ประกาศใช้ 8 ข้อกำหนด จากพรกฉุกเฉิน

เริ่มแล้ว พรก. ฉุกเฉิน ประกาศใช้อำนาจ สั่งเข้ม 8 ข้อกำหนด

ประกาศราชกิจจานุเบกษา อย่างเป็นทางการ นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจ พรก. ฉุกเฉิน ออกคำสั่ง 8 ข้อกำหมด สั่งปิด, ห้าม และ ตรวจเข้มสำหรับการเดินทางข้ามจังหวัด เริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้าวันนี้

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2548 ลงฉบับที่ 16 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในสถานการปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตของการแพร่เชื้อโรคออกเป็นวงกว้าง และกระจายไปหลายพื้นที่ ทำให้การตรวจพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เกิดขึ้น บางกรณีเป็นการติดเชื้อภายในประเทศ ที่มีจำนวนตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน ประกอบกับการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่ที่มีสถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด จากการตรวจสอบล่าสุด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีการแสดงอาการของโรค เป็นสาเหตุทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปในลักษณะกลุ่มก้อน

พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ทำงานปฏิบัติหน้าที่เพื่อควบคุมโรค พบว่ามีผู้ติดเชื้อโรคบางส่วน ได้ทำการปกปิดข้อมูลการเดินทาง ทำให้ขั้นตอนในการสอบสวนโรคเกิดความล่าสุด และเป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติงานอื่นๆ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยเป็นวงกว้าง รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดและบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ และยับยั้งการแพร่ระบาดดังกล่าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมีข้อกำหนด และ ข้อปฎิบัติกับส่วนราชการต่อไปนี้

1. ห้ามใช้อาคาร หรือ สถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

ห้ามการใช้อาคาร หรือ สถานที่ของโรงเรียน และ สถานบันการศึกษาทุกประเภท ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนด และกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อการจัดการเรียนการสอน, การสอบ, การฝึกอบรม หรือ การกระทำกิจกรรมใดๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้

  • ใช้เป็นการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกล หรือ ด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์
  • เป็นการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อให้ความร่วมมือ, สงเคราะห์, อุปถัมภ์ หรือ ให้การอุปการะแก่บุคคล
  • การจัดกิจกรรมของทางราชการ หรือ กิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
  • สถาบันการศึกษา หรือ โรงเรียน ที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนทั้งโรงเรียนไม่เกิน 120 คน หรือ เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

2. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และ มีโอกาสติดต่อสัมผัสได้โดยง่าย เช่น การประชุม, การสัมนา, การจัดเลี้ยง, การแจกจ่ายอาหาร หรือ สิ่งของต่างๆ เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ การจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยมีมาตรการทางสาธารณสุขรองรับ

3. การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค

มอบหมายให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานบริการหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายผับ, บาร์, คาราโอเกะ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด

4. เงื่อนไขการเปิดดำเนินการ

ในเขตพื้นที่สถาการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดให้สถานที่, กิจการ หรือการทำกิจกรรมต่อไปนี้เปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข, เวลา และ การจัดการระบบและระเบียบต่างๆที่กำหนด

  • การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ, จำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน, การจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฎิบัติและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด โดยอาจให้เป็นลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่น ให้ศูนย์บริหารสถานการโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย และ ศูนย์ปฎิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์ และ สาธารสุข ร่วมกับพิจาณาประเมิน และ กำหนดรูปแบบ
  • การจำหน่ายสุรา สำหรับร้านอาหารหรือสถานที่จำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุรา และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ใน้ราน
  • ห้ามสรรพสินค้า, ศูนย์การค้า, คอมมูนิตี้มอลล์, ศูนย์การแสดงสินค้า, ศูนย์ประชุม รวมไปถึงสถานที่จัดนิทรรศการ, ร้านสะดวกซื้อ, ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ สถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดทำการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ ภายใต้การดำเนินการมาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด

5. มาตรการที่เหมาะสมกับสถานที่ในพื้นที่ 

เพื่อการป้องกันระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัดหรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่, สถานที่, หรือพาหนะหรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมอื่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการตามมาตรการ หรือ แนวปฎิบัติตามข้อหมด

6. การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจและคัดกรองการเดินทางโดยใช้เ้นทางคมนาคมข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยเฉพาะการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามมาตรการที่ ศปก.ศบค. กำหนดโดยให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และต้องไม่เป็นการก่อความเดือนร้อนให้กับประชาชนเกินสมควรแก้เหตุ

7. ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฎิบัติงานในช่วงระยะเวลานี้

ซึ่งอาจจะเป็นการปฎิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือ การสลับวันหรือการเหลื่อมเวลาเข้าปฎิบัติงานเพื่อลดจำนวนผู้ปฎิบัติงาน และ ปริมาณการเดินทางซึ่งเป็นมาตรการลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

8. ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โดยตรวจสอบกลั่นกรองและเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขออนุญาตให้ผ่อนคลายหรือกระชับมาตรการที่บังคับใช้กับสถานที่, กิจการ หรือ กิจกรรมเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์

 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *