กระทรวงการคลังเปิดปุ่ม รับร้องทุกข์ สำหรับผู้ที่ไม่ผ่านพิจารณา บนเว็บไซต์ “เราไม่ทิ้งกัน”
จากมาตรการของทางรัฐบาล ที่ได้มีการแจกเงินเยียวยา ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา และ ได้ทำการลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยา บนเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com จำนวน 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงินเยียวยา 15,000 บาท ล่าสุดยังไม่มีจัดรับร้องทุกข์ สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่ผ่านการพิจารณา รับเงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน ล่าสุดทางกระทรวงการคลังได้ออกมาชี้แจง ในการการอุทธรณ์ ของผลการพิจารณาเพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท สำหรับคนที่ลงทะเบียนไปแล้ว ไม่ผ่อนการพิจารณา จะมีการเปิดให้ผู้ที่ไม่ผ่านพิจารณา สามารถ ยื่นอุทธรณ์ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกันที่ “ปุ่มยื่นอุทธรณ์” เนื่องจากมีประชาชนหลายๆคน ออกความเห็นว่าไม่ได้รับเงินเยียวยา ทั้งๆที่ทำงานเหมือนๆกับเพื่อนร่วมงาน ได้รับผลกระทบเหมือนกันกับเพื่อนร่วมงาน แต่เพื่อนได้ แต่เรากลับไม่ได้ เป็นต้น
มีการคาดการณ์ออกมาว่า ปุ่นยื่นอุทธรณ์ จะเปิดให้ผู้ที่ลงทะเบียน แล้วไม่ผ่านการพิจารณา ได้ในวันที่ 19 เมษายน 2563 นี้ ดังนั้น ประชาชนที่มีความต้องการที่จะยื่นอุทธรณ์ ทางกระทรวงการคลังได้ออกมาแนะนำว่าให้ประชาชนที่มีความประสงค์ที่จะยื่นอุทธรณ์ ให้ทำการยื่นอุทธรณ์ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ online บนเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com จะถูกต้อง และ รวดเร็วมากที่สุด
ระหว่างนี้ ประชาชนคนไทยท่านไหนที่จะร้องเรียนเกียวกับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท แนะนำให้ติดต่อทาง Call Center ของธนาคารกรุงไทย ได้ที่เบอร์ 02-111-1144 สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ ที่ Call Center ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่เบอร์ 02-273-9020 เฉพาะวัน และ เวลาราชการ เพื่อให้มาตรการสอดคล้องกับ แนวทางในการปฎิบัติของศูนย์ COVID แห่งชาติ ที่ไม่ให้คนรวมตัวอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือ ในสถานที่แออัด เป็นจำนวนมาก ถึงจะมีการป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยก็ตาม
ข้อมูลของกลุ่มบุคคลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 4.78 ล้านราย จะทยอยได้รับ SMS แจ้งผลการพิจารณาในช่วงวันที่ 12 ไปจนถึงวันที่ 14 เมษายน 2563 โดยบุคคลส่วนใหญ่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากได้รับการดูแลผลกระทบจาก โควิด-19 โดยรัฐบาลผ่านช่องทางอื่น ยกตัวอย่างเช่น ข้าราชการ, ผู้รับบำนาญ, ผู้ได้รับสิทธิ์ประกันสังคม และ เกษตรกร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบุคคลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่ได้กำหนดเอาไว้ เช่น นักเรียน, นักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นหลัก และ ส่วนหนึ่งได้รับการดูแลผ่านกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือกลุ่มที่ยังสามารถทำธุรกิจต่อไปได้ เช่นผู้ค้าขายออนไลน์ จากกระแสข่าวบนโลกออนไลน์ ที่ได้มีการวิพากษ์ วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม และ ความโปร่งใสเกี่ยวกับระบบพิจารณา การคัดกรองของผู้ลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกันอย่างเป็นวงกว้าง จนทำให้เกิดการชี้แจงเรื่องของการ อุทธรณ์การลงทะเบียนล่าสุด