เตรียมตัวก่อนยื่นภาษีปี 2563 ลดหย่อยอะไรได้บ้าง
ตอนนี้เรากำลังจะเข้าสู่ช่วงสิ้นปี 2563 ซึ่งหลายๆคนกำลังมองหาการลงทุน และช่องทางในการลดหย่อนภาษี ก่อนที่จะถึงเวลายื่นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาปี 2563 ซึ่งจะต้องทำการยื่นภายในเดือนมีนาคม 2564 แถมในช่วงปลายปีนี้ รัฐบาลไทยมีมาตรการ ช้อปดีมีคืน เพื่อเป็นการกระตุ้นประชาชนให้ซื้อสินค้าและบริการ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเพิ่มเข้ามาอีกด้วย ก่อนที่เราจะมองหาช่องทางเพื่อลดหย่อนภาษี เราต้องไปทำความเข้าใจเรื่องการยื่นภาษี และอัพเดทรายการ และมาตรการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษี ก่อนที่จะถึงเวลาดำเนินการในปี 2564
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?
ก่อนจะไปมองหาเรื่องลดหย่อยภาษี เราต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องของ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ก่อนว่ามันคืออะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายที่กำหนด และมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถดูรายละเอียดตัวอย่างได้ด้านล่าง
- กองมรดกที่ยังไมได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชุนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ปกติแล้ว การยื่นภาษีจะทำการยื่น 1 ครั้งภายในเดือนมกราคา ไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้ในบางกรณี กฎหมายได้กำหนดให้ทำการยื่นภาษีตอนครึ่งปีด้วย หรือที่เราเรียกว่า ภ.ง.ด. 94 จะต้องยื่นภายในเดือนกันยายน ของทุกปี ยกตัวอย่าเงช่น การให้เช่าทรัพย์สิน, วิชาชีพอิสระ, ฟรีแลนซ์, รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ การยื่นภาษีนั้นสามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ บนเว็ไซต์ www.rd.go.th และ ที่สำนักงานสรรพากร
ขั้นตอนในการคำนวณภาษีมี 2 รูปแบบหลักๆ
1. คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ แบ่งเป็นขั้นบันได 0-35%
สูตรในการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ด้วยการนำเงินได้มาลบด้วยค่าใช้จ่าย และลบด้วยค่าลดหย่อน จะออกมาเป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นให้นำเงินได้สุทธิ ไปคูณด้วยอัตราภาษี สุดท้ายจะได้เป็นตัวเลขออกมา ซึ่งตัวเลขนี้เรียกว่า “เงินภาษีที่ต้องจ่าย” สามารถดูได้ตามขั้นบันไดภาษี โดยจะเร ิ่มต้นจากเงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 1-150,000 บาท ตามกฎหมายจะได้รับการยกเว้นอัตราภาษี ตามด้วยเงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท มีอัตราภาษีอยู่ที่ 5% และมีอัตราภาษีสูงที่สุดอยู่ที่ 35% ผู้ที่มีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 5,000,001 บ้านขึ้นไป ตามตารางภาษีด้านล่าง
ตารางคำนวณภาษีเงินได้ | |
เงินได้สุทธิ (บาท) | อัตราภาษี |
1-150,000 | 5% |
300,001-500,000 | 10% |
500,001-750,000 | 15% |
750,001-1,000,000 | 20% |
1,000,001-2,000,000 | 25% |
2,000,001-5,000,000 | 30% |
5,000,001 ขึ้นไป | 35% |
- วิธีคิด เงินได้สุทธิ คำนวณจาก เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อย = เงินได้สุทธิ
- วิธีคิดเงินภาษีที่ต้องจ่าย คำนวณจาก เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
2. คำนวณภาษีแบบเงินได้พึงประเมิน คูณด้วย 0.5% หรือที่หลสายคนเรียกว่า ภาษีแบบเหมา x 0.5%
วิธีการคิดภาษีแบบเหมา ซึ่งจะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ทั้งปี ซึ่งไม่นับรวมเงินเดือนเกินกว่า 1 ล้านบาท โดยวิธีการนั้นเป็นการนำเอาเงินได้ทั้งหมดทุกประเภท ที่ไม่ใช่เงินเดือนคูณด้วย 0.5%
จากการคำนวณภาษีดังกล่าว มีองค์ประกอบของการคำนวณภาษี ก็คือการลดหย่อนภาษี ที่มีส่วนช่วยทำให้เสียภาษีลดลง หรืออาจจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีเลยก็ได้ ที่ผ่านมาหลายรายการ หรือมาตรการจากทางรัฐบาล ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สำหรับปีนี้ รัฐบาลมีโครงการ “ช้อปดีมีคืน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายให้ประชาชนคนไทย ออกมาจับจ่ายใช้สอย เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังซื้อโดยมีการกำหนดรายละเอียดสินค้า และ บริการต่างๆ ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งสามารถนำไปลดหย่อนภาษีตามจริงได้ไม่เกิน 30,000 บาท
ยื่นภาษีปี 2563 ลดหย่อยอะไรได้บ้าง
ส่วนตัว/ครอบครัว
- ส่วนลดหย่อนได้ 60,000 บาท
- คู่สมรส ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
- ค่าคลอดบุตร 60,000 บาท
- ผู้พิการ 60,000 บาท
- พ่อแม่ คนละ 30,000 บาท
- บุตร 30,000 บาท
- บุตรคนต่อไป 30,000 บาท
ประกัน-การลงทุน
- ประกันชีวิต ทั่วไป 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตัวเอง 25,000 บาท (ไม่เกิน 100,000 บาท)
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท
- กองทุน SSFX 200,000 บาท
- ประกันสังคม 5,850
- ประกันบำนาญ ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครู ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน RMF ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุน SSF ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ 13,200 บาท
กระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยบ้าน 100,000 บาท
- 0บ้านหลังแรกปี 59 120,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมบุตรเดบิต/บัตรเครดิต ที่มีเครื่อง EDC เพิ่ม 1 เท่า ตามจ่ายจริง
- ช้อปดีมีคืน 30,000 บาท
บริจาค
- พรรคการเมือง 10,000 บาท
- มูลนิธิ/องค์การสาธารณกุศล/อื่นๆ ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
- การศึกษา/กีฬา/เพื่อสังคมและ รพ. รัฐ 2 เท่าของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน