เปิดแบบรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม
กฎหมายประกันสังคมในปัจจุบัน ที่ถูกบังคับใช้อยู่นั้นมีบทบัญญัติบางประเภท หรือ บางประการที่ไม่เหมาะสม และ ยังไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ ในปัจจุบัน ทางกระทรวงแรงงาน โดยประกันสังคมได้เล็งเห็น จึงได้ทำการเสนอการแก้ไขเพิ่มเติม สำหรับพระราชบัญญัติประกันสังคมปี พ.ศ. 2533 ในประเด็นต่างๆ ตามตัวอย่างด้านล่าง
หัวข้อในการแก้ไขหลักเกณฑ์ และ วิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และ ผู้ประกันตนในคณะกรรมการประกันสังคม
- การแก้ไขหลักเกณฑ์ และ วิธีการได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และ ฝ่ายผู้ประกันตนในคณะกรรมการประกันสัมคม
- การกำหนดคุณสมบัติ และ ลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการ ประกันสังคม, คณะกรรมการการแพทย์ และ คณะกรรมการอุทธรณ์
- การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษา และ คณะกรรมการการแพทย์ให้มีเพียงวาระเดียว
- การแก้ไขอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการตรวจสอบ
- กำหนดการจ่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
- การกำหนดเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ มาตรา 39
- การแก้ไขการคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยกำหนดให้ไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่ต้องจ่าย
- การกำหนดให้ผู้ที่รับเงินบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม สามารถกลับเข้าไปเป็นผู้ประกันตน
- การแก้ไขให้ผู้ประกันตน ได้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรเป็นการเหมาจ่าย และ เพิ่มระยะเวลาในการได้รับเงิน
- การเพิ่มเงินทดแทนการขายรายได้ในกรณีทุพพลภาพ
- การเพิ่มประโยชน์ ในการทดแทนกรณีชราภาพ และ การแก้ไขหลักเกณฑ์เพิ่มเติม ในการรับเงินบำนาญชราภาพเพื่อส่งเสริมการทำงานของผู้ประกันตนสูงอายุ
เพื่อให้การแก้ไขหลักเกณฑ์ และ วิธีการเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพ ทางประกันสังคมจึงขอความกรุณาทุกท่านแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญติประกันสังคม ตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วน สำหรับประชาชนที่มีคำถามสามารถติดต่อสายตรงประกันสังคมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 สำหรับแบบสอบถามผู้ประกันตนสามารถกรอกแบบสอบถามได้ตามลิงก์ด้านล่าง