ทำงานออนไลน์ ค่าคอมมิชชั่นคิดยังไง?
สำหรับทุกๆ ท่านที่ทำงานออนไลน์ต่างๆ หรือทำ Affiliate Marketing แน่นอนว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญเป็นสิ่งแรกๆ นอกจากแคมเปญแล้วก็เป็นค่าคอมมิชชั่นที่จะได้รับนี่แหละค่ะ ที่ทุกคนต้องศึกษาให้ดีก่อนทำ เพราะรายได้จากการทำงานออนไลน์ส่วนใหญ่ ถ้าไม่ได้มาจากการขายตรง ก็จะเป็นค่าคอมมิชชั่น ซึ่งค่าคอมมิชชั่นจะมาจากช่องทางไหน? คิดยังไง? วันนี้มีคำตอบค่ะ
การคิดค่าคอมมิชชั่นของการทำงานออนไลน์
ค่าคอมมิชชั่นในงานออนไลน์สามารถคิดได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับรูปแบบของงานและวัตถุประสงค์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม รูปแบบการคิดค่าคอมมิชชั่นที่มักจะใช้ในงานออนไลน์ มีด้วยกัน 3 แบบ วิธีคิดเป็นยังไง จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!!
1.CPA (Cost Per Action)
รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่พื้นฐานที่สุด เป็นการจ่ายเงินตามจำนวนการดำเนินการของผู้ใช้งาน ซึ่งการดำเนินการนั้นจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า อย่างเช่น การสมัครสมาชิก เติมเงิน หรือการซื้อสินค้า Publisher จะได้รับเงินเมื่อผู้ใช้งานดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ก็คือ ค่าคอมมิชชั่นจะถูกคิดเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการจริงนั่นเอง
2.CPS (Cost per Sales) กับ CPA (Cost Per Action หรือ Cost Per Acquisition)
รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่เกิดจากการขายสินค้า จะได้รับเงินเมื่อมีการซื้อสินค้าจากลิงค์ตามจำนวนการขายที่เกิดขึ้นจากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ ค่าคอมมิชชั่นจะถูกคิดเมื่อมีการขายสินค้าหรือบริการจริง ได้รับผลตอบแทนจากการซื้อหรือการกระทำ 1 ครั้ง เช่น CPA 50 บาท หมายถึง ถ้าหากผู้โปรโมทนั้นนำสินค้าหรือบริการไปโปรโมทและเกิดการซื้อ 1 ครั้ง ผู้โปรโมทจะได้รับค่าตอบแทน 50 บาท เป็นต้น
3.CPL (Cost Per Lead)
รูปแบบการจ่ายค่าคอมมิชชั่นที่เกิดจากการส่งผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์ของผู้โฆษณาเพื่อเก็บข้อมูลติดต่อ โดยค่าคอมมิชชั่นจะได้รับเมื่อผู้ใช้งานได้กรอกข้อมูลติดต่อไว้กับผู้โฆษณา หรือจ่ายค่าคอมมิชชั่นตามจำนวนผู้ที่สนใจและกรอกข้อมูลติดต่อเพื่อรับข่าวสารหรือโปรโมชั่นจากผู้โฆษณาผ่านลิงค์ที่ติดตั้ง จะรับผลตอบแทนจากรายชื่อ เช่น CPL 300 บาท หมายถึง ถ้าหากผู้โปรโมทนั้นสามารถหารายชื่อเข้าระบบได้ 1 คนจะได้ค่าตอบแทน 300 บาทต่อรายชื่อ (แต่ละแคมเปญ Term and Condition จะไม่เหมือนกันนะครับ แนะนำให้อ่านให้ละเอียดก่อนนำไปโปรโมท) ยกตัวอย่างเช่น Financial Campaign พวกสมัครบัตรเครดิตต่างๆ ผู้สมัครบัตรต้องสมัครบัตรผ่าน คนโปรโมท (Publisher) ถึงจะได้รับค่าคอมเป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการคิดค่าคอมมิชชั่นอื่นๆ เช่น CPM (Cost Per Mille) หรือ CPC (Cost Per Click) ซึ่งคิดค่าคอมมิชชั่นตามจำนวนคลิกที่เกิดขึ้นหรือจำนวนการแสดงโฆษณาในหนึ่งพันต่อสองสามจำนวนของผู้ชม แต่เนื่องจากรูปแบบการคิดค่าคอมมิชชั่นแ
CPM (Cost per Thousand Impressions) ที่ได้รับค่าตอบแทนจากการแสดงโฆษณาด้วยนะครับ เช่น รับผลตอบแทนจากการแสดงผล 1,000 ครั้ง ตัวอย่าง CPM 50 บาท หมายถึง ผู้โปรโมทนำโฆษณาไปติดในเว็บไซต์ของตน และเกิดการแสดงผลจากผู้เยี่ยมชม 1,000 ครั้ง ผู้โปรโมทจะได้ผลตอบแทน 50 บาท เช่น การสมัคร Google Ad sense แล้วนำ Code มาติดลงในเว็บไซต์ของตัวเอง
CPC (Cost Per Clicks) รับผลตอบแทนจากการคลิก 1 ครั้ง ตัวอย่าง CPC 3 บาท หมายถึง ผู้โปรโมทนำโฆษณา หรือ ลิงก์ไปติดในเว็บไซต์ หากเกิดการคลิก 1 ครั้ง ผู้โปรโมทจะได้รับผลตอบแทน 3 บาท