ครม. อนุมัติแผนบริหารหนี้สาธารณะ
- เมื่อวานนี้ 18 สิงหาคม 2563 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติแผนบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563
- โดยเบื้องต้นในที่ประชุม ครม. มีการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และมีการปรับอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงินในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ซึ่งมีการสรุปสาระสำคัญในการประชุมดังต่อไปนี้
สาระสำคัญในการเตรียมแผนบริหารหนี้
- ในที่ประชุม ครม. ได้มีการอนุมัติ และรับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้
- จะมีการปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาล ในกรณีที่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 214,093.92 ล้านบาท
- นำยอดรายการหนี้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ออกจากแผนการบริหารหนี้สาธารณะ เพราะการบินไทยได้พ้นสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว
- มีการปรับวงเงินของการบริหารหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่
- การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
- องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
- กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน FIDF)
- ในที่ประชุมยังมีการอนุมัติให้กระทรวงการคลังกู้เงิน ในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 214,093.92 ล้านบาท ซึ่งให้เหตุผลว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2563
- การกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ในระดับที่จําเป็น เพื่อให้มีสภาพคล่องทางการเงินของรัฐ สําหรับเพื่อการดําเนินงาน
- การกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ในระดับที่จําเป็น เพื่อให้มีสภาพคล่องทางการเงินของรัฐ สําหรับเพื่อการดําเนินงาน
สรุป
- การปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะ ทำให้มีการประมาณการยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 8.21 ล้านล้านบาท
- สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้าง ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับ 51.64% (ไม่เกิน 60% ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐบาลกำหนด)