แนวทางปฎิบัติ การชำระหนี้เพื่อลดหนี้เสีย

แนวทางปฏิบัติ ลดภาระหนี้ประชาชนจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิดดอกเบี้ย สำหรับผู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ และ การตัดชำระหนี้หลังลดภาระหนี้ที่จะสามารถสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนผ่านการลดการเกิดหนี้เสีย โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 นี้สำหรับการตัดชำระหนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564

เปิดเผยข้อมูลจากทาง ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ย ผิดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้ สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินกับประชาชนและลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทยมีอยู่ 3 เรื่องด้วนกัน ตามรายละเอียดด้านล่าง


การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ เงินต้นที่ผิดนัดจริงเท่านั้น

ไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่างจากแนวทางปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว สำหรับผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด โดยส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้เกิดการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากยิ่งขึ้น


อัดตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ที่อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%

ยกตัวอย่าง ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% สำหรับผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วย ต่างจากเดิมสำหรับผู้ให้บริการทางการเงิน สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดชำระหนี้เองได้ ยกตัวอย่างเช่น กำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ 15% หรือบางกรณีสูงถึง 18% หรือ 22% ซึ่งส่งผลกระทบถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้ที่พยายามจ่ายเพื่อชำระหนี้ ให้สามารถลดโอกาสในการผิดชำระหนี้ และยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ในขณะที่จะส่งผลให้การฟ้องร้องดำเนินคดีลดลงด้วย


กำหนดลำดับการชำระหนี้โดยให้ ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นอันดับแรก

ในส่วนของการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายเป็นค่าธรรมเนียม, ดอกเบี้ย, และ เงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน ซึ่งแตกต่างจากแนวทางเดิมที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด และตามด้วยดอกเบี้ย ก่อนที่จะนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเป็นเงินต้น ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ใหม่ จะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสทำให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น แถมยังช่วยเหลือลูกหนี้ในการลดการเกิดหนี้เสียหรือ NPL และ ประการสุดท้ายก็คือ ช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น


ประกาศการเริ่มบังคับใช้

การประกาศกำหนดเกณฑ์ในการคิดดอกเบี้ยการผิดนัดชำระหนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 นี้โดยจะให้มีการยกเว้นเรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากผู้ให้บริการทางการเงิน จะต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับการใช้ฐานของงวดที่ผิดนัดชำระหนี้จริงมาคำนวณ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือเวียนไปก่อนหน้านี้ นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ผู้ให้บริการทางการเงินได้ปรับมาใช้เกณฑ์ใหม่ ในการคำนวณแล้วซึ่งประชาชนในกลุ่มธุรกิจ SMEs จะได้รับสิทธิตามที่ประกาศฉบับนี้ โดยจะกำหนดให้เป็นการใช้ทั่วไปโดยไม่ต้อง ติดต่อสาขาของผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อแก้ไขสัญญา


การผิดนัดชำระหนี้

ในส่วนของการผิดนัดชำระหนี้นั้น ที่เกิดก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 ผู้ให้บริการทางการเงิน สามารถนำหลัการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ตามสมควร โดยเฉพาะในปัจจุบัน ลูกหนี้จำนวนมากกำลังเดือนร้อนจากวิกฤตโควิด-19 หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ซึ่งสามารถสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หรือ ศคง. โทร 1212


แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *