โดนลดเงินเดือน จากผลกระทบโควิด ได้รับเงินชดเชยหรือไม่

ไขข้อสงสัย โดยลดเงินเดือนจากผลกระทบโควิด 19 ได้รับเงินชดเชยไหม

มาตรการที่ถูกปล่อยออกมาจากทางรัฐบาล มอบเงินชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 รายละ 5,000 บาท ต่อเดือนผ่านการลงทะเบียนบนเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยให้สิทธิ์กับลูกจ้างชั่วคราว, อาชีพอิสระ ที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ตามเกณธ์ที่กำหนด

ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมจำนวณไม่น้อย ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลูกจ้างบางรายหากไม่ถูกบังคับให้ลาออก, เลิกจ้าง หรือ หยุดงานแบบไม่ได้รับเงินเดือน ก็อาจจะถูกปรับลดเงินเดือน ซึ่งลูกจ้างได้รับความเดือนร้อนเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาอีกว่า บุคคลกลุ่มนี้จะได้รับเงินเยียวยา หรือ เงินชดเชยอะไรบ้างหรือไม่ ซึ่งล่าสุดทางด้านสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาตอบถึงคำถามเหล่านี้แล้ว

<hr />

ผู้ที่ถูกลดเงินเดือน ทำให้ขาดรายได้ จะได้รับสิทธิใดจากทางสำนักงานประกันสังคมหรือไม่?

  • จากการตรวจสอบ ประกันสังคมจะไม่มี การเยียวยาให้ เนื่องจากลูกจ้างได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การจ่ายประโยชน์ทดแทน

<hr />

กรณีนายจ้างให้หยุดงาน และจ่ายเงินค่าจ้ายให้ 75% ทางสำนักงานประกันสังคม จะเยียวยาให้กับผู้ประกันตน หรือไม่?

  • จากการตรวจสอบ ทางประกันสังคม จะไม่มีการเยียวยาให้ เนื่องจากนายจ้างยังคงจ่ายเงินให้อยู่ ถือว่ามีรายได้ จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และนายจ้างมีหน้าที่หักค่าจ้าง เพื่อนำส่งเงินสมทบให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย

<hr />

นายจ้างไม่จ่างค่าจ้าง และไม่มีการแจ้งออกจากงาน จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง จากประกันสังคม

  • ลูกจ้าง ที่ยังคงทำงานอยู่ แต่ไม่ได้รับค่าจ้าง ให้ลูกจ้างไปยื่นคำร้องที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ สำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน ทุกจังหวัด แต่หากไม่มีการจ้างงาน แต่นายจ้างไม่แจ้งให้ออกจากระบบประกันสังคม ทางสำนักงานประกันสังคม มีหน้าที่ดำเนินการติดตาม ให้นายจ้างชี้แจงข้อเท็จจริงตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์

<hr />

ผู้ประกันตน ไม่ถูกเลิกจ้าง หรือ หยุดงาน แต่ถูกลดเงินเดือน จะได้รับสิทธิ อะไรจากทางสำนักงานประกันสังคมบ้าง?

  • ผู้ประกันตน ที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง และได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน

<hr />

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง และผู้ประกันตน มาตรา 40 ไม่ได้มีอาชีพ และไม่ทำได้ทำงาน สามารถยื่นขอรับสิทธิการเยียวยา เนื่องจากเหตุสุดวิสัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้หรือ ไม่

  • ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, ตาย, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, ไม่คุ้มครองกรณีว่างงาน จะไม่ได้รับสิทธิว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  • ผู้ประกันตน มาตรา 40 ไม่มีอาชีพ ไม่ได้ทำงาน ทั้ง 3 ทาง เลือก ไม่มีการประกันการว่างงาน จึงไม่มีสิทธิได้รับกรณีว่างงาน จากเหตุสุดวิสัย
  • ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 สามารถขึ้นทะเบียนขอรับสิทธิเยียวยา ของกระทรวงการคลัง ได้ผ่านทางเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com

<hr />

นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์ โควิด แต่นายจ้างยังคงจ่ายเงินเดือน หรือ ค่าจ้างให้กับพนักงานครึ่งหนึ่ง พนักงานสามารถไปกรอกแบบฟอร์มกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้หรือไม่ และมีสิทธิที่จะได้รับเงินชดเชย จากสำนักงานประกันสังคมหรือไม่?

