แนะนำการตรวจสอบ และ วิธีประหัยดจาก กรณีค่าไฟแพงผิดปกติ
จากกรณีค่าไฟฟ้าแพงผิดปกติในเดือนนี้ จนเป็นกระแสเช็คค่าไฟฟ้ากันบนโลกโซเชียล จากสถิติของทุกๆปี ค่าไฟฟ้าในเดือน เมษายน, พฤษภาคม และ มิถุนายน จะมีค่าไฟที่แพงกว่าทุกเดือน ซึ่งการที่ค่าไฟฟ้าแพงนั้น เกิดจากปัจจัยหลายๆอย่างที่เกิดขึ้น ปีนี้ค่าไฟฟ้าแพงกว่าทุกปีแน่นอน เพราะว่าหลายๆบริษัทในประเทศไทย ตอบสนองมาตรการของรัฐบาลด้วยการ Work from Home ให้พนักงานทำงานที่บ้าน บวกกับนักเรียน นักศึกษา ไม่สามารถเดินทางไปเรียนได้ เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
สำหรับใครที่ Work from Home ช่วงนี้ แนะนำเลยให้ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเอง ผ่านการดูหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า ว่าหน่ายที่จดตรงกันรึเปล่า นอกจากนี้ แนะนำให้เช็คว่าบ้านของเรา มีไฟรั่วตรงไหนรึเปล่า ผ่านการปิดเบรกเกอร์ หลังจากที่เราปิดเบรกเกอร์แล้ว มิเตอร์ไฟจะต้องหยุดหมุนทุที ถ้าไม่หยุดแสดงว่าบ้านเรามีไฟรั่ว แนะนำให้แจ้งการไฟฟ้าท้องถิ่นเข้ามาตรวจสอบ และถ้าไม่อยู่บ้าน แนะนำให้ปิด เมนเบรกเกอร์เอาไว้ สำหรับคนที่ทำงานอยู่บ้าน ส่วนใหญ่แล้วจะเปิดแอร์ในตอนที่ทำงาน แนะนำให้ปรับอุณหภูมิที่ 26-27 องศา และ ใช้พัดลมช่วย จะทำให้คุณสามารถประหยัดไฟได้มากยิ่งขึ้น จากนอกจาก แนะนำให้ปิดแอร์ก่อนจะเลิกใช้งานเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ เช่น ตู้เย็น แนะนำให้ทำความสะอาด อาหารอะไรที่ไม่จำเป็นทิ้งให้หมด ยิ่งมีของแช่ในตู้เย็นมากเท่าไหร่ ยิ่งกินไฟมากเท่านั้น แนะนำให้ใช้ตู้เย็นระบบ inverter ยิ่งจะช่วยให้เราประหยัดไฟได้มากยิ่งขึ้น
เวลาทำงานที่บ้าน อีกสิ่งนึงที่ขาดไม่ได้ตอนที่เราทำงานนั่นก็คือ หลอดไฟนั่นเอง การที่เราจะประหยัดไฟจากการเปิดไฟได้นั้น เราจำเป็นจะต้องใช้หลอดไฟ LED เพราะว่าจะประหยัดไฟได้มากกว่า นอกจากนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชนิดไหนที่เราไม่ใช้ แนะนำให้ถอดปลั๊กออก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่ทำงานที่บ้าน นั่นก็คือ คอมพิวเตอร์ นั่นเอง เราไปเช็คกันดีกว่า ว่าคอมพิวเตอร์ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันนั้น มันกินไฟเท่าไหร่กัน
โดยปกติ คอมพิวเตอร์ของเรา จะกินไฟโดยประมาณ 200-400 Watt และ อาจจะสูงกว่านี้ ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณ มีสเปคเครื่องที่แรงขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณกินไฟ 400 Watt สามารถคำนวณค่าไฟได้ เช่น 400 x 8 (ชั่วโมง) หาร 1,000 จะเท่ากับ 3.20 หน่วย คราวนี้เราได้หน่วยไฟที่ใช้ไป คูณกับค่าไฟฟ้าที่อ้างอิงจากค่าไฟหน่วยละ 3.2484 บาท คิดเป็น 3.20 X 3.2484 = 10.39 บาท
จากการคำนวณค่าไฟของการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเวลา 8 ชั่วโมง เราจะต้องจ่ายเงิน โดยประมาณ 10.39 บาท เพราะฉะนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง เราจะต้องจ่ายเงินโดยประมาณ 1.29 บาท การคำนวณดังกล่าว เป็นการคำนวณค่าไฟหน่วยละ 3.2484 บาท เท่านั้น ซึ่งค่าไฟแต่ละบ้านอาจจะไม่เท่ากัน ประเภทไฟฟ้าของแต่ละบ้าน สำหรับใครที่อยากจะรู้ว่าเดือนนี้ เราจะต้องจ่ายค่าไฟเท่าไหร่ สามารถเข้าไปเช็คด้วยการกรอก ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นหน่วย ให้เราเลือก ประเภทไฟฟ้าที่เราใช้ก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นให้เช็คหน่วยการใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถดูหน่วยการใช้ไฟฟ้าต่อเดือนได้ที่มิตเตอร์ไฟฟ้า ผ่านการหักลบกับหน่วยที่ใช้ไปเดือนที่แล้ว แล้วนำหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่ได้มาในเดือนนั้นๆกรอกข้อมูลผ่านลิงก์ด้านล่าง เพื่อคำนวณค่าไฟ