เปิดแผนป้องกันน้ำท่วม รับมือน้ำหนุน น้ำฝน และ น้ำเหนือ
ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ได้ออกมาเปิดเผยถึงโครงสร้างองระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เพื่อรับมือกับน้ำฝน, น้ำเหนือ และ น้ำหนุนที่ช่วงนี้ต่างจังหวัดกำลังประสบวิกฤตอุทกภัย จากการรายงานของผู้สื่อข่าว มีการรายงานออกมาว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ลง Facebook ในหัวข้อ ความพร้อมรับมือแก้ไขน้ำท่วมใน กรุงเทพมหานคร โดยเนื้อหามีการระบุออกมาเกี่ยวกับพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในเขต กทม. เป็นเขตพื้นที่ลุ่มต่ำ มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมืองที่มาจากตอนบนของประเทศ ซึ่งมีมีฝนตกหนักในบริเวณจังหวัดที่อยู่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร จะทำให้เกิดน้ำเหนือปริมาณมากไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ในทุกๆปี กรุงเทพมหานคร จะมีปัจจุยที่ทำให้เกิดน้ำท่วม โดยจะมาจากสาเหตุที่ฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ โดยล่าสุดได้มีการเตรียมรับมือการป้องกันน้ำท่วม อย่างต่อเนื่อง และได้แก่ไขจุดเสี่ยงให้มีจุดเสี่ยงให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ได้มีการเตรียมความพร้อมกับเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการเตรียมเครื่องสูบน้ำในจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักวิศวกรรมมาแก้ไข
จากการตรวจสอบย้อนหลังของทุกๆปีพบว่า กรุงเทพมหานคร จะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมได้จากสาเหตุที่มีฝนตกหนัก ซึ่งถ้าฝนตกหนักจะทำให้ปริมาณน้ำท่วมขังในพื้นที่ กทม. ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือป้องกันน้ำท่วม นอกจากจะมีการเตรียมเครื่องสูบน้ำในจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมขัง แล้วยังมีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่, ท่อเร่งระบายน้ำ และ พื้นที่กักเก็บน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากสาเหตุหลักก็คือน้ำฝน, น้ำหนุน และ น้ำเหนือนั้น มีการก่อสร้าง Pipe Jacking เพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในเขตพื้นที่เสี่ยง และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม ให้ไหลลงสู่พื้นที่กักเก็บน้ำใต้ดิน หรือ ธนาคารน้ำใต้ดิน ให้เร็วขึ้น ก่อนที่จะไหลลงอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อระบายน้ำออกสู่คลอง และ แม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่เรียกว่าแก้มลิง ใช้รองรับน้ำไม่ให้ท่วมขังในพื้นที่เขตกรุงเทพฝั่งตะวันออกอีกด้วย
9 แผนรับมือและแก้ไขน้ำท่วม กทม.
- ตรวจสอบติดตามสถานการณ์สภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมไปถึงเรด้าร์ตรวจฝนของกรุงเทพมหานคร ตลอด 24 ชั่วโมง
- เตรียมพร้อมด้วยการเตรียมเครื่องสูบน้ำที่พร้อมใช้งานทันที
- หากมีฝนตก ทางศูนย์ควบคุมระบป้องกันน้ำท่วม จะแจ้งเตือนสถานการณ์ฝนตกให้ผู้ปฎิบัติงานภาคสนาม และ แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่าน Line กลุ่มเตือนภัยน้ำท่วม กทม.
- มาตรการพร่องน้ำในคลอง เพื่อควบคุมระดับน้ำในบ่อสูบน้ำ และ แก้มลิงให้อยู่ในระดับที่ต่ำตามแผนที่ได้เตรียมไว้
- เพิ่มหน่วยปฎิบัติการเร็ว หรือ หน่วย BEST ประจำจุดน้ำท่วม และ จุดสำคัญเมื่อมีฝนตกหนัก เพื่อเร่งระบายน้ำ และแก้ไขปัญหาเรื่องขยะอุดตันตะแกรงช่องรับน้ำ
- เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมจุดที่วิกฤติ ด้วยการติดเครื่องสูบน้ำชนิดเคลื่อนที่
- ประสานงานกับศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม ด้วยการรายงานปริมาณน้ำฝน และ พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นระยะ เพื่อสรุปสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนประชาชน
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ เพื่ออำนวยความสะดวกการจราจร และ ปิดเส้นทางน้ำท่วมและ ประสานงาน
- หน่วยงานภาคสนาม ลงพื้นที่ตามจุดต่างๆ เพื่อรายงนจุดที่มีน้ำท่วมให้กับศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมรับทราบสถานการณ์จนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ
คนกรุงหลายคนมีคำถามปีนี้ น้ำจะท่วมกรุงหรือไม่?
จากประสบการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ที่ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้หลายครอบครัวต้องอพยพไปยังพื้นที่ต่างๆ หลายๆคนที่มีรถยนต์ ต้องนำไปจอดที่ห้างสรรพสินค้า หรือ คอนโด ในพื้นที่สูงเพื่อหลีกเลียงน้ำท่วม ทำให้คนกรุงหลายคนเกิดความกังวล ว่าในปี 2564 นี้จะเกิดน้ำท่วมเหมือนกับปี 2554 หรือไม่จากการตรวจสอบล่าสุดน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าหากว่ามีฝนตกหนักและตกไม่หยุด แต่ปัญหาน้ำท่วมขัง จะคลี่คลายได้เร็วมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากในปัจจุบันในมีมาตรการใหม่ๆออกมาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมากกว่าเมื่อก่อน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องสูบน้ำที่มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ต่ำที่มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นต้น สำหรับคนกรุงเทพฯ สามารถติดตามการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝน และ รับแจ้งเหตุน้ำท่วมขังในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เข้าช่วยเหลือประชาชนและเร่งระายน้ำในจุดที่ประสบปัญหาน้ำท่วม สามารถโทรสอบถามได้ที่ 1555 และ ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม โทร. 02-248-5115 ได้ตลอด 24 ชั่วโมว