  • ผู้ประกันตน ยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง และได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จำไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์กรณีว่างงานตามกฎกระทรวง

<hr />

ผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 สามารถยื่นขอรับสิทธิการเยียวยา เนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้ภายในระยะเวลากี่ปี

  • ผู้ประกันตน สามารถยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิ

<hr />

กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงาน และจ่ายเงินค่าจ้างให้ร้อยละ 75% เพราะเหตุสุดวิสัย สำนักงานประกันสังคม จะเยียวยาให้กับผู้ประกันตนอย่างไร

  • กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้าง ถือว่าผู้ประกันตนมีรายได้ จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไข การได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และรายจ้างมีหน้าที่หักค่าจ้างเพื่อนำส่งเงิน สมทบให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย

<hr />

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนให้ และ ไม่ออกใบรับรองให้กับลูกจ้าง ลูกจ้างจะต้องทำอย่างไร?

  • สำหรับกรณีนายจ้าง ไม่จ่ายเงินเดือน ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ใกล้บ้าน แต่หากลูกจ้างประสบเหตุสุดวิสัยจริง ควรแจ้งกับพนักงานควบคุมโรค และแจ้งสำนักงานประกันสังคม ให้ประสานงานกับนายจ้าง เพื่อชี้แจงในการออกหนังสือรับรอง

<hr />

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง และไม่แจ้งออกจากงาน ลูกจ้างควรทำอย่างไร และลูกจ้างจะได้รับสิทธิอะไรจาก ประกันสังคมบ้าง?

  • ลูกจ้างที่ยังคงทำงานอยู่แต่ไม่ได้รับค่าจ้าง สามารถยื่นคำร้องได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกจังหวัด
  • กรณีไมมีการจ้างงาน และนายแจ้งไม่แจ้งออกจากระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมมีหน้าที่ติดตามนายจ้าง ให้ดำเนินการแจ้งข้อเท็จจริงตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์

<hr />

กรณีรัฐสั่งให้กักตัว นายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน จากสำนักงานประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันหรือไม่

  • สำนักงานประกันสังคม หากพิจารณาจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ แต่ไม่เกิน 90 วัน เมื่อลูกจ้างมีการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนที่รัฐจะมีคำสั่งให้กักตัว และนายจ้างออกหนังสือรับรองให้ หยุดงามตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณา

<hr />

จ่ายเงินสมทบไม่ครบ หลักเกณฑ์เงื่อนไขการรับสิทธิว่างงาน มีสิทธิได้รับเงินว่างงานหรือไม่

  • ไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน กรณีว่างงาน สำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

<hr />

กรณีลูกจ้างเข้าทำงานได้ 2 เดือน ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในนามของบริษัท แต่แผนกที่ทำถูกสั่งปิด ลูกจ้างจะต้องหยุดงาน 21 วัน และยังเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่ง หรือ ไม่? และ สามารถยื่นเบิกสิทธิการเยียวยาด้วยสาเหตุสุดวิสัยได้หรือไม่?

  • ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิกรณีว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย เนื่องจากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน การจ่ายเงินค่าจ้างครึ่งหนึ่ง หรือไม่นั้น อยู่ในอำนาจของนายจ้าง ลูกจ้างสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิเยียวยาได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

<hr />

นายจ้างให้ลูกจ้างลาป่วย จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยไม่ได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างจะต้องทำอย่างไร?

  • นายจ้ายไม่ได้จ่ายค่าจ้าง กรณีลาป่วย 30 วันตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานครบ จะต้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และหากป่วยเกิน 30 วัน สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเจ็บป่วยตามที่แพทย์ให้หยุดงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากเจ็บป่วยเรื้อรัง ได้รับไม่เกิน 365 วัน ตามที่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว

<hr />

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็นของคุณ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *