ความเครียดของคนไทย ในช่วงโควิด-19

COVID-19 มีผลกระทบต่อความเครียดของคนไทยยังไง

จากสถานการณ์ในปัจจุบัน กับการแพร่ระบาดของโรคร้าย ที่เราไม่เคยเจอมาก่อนนั่นก็คือการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ทำให้คนเสพข่าวต่างๆ เกิดความเครียดไปตามกัน นอกจากจะมีความเครียดของยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จนมีคำถามในหัวว่า “เราจะคุมอยู่ไหม” แล้วก็ไม่รู้ว่า “วันไหนจะมาถึงเรา” ไม่รู้ว่าเราเป็นหรือยัง ติดเชื้อรึยัง เดินทางไปไหนมาไหนก็กลัวจะติดเชื้อ แล้วหลายๆคนก็ยังมีความกลัวอีกว่า ถ้าเราติดเชื้อแล้วมันดันไม่แสดงอาการ เราจะเอาเชื้อไปติดคนที่เรารักไหม คนอื่นจะเข้าใจเราผิดรึเปล่า ยิ่งเราพยายามจัดการกับปัญหาให้หายเครียด มันก็ยิ่งเครียด ไหนจะเรื่อง หน้ากากอนามัย ที่ใกล้จะหมด หรือ ว่าการล้างมือที่ล้างจนมือเปื่อย ไหนจะเรื่องการ เปรียบเทียบประกันสุขภาพอีก และ ที่สำคัญเลยก็คือ เรื่องการกักตุนอาหาร และ ข้าวของเครื่องใช้ คนไทยหลายๆคน ตอนที่ยังไม่ปิดเมืองก็เครียด แต่พอปิดเมืองแล้วก็เครียดอีก และ ที่สำคัญเลยคือเราไม่รู้ว่า มันจะจบลงเมื่อไหร่?

สิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อลดความไม่สบายใจในตอนนี้ ก็คือพยายามตามข่าวโดยเฉพาะจากสื่อสังคมออนไลน์ แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของ Fake News อีก เนื่องจากในปัจจุบันมีข่าวสารออกมาเยอะมากๆ เราเลยต้องใช้เวลาเสพข่าวไปเรื่อยๆ ทำอะไรได้สักพักก็หันมาเสพข่าวต่อ เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆในชีวิตประจำวัน หลายๆคนตั้งหน้าตั้งตารอว่า วันนี้คนติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ มีใครติดเชื้อเพิ่มขึ้นบ้าง ถึงแม้เราไม่เสพข่าวด้วยตัวเอง แต่ก็จะมีคนส่งข่าวมาให้เราเสพอยู่ดี เราอาจจะสบายใจขึ้นจากการทราบข้อมูลต่างๆ แต่การทราบข้อมูลจากการเสพข่าวนั้นแหละ ที่ทำให้เราเกิดความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย

ทำไมการเสพสื่อสังคมออนไลน์ ถึงทำให้เราเครียด?

  1. เพราะว่าการที่เราเสพสื่อบนโลกออนไลน์มากเกินไป ทำให้กิจกรรมผ่อนคลายเราลดน้อยลง และ นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เรา “จิตตก” หมกมุ่นอยู่กับการหาข้อมูล และ เวลาที่เราจะทำอย่างอื่นมันก็ลดลงโดยที่เราแทบจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ และ เมื่อเราต้องใช้ Social Distancing ทำให้กิจกรรมที่เคยทำถูกจำกัด และ เมื่อไม่มีอะไรให้ทำ เราก็ยิ่งเสพข่าวจากสื่อออนไลน์เพิ่มไปอีก
  2. เราอยู่กับมันมากเกินไป จนทำให้เราหมกมุ่นกับมัน คิดซ้ำในเรื่องที่มันมีแต่ปัญหา และ ยังคิดล่วงหน้าไปถึงปัญหาที่อาจจะตามมา แต่มันยังไม่เกิดขึ้น รวมไปถึง ความคิดป้องกัน และ แก้ปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส covid อีกด้วย
  3. ข้อมูลข่าวที่ขัดแย้ง ทำให้เราไม่รู้ว่าสามารถเชื่อได้แคไหน ข่าวที่เข้ามาในแต่ละวัน มันผสมกันระหว่าง ‘ข่าวจริง กับ ข่าวปลอม’ ทำให้เราไม่มั่นใจว่า ข่าวที่เรากำลังเสพนั้น มันจริง หรือ ว่าไม่จริง ทำให้ยิ่งไม่มั่นใจ พอไม่มั่นใจก็ยิ่งหาข้อมูล และ ก็ทำให้เราใช้ความคิดมาก พอคิดมากก็เครียดเข้าไปอีก
  4. รู้หรือไม่ว่า ความเครียดติดต่อกันได้ ไม่ใช่แค่เพียงเชื้อไวรัส ที่มันสามารถติดต่อกันได้นะ แต่ความเครียดก็เช่นเดียวกัน มันสามารถติดต่อกันได้ ในช่วงนี้ใครๆก็เครียด คนไทยหลายๆคนเลยระบายความเครียด ลงไปบนสื่อสังคมออนไลน์ อย่างที่เราสามารถเห็นตาม comment ต่างๆบนโลกออนไลน์ แต่ละคำที่บรรยายออกมามีแต่ความเครียดทั้งนั้น แล้ว เราก็ไปรับมันมา รวมถึงเราอาจจะเป็นตัวส่งต่อความเครียดให้กับคนอื่นอีกด้วย

แล้วเราจะรับมือกับมันยังไงดี กับการเสพสื่อสังคมออนไลน์

ถึงแม้ว่าการเสพสื่อสั่งคมออนไลน์ จะมีผลต่อสุขภาพจิตของคนไทย แต่ถ้าไม่ติดตามข่าวสารเลย ก็อาจจะทำให้คุณไม่รู้ข่าว และ ไม่มีข้อมูลอะไรเลยที่เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น เลยอยากจะแนะนำให้เสพสื่อ อย่างพอเหมาะพอควร ตามคำแนะนำด้านล่างเลย

  1. จำกัดเวลาในการเสพสื่อ ถึงแม้ว่ายังไม่มีงานวิจัยออกมา สำหรับจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสม สำหรับการเสพสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยตรง แต่มีงานวิจัย จากการเสพข่าวทั่วไป แสดงให้เห็นว่า คนใช้เวลากับข่าวน้อยกว่ามีปัญหาสุขภาพจิตน้อยกว่า
  2. เลือกสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อลดความเป็นไปได้ที่เราจะเสพข่าวปลอม หรือ Fake News แถมยังช่วยลดข้อมูลที่มีมากจนเกินไป แนะนำให้เลือกสื่อที่ได้รับมาตรฐาน เช่น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization)
  3. จัดสรรเวลา ในการเสพสื่อ ด้วยการกำหนดว่าในแต่ละวัน คุณจะใช้ช่วงเวลาไหนของวันในการเสพสื่อ ส่วนเวลาอื่นๆ นอกช่วงเวลาที่กำหนด ให้พยายามงดการเสพสื่อ
  4. ใช้เวลาไปกับกิจกรรมอื่นบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำงานบ้าน เพื่อเป็นการลดความหมกมุ่นของการเสพข่าว แนะนำให้คุยกับคนอื่นในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับ COVID-19 บ้าง

สำหรับใครที่ไม่สามารถ ดูแล และ จัดการกับความเครียดในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ความเครียดในการทำงาน หรือความสำพันธ์ ไปจนถึงมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น นอนไม่หลับ, ไม่มีสมาธิ หรือ ว่าไม่แน่ใจว่าตัวเองผิดปกติหรือว่า แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูแลรักษาต่อไป

Comments are closed