พ.ร.ก. ฉุกเฉินคืออะไร แล้วมีมาตรการอะไรบ้าง?

รัฐบาลได้พิจารณา ออกประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในวันที่ 26 มีนาคม 2563

จากกระแสข่าว ที่ออกมาจากหลากหลายช่องทาง เกี่ยวกับการประกาศ เคอร์ฟิว จากทางรัฐบาล ได้ถูกเปลี่ยนด้วยการแถลงเพื่อเตรียมการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี ในช่วงบ่ายของวันที่ 24 มีนาคม 2563 หรือ เมื่อวานที่ผ่านมา มีใจความว่า “ทางรัฐบาล ได้พิจารณามาโดยตลอด เรื่องการที่จะประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ วันนี้ เราเอา พ.ร.ก. ฉบับนี้มาประกาศใช้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 นี้”

จากคำประกาศของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญที่สุดก็คือ การจัดระเบียบในการทำงาน และ ยกระดับศูนย์โควิด เป็นศูนย์ฉุกเฉิน ในเรื่องของการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ครั้งนี้ ถ้าหากว่าเราจะย้อนกลับไปดู รายละเอียดเกี่ยวกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับ พระราชกำหนดจะมีความหมายว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์ อันกระทบ หรือ อาจจะกระทบต่อความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อรักษาซึ่งความปลอดภัยของประชาชน ในการดำรงชีวิตโดยปกติสุข ของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวมหรือ แก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะ ตามรายละเอียด ตามมาตรา 9 ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ยุติลงได้โดยเร็ว ซึ่งทางด้าน นายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้

  • ห้ามไม่ให้บุคคลใด ออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ บุคคลที่ได้รับการยกเว้น
  • ห้ามไม่ให้ชุมนุม หรือ มั่นสุม หรือ กระทำการใดๆ เพื่อเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
  • ห้ามนำเสนอข่าว การจำหน่าย หรือ ทำให้แพร่หลายซึ่ง หนังสือ สิ่งพิมพิมพ์ หรือ สื่ออื่นใด ที่ให้ข้อความอันอาจจะทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือ มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ที่ทำให้กิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจน กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ ความสงบ เรียบร้อย หรือ ศิลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ทั่วราชอาณาจักร
  • ห้ามใช้เส้นทาง คมนาคม หรือ การใช้ยานพาหนะ หรือ กำหนดเงื่อนไข การใช้เส้นทางคมนาคม หรือ การใช้ยานพาหนะ
  • ห้ามใช้อาคาร หรือ เข้าไปอยู่ในสถานที่ใดๆ
  • ให้อพยพประชากรออกจากพื้นที่ที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือ ห้ามไม่ให้ผู้ใด เข้าไปยังพื้นที่ที่กำหนด

สำหรับข้อกำหนดของช่วงเวลา “เคอร์ฟิว” เป็นประเด็นที่ประชาชนคนไทยหลายๆคน จับตามองอยู่ แต่มีการคาดการณ์ออกมาว่า ช่วงเวลาน่าจะเป็น 21.00 ไปจนถึง 5.00 น. ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะมีการลำดับการดำเนินการ และ มีการจัดตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบต่อไปจนถึงการจัดการศูนย์ สำหรับระยะที่ 1 ซึ่งจะมีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินในวันที่ 26 มีนาคม 2563 นี้ เรื่องใหญ่ๆจะเป็นเรื่องการทำให้ลดกาแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ต่างๆ และ ขอความร่วมมือ หรือ บังคับ ซึ่งมาตรการจะเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน จะขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชน นอกจากนี้ยังมีมาตรการออกมารองรับ เช่น โรงพยาบาลสนาม, พื้นที่กักตัวขนาดหญ่ และ การจัดหานักวิชาการต่างๆ ให้พอกับการรับมือของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *