ประกาศจากกรุมอุตุนิยมวิทยา เตือน 60 จังหวัด เตรียมรับมือพายุฤดูร้อน
ประกาศแจ้งเตือนจากทางกรมอุตุนิยมวิทยา เกี่ยวกับพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-6 เมษายน 2564 ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 2 เมษายน 2564
ในช่วงวันที่ 3 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2564 ประเทศไทย จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะ พายุฝนฟ้าคะนอง บวกกับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมไปถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้น จะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน ในส่วนของภาคเหนือและภาคกลาง รวมไปถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนคนไทย ในบริเวณดังกล่าว ระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้น โดยให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง, ใต้ต้นไม้ใหญ่, สิ่งปลูกสร้าง และ ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับพี่น้องเกษตรกร ควรจะต้องเตรียมการป้องกัน และระมัดระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางเกษตร
พายุฤดูร้อน ตามประกาศของกรุมอุตุนิยมวิทยา จะมีผลกระทบตามรายละเอียดด้านล่าง
วันที่ 3 เมษายน 2564
- ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดน่าน, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร และ เพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย, หนองคาย, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, กาฬสินธุ์, ร้อนเอ็ด, ยโสธร, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์, นครราชสีมา, ขอนแก่น, ชัยภูมิ และ มหาสารคาม
- ภาคกลาง ได้แก่จังหวัดนครสวรรค์, ลพบุรี, สระบุรี, และ สิงห์บุรี
- ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และ ตราด
วันที่ 4 – 6 เมษายน 2564
- ภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา, แพร่, น่าน, อุตรดิตถ์, ตาก, สุโขทัย, พิษณุโลก, พิจิตร, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย, หนองบัวลำภู, หนองคาย, อุดรธานี, บึงกาฬ, สกลนคร, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, นคราชสีมา, และ บุรีรัมย์
- ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี, สระบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, และ นครปฐม รวมไปถึง กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล
- ภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดนครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และ ตราด]
บริเวณความกดอากาศสูง หรือมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง ระลอกใหม่จากจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากา่ศร้อนถึงร้อนจัดต่อเนื่องกันหลายวัน ประชาชนสามารถเข้าไปติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ที่เว็บไซต์ www.tmd.go.th หรือ สายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง