการดังกล่าวควรรีบแจ้งแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากการระบาดรอบใหม่นี้ พบเชื้อลุกลามในปอดได้เร็วมากขึ้น โดยแพทย์จะทำการเอ็กซเรย์ปอด หรือ การทำ CT Scan เพื่อวินิฉัยภาวะปอดอักเสบก่อนทำการรักษา

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *