สถิติการว่างงานในประเทศไทย

อัตราการว่างงานของไทยแย่ลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ผลพวงจากเศรษฐกิจของไทยมีการเติบโตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งมีอุตสาหกรรมแรงงานในไทยหลายโรงงานทะยอยปิดตัวลงและเตรียมเลิกจ้าง (lay-off) พนักงานออกหลายพันคน เพราะทนพิษเศรษฐกิจไม่ไหว มาดูกันว่าอัตราการว่างงานของคนไทย ในช่วงปีที่่ผ่านมาส่งผลกระทบใดต่ออุตสาหกรรมและภาคธุรกิจของไทย

  • ผลสรุปสถิติการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา มีจำนวนคนไทยว่างงานทั้งหมด 367,000 คน แต่ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 มีจำนวนผู้ว่างงานจำนวนกว่า 400,000 คน คิดจากกำลังแรงงาน 38 ล้านคน ซึ่งถือว่ามีจำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยลำดับของอัตราการว่างงานของคนไทยแยกตามระดับที่สำเร็จการศึกษา ดังนี้
    • ปริญญาตรี อัตราว่างงาน 2.3 % สูงสุดของอัตราผู้ว่างงานระดับของการสำเร็จการศึกษา
    • มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า อัตรว่างงาน 1.2 %
    • อนุปริญญา 1.1 %
    • มัธยมศึกษาตอนต้น 0.8 %
    • ประถมศึกษา 0.8 %
    • สูงกว่าระดับปริญญาตรี 0.5 %
    • ไม่ได้สำเร็จการศึกษา 0.3 %
*อ้างอิงตัวเลขสรุปผลอัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2562 ​จากผลสำรวจ​ภา​​วะการทำ​งานของประชากร พ.​ศ. 2​​​​​562​ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) 
  • แม้ว่าตัวเลขของอัตราการว่างงานค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อเทียบกับจำนวนกำลังแรงงานที่พร้อมรับการทำงานในประเทศนั้นเป็นอัตราจำนวนการว่างงานสูง เนื่องจากการที่โรงงานทำการปิดตัวลงถึง 1,800 โรงงาน แม้จะมีการเปิดโรงงานขึ้นมากขึ้น แต่อัตราการว่างงานของคนในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มสูงขึ้น ยังคงสะท้อนต่อโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศไทย ทั้งในแง่ของความเหลื่อมล้ำของรายได้ในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ

  • กรณีศึกษาของการปิดตัวโรงงานในประเทศไทยเช่น เช่น โรงงานผลิตรถยนต์เชฟโรเลต (Chevrolet) โดยบริษัท General Motors (GM) ที่ขายโรงงานและยกเลิกการผลิตในประเทศไทย เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นเป็นประเทศกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพในการทำกำไรน้อย แต่อย่างไรก็ตาม GM ยังรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการถอนตัวถึง 300 ล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปีนี้ (2563)

  • จากสถิติการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในภาคอุตสาหกรรม 2562 โดยเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2561/2562 ติดลบถึง 8.0 % สามารถส่งผลกระทบต่อการเลิกจ้างงานที่ลดลงในภาคอุตสากรรมต่างๆตามลำดับ
    • ธุรกิจการก่อสร้าง -13.64% 
    • โลจิสติกส์และการขนส่ง ลดลง -8.00% 
    • ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ลดลง -6.20%
    • การท่องเที่ยวและโรงแรม ลดลง -6.20%
    • การค้าส่ง-ค้าปลีก ลดลง -4.35%
    • การเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นเพียง +3.80%

แน่นอนว่าสภาพเศรษฐกิจในประเทศค่อนข้างมีการเติบโตลดลง อาจเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวมาหลายปี แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบในภาคแรงงานยังคงเป็นหน้าที่รัฐบาลที่ต้องเตรียมรับมือป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตถัดจากนี้ไป


สำหรับผู้ว่างงานที่อาจจะกำลังหาช่องทางในการสร้างรายใหม่ๆ จึงขอแนะนำอีกหนี่งช่องทางในการสร้างรายได้เสริม โดยไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องอบรม ด้วย Affiliate Marketing กับ ACCESSTRADE ได้ ดังนี้

 

References: สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.),  Smart SME (smartsme.co.th)