ธ.ก.ส. ออกมาตรการดูแลพี่น้องเกษตรกร

ธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร เตรียมรับมือแก้ปัญหาโควิดระบาดรอบใหม่

ธ.ก.ส. เตรียมตัวออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ โดยมอบสิทธิพักชำระหนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกร 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยกลุ่มบุคคล, กองทุนหมู่บ้าน หรือ ชุมชน รวมไปถึงผู้ประการ, นิติบุคคล, องค์กร, กลุ่มเกษตรกร และ สหกรณ์ ซึ่งไม่รวมสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ

ทางด้านรักษาการแทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร และ สหกรณ์การเกษตร ได้ออกมาเปิดเผยถึงมาตรการเพื่อบรรเทาควมเดือนร้อนของพี่น้องเกษตรกร จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 โดยทางธนาคาร ได้มีมาตรการออกมาเพิ่มเติมจากการพักชำระหนี้เงินต้นทั้งระบบ เป็นระยะเวลา 1 ปีที่ได้ดำเนินไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา และเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร, ผู้ประกอบการ SME, สหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์ร้านค้า, สหกรณ์บริการ, วิสาหกิจชุมชนกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวและอยู่ในพื้นที่ 28 จังหวัดที่อยู่ในเขตควบคุม ตามที่รัฐบาลได้ออกมาประกาศเพิ่มเติม โดยทางธนาคารจะมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. พักชำระเงินต้นผู้ประกอบการ SMEs สหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์ร้านค้า, สหกรณ์บริการ, วิสาหกิจชุมชน, กองทุนหมู่บ้าน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  2. พักชำระหนี้เงินต้นสำหรับเกษตรกร 1 ปี

ในกรณีที่เป็นสินเชื่อใหม่ ที่มีหนี้ถึงกำหนดชำระในเดือนธันวาคม 2563 ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ให้พักชำระต้นเงินสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 ที่จะถึงกำหนดชำระออกไปก่อนอีก 6 เดือน รวมไปถึงพักชำระสินเชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการแก้หนี้นอกระบบออกไปอีก 1 ปี

มาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการโควิดระบาดระลอกใหม่ ในภาพรวมทางธนาคารได้มีการเตรียมวงเงินสนับสนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับครัวเรือนผ่านโครงการสินเชื่อฉุกเฉินวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ให้กับเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรด้วย ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.1 ต่อเดือน ผ่านวงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท โดยมีกำหนดชำระคืนไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน รับจากวันที่ขอกู้ มีระยะเวลาปลอดการชำระ 6 เดือน ไม่ต้องใช้หลักประกัน และสามารถแบ่งงวดชำระได้ตามความสามารถในการชำระเงิน ทางธนาคารขยายเวลาในการขอสินเชื่อดังกล่าวไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

มาตรการสนับสนุนสินเชื่อใหม่เพื่อนำไปลงทุนและฟื้นฟูการผลิตผ่านโครงการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกร อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท คณะกรรมการธนาคารจะให้การอนุมัติสินเชื่อฉุกเฉินและสินเชื่อฉุกเฉินสภาพคล่องดอกเบี้ยก่อนการเปิดให้บริการภายในเดือนมกราคม 2564 นอกจากนี้ทางธนาคาร ยังช่วยลดภาระหนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกรผ่านโครงการ “ชำระดีมีคืน” สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะหนี้ปกติ ที่มีหนี้คงเหลือ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2563 ยกเว้นสัญญาเงินกู้ตามโครงการที่ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยตามนโยบายรัฐบาล โดยกรณีนี้เป็นเกษตรกรทันทีที่ชำระหนี้จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 จองดอกเบี้ยที่ชำระจริงไม่เกินรายละ 5,000 บาท กรณีเป็นกลุ่มบุคคล, กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล และ กองทุนหมู่บ้าน และ ชุมชุนเมือง จะได้รับเงินในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง แต่ไม่เกินแห่งละ 50,000 บาท ผ่านวงเงินประมาณ 3 พันล้านบาท ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินงบประมาณ