ใบสั่งรูปแบบใหม่

ใบสั่งรูปแบบใหม่ มีผลบังคับใข้วันที่ 1 พฤศิจกายน 2563

เปิดรายละเอียดใบสั่งรูปแบบใหม่ ที่มีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ข้อควรระวัง สำหรับใครที่ไม่ได้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันควร จะต้องเสียโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ประกาศจากทางด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเรื่องข้อกำหนดแบบใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร 2563 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยใบสั่งแบบใหม่นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน รายละเอียดดูได้ด้านล่าง

ประเภทของใบสั่งรูปแบบใหม่มี 2 แบบ ด้วยกัน

  • แบบที่ 1 ใบสั่งที่ให้ผู้ขับขี่ผูกหรือติดไว้ที่รถ มีชุดละ 4 แผ่น ได้แก่ สีขาวที่ติดไว้ที่รถ, สีเหลือ ไว้ส่งให้หน่วยงานที่จะเปรียบเทียบปรับ, สีชมพู ให้พนักงานสอบสวน และ สีฟ้า ให้กับผู้ออกใบสั่งเก็บไว้เป็นสำเนา
  • แบบที่ 2 ใบสั่งทางไปรษณีย์ มีชุดละ 2 แผน ได้แก่ แผ่นที่ 1 ส่งให้กับผู้ขับขี่ หรือ ผู้ที่ครอบครองรถ และ แผ่นที่ 2 ให้ผู้ออกใบสั่งเก็บไว้เป็นสำเนา

ข้อควรรู้ของใบสั่งรูปแบบใหม่

เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ที่ไม่ใช่นิติบุคคล

  • หลังจากที่พนักงานติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถไปแล้ว 15 วันจะถือว่าเจ้าของ  หรือผู้ครอบครองรถได้รับใบสั่งนั้นและให้สันนิษฐานว่าเจ้าของ หรือ ผู้ครอบครองนั้นได้กระทำความผิด
  • ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ได้กระทำความผิด ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่พนักงานภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับใบสั่งว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่ และผู้นั้นยอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่
  • ถ้าไม่มีใครรับว่าเป็นผู้ขับขี่ เจา้ของหรือผู้ครอบครอง ต้องหาหลักฐานมายืนยันให้ได้ว่าไม่ได้ขับขี่จริง

เจ้าของหรือผู้ครอบครอง เป็นนิติบุคคล

  • ให้ผู้แทนของนิติบุคคลทำการแจ้งที่, ที่อยู่ รวมไปถึงหลักฐานกับเจ้าพนักงานสอบสวน ว่าใครเป็นผู้ขับขี่ในขณะที่พบการกระทบผิดภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับใบสั่ง ถ้าไม่แจ้งกับทางนิติบุคคลจะมีโทษปรับในอัตรา 5 เท่าของโทษปรับสูงสุดที่บัญญัติเอาไว้สำหรับความผิดนั้น

ช่องทางในการชำระค่าปรับ

  • สามารถชำรได้ที่สถานีตำรวจ หรือ หน่วยงานที่ออกใบสั่ง หรือ สถานีตำนวจทุกท้องที่ทั่วประเทศ
  • ชำระโดยส่งธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคารไปยังไปรษณีย์ ลงทะเบียน พร้อมสำเนาใบสั่ง จะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการเรียกเก็บเงินแล้ว และ ผู้ที่ได้รับใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์
  • ชำระผ่านช่องทางบัตรเครดิต, เอทีเอ็ม (ATM), Internet Banking หรือหน่วนยงานบริการที่รับชำระเงินที่มีเครื่องหมาย PTM หลังจากที่รับใบสั่ง 2 วัน