ปลดล็อกบัตรทอง 30 บาท ปรับใหม่ มีอะไรบ้าง?
- วันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณะสุข ได้มีการดำเนินการยกระดับระบบสวัสดิการการรักษาพยาบาล ด้วยการยกระดับระบบประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับผู้ถือบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยปรับเปลี่ยนให้สามารถเข้ารักษาพยาบาล หรือรักษาโรคที่ใดก็ได้ และยกเลิกการใช้ใบส่งตัวผู้ป่วย กรณีมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่รักษาพยาบาล โดยสรุปประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
สรุป 4 ประเด็นการยกระดับบัตรทอง 30 บาท
- ประชาชนสามารถรับรักษาพยาบาลที่ใดก็ได้ โดยเริ่มทดลองใช้กับกรุงเทพมหานครก่อน ซึ่งประชาชนสามารถรับบริการที่หน่วยบริการชุมชนอบอุ่น มีประมาณ 500 แห่งประกอบด้วย คลินิกชุมชนอบอุ่น และหน่วยบริการเฉพาะทางชุมชนอบอุ่นทุกแห่ง (*จากเดิมคือ สิทธิบัตรทองจะจับคู่กับหน่วยบริการประจำเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ต้องรักษาที่คลินิกที่กำหนด)
- เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ผู้ป่วยสามารถนัดหมายการเข้ารับบริการล่วงหน้าได้ มีการพัฒนาระบบร่วมกับแอพเป๋าตัง เริ่มให้บริการกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน และจะขยายไปยังกลุ่มผู้ป่วยนอกในอนาคต
- เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ผู้ป่วยสามารถนัดหมายการเข้ารับบริการล่วงหน้าได้ มีการพัฒนาระบบร่วมกับแอพเป๋าตัง เริ่มให้บริการกับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน และจะขยายไปยังกลุ่มผู้ป่วยนอกในอนาคต
- ผู้ป่วยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว หากผู้ป่วยไปรับบริการในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพแล้ว โรงพยาบาลวินิจฉัยว่าต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องไปรับใบส่งตัวอีก เนื่องจากมีการทำระบบออนไลน์เชื่อมต่อข้อมูลไว้แล้ว (**เดิมนั้นหากคลินิกประจำ วินิจฉัยส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพ ต้องได้รับใบส่งตัวจากคลินิกมาก่อน)
- ประชาชนแจ้งย้ายหน่วยบริการเมื่อใด สามารถรักษาที่ใหม่ได้ทันที (จากเดิมเมื่อขอย้ายต้องรออีก 15 วัน) แต่ปรับแบบใหม่คือไม่ต้องรอ 15 วันอีกต่อไป เพื่อสามารถรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที
- ผู้ป่วยเป็นมะเร็งจะได้รับการรักษาโรงพยาบาลที่ไม่แออัดและมีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งการปรับระบบใหม่ เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็ง ทางหน่วยบริการจะส่งข้อมูลมายังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เพื่อให้จัดหาโรงพยาบาลที่ไม่แออัดและมีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ควรมีการติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณะสุขอย่างต่อเนื่อง เพื่อความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